วันอังคารที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2554

เที่ยวฝรั่งเศส ดินแดนเมืองน้ำหอม


     ปราสาทเชอนองโซ เป็นปราสาทที่สง่างามที่สุดในเขตหุบเขาลุ่มแม่น้ำลัวร์ ตั้งอยู่บนฝั่งขวาของแม่น้ำแชร์ ที่สร้างสมัยศตวรรษที่ 16 เน้นในเรื่องสถาปัตยกรรมที่สวยงาม มี ฐานโค้งที่สวยงามรองรับตัวปราสาท ตัวเสาฝังอยู่ที่ก้นแม่น้ำ

     ปราสาทจึงดูคล้ายลอยอยู่เหนือน้ำสวนสวยและป่าละเมาะที่แวดล้อมอยู่โดยรอบช่วยส่งให้ปราสาทแห่งนี้โดดเด่นยิ่งขึ้นภายในมีเครื่องเรือนเก่าแก่และภาพวาดมากมาย


    ปราสาทบลัวร์ ตั้งอยู่บนฝั่งขวาของแม่น้ำลัวร์ ในเขตลัวร์-เอ-แชร์ เคยเป็นที่ประทับของกษัตริย์ ฝรั่งเศสหลายพระองค์ โจนออฟอาร์ค เคยมารับศีบรับพรจากอัครสังฆราชแห่ง แรงส์ ปราสาทแห่งนี้ก่อสร้างด้วยสถาปัตยกรรมหลายยุคสมัย




   ประกอบไปด้วยปีก 3 ด้านผสมผสานทั้งสไตล์กอธิค เรอเนสซองส์และบาร็อก ตั้งแต่ศตวรรษที่ 13-17 โดยขุนนางแห่งบลัวร์สืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคน การก่อสร้างเพิ่ม เติมในยุคของกษัตริย์ฟร็องซัวที่ 1 ได้รับอิทธิพลมาจากเรอเนสซองส์ ทำให้ปราสาทนี้ดูยิ่งใหญ่และงดงามมากยิ่งขึ้น
  





    พิพิธภัณฑ์ลูฟว์ พิพิธภัณฑ์แห่งชาติที่เก่าแก่และใหญ่ที่สุดของประเทศ ด้านหน้ามีปิระมิดแก้วช่วยกระจายแสงไปยังสนามที่รายล้อมอยู่รอบด้านกับห้องที่อยู่เบื้องล่าง และทำ หน้าที่เป็นประตูทางเข้าของพิพิธภัณฑ์ เดิมที่นี่เป็นพระราชวังยุคศตวรรษที่ 13 และเป็นที่ประทับของกษัตริย์มาจนถึงในปี 1793 จึงถูกเปลี่ยนให้เป็นพิพิธภัณฑ์ที่ใหญ่ที่สุด ในโลก รวบรวมสิ่งมีค่าหลายยุคหลายสมัย โดยเฉพาะภาพเขียนผลงานชั้นยอดประมาณ 6,000 ภาพ

    นับได้ว่ามากที่สุดในโลก หนึ่งในภาพนั้นคือ โมนาลิซ่า และภาพพระราชพิธีราชาภิเษกนโปเลียนขึ้นเป็น “จักรพรรดิ์” และยังมีงานแกะสลักอีกกว่า 2,000 ชิ้น ที่มีชื่อเสียงที่ สุดคือรูปแกะสลักหินอ่อนวีนัส

    จากนั้นชมส่วนของอียิปต์โบราณแหล่งกำเนิดอารยธรรมเก่าแก่ที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาเกือบ 4,000 ปี ชมงานศิลปะล้ำค่าที่เป็นความภาคภูมิใจของพิพิธภัณฑ์ อาทิ มัมมี่ ซึ่งมีอายุหลายพันปีอยู่ในโลงที่เขียนด้วยลวดลาย สวยงาม แสดงถึงฐานะของศพนั้น

การเดินทาง

ระเบียบการขอวีซ่าประเภทท่องเที่ยว (วีซ่าระยะสั้น)
ท่านจะต้องแนบหลักฐานทั้งหมดที่ได้ระบุไว้ด้านล่างนี้พร้อมกับแบบคำร้องขอวีซ่า
ท่านจะต้องแนบสำเนาเอกสารต่าง ๆ ดังที่ระบุข้างล่างนี้ พร้อมด้วยต้นฉบับของเอกสารนั้น ๆ มาแสดงในวันที่ยื่นคำร้องเอกสารประกอบคำร้องที่เป็นภาษาไทยจะต้องแปลเป็น ภาษาฝรั่งเศสทุกฉบับ (ติดต่อแปลเอกสาร)
แผนกวีซ่าขอสงวนสิทธิ์ที่จะขอหลักฐานอื่นๆประกอบการพิจารณาเป็นการเพิ่มเติม
ผู้ที่ประสงค์จะขอวีซ่าต้องมายื่นคำร้องด้วยตนเอง
สถานทูตฝรั่งเศสมีสิทธิ์ที่จะไม่พิจารณาออกวีซ่าให้กับบุคคลใดบุคคลหนึ่ง แม้ว่าผู้นั้นจะได้ยื่นหลักฐานครบแล้วก็ตาม
สถานทูตฝรั่งเศสจะปฎิเสธวีซ่าเป็นการถาวรหากพบว่ามีการใช้เอกสารปลอมในการยื่นคำร้อง

เอกสารและหลักฐานต่างๆที่ต้องแนบพร้อมคำร้อง
คำร้องขอวีซ่าระยะสั้น 1 ชุด ( คำร้อง)
รูปถ่ายปัจจุบันของผู้ยื่นคำร้อง 2 รูป
หนังสือเดินทางที่มีอายุใช้การเกินกว่า 6 เดือน
สำเนาบัตรประชาชน
หลักฐานการทำงานของผู้ยื่นคำร้อง (หนังสือรับรองการทำงานที่ระบุชื่อและที่อยู่ของนายจ้างหรือหลักฐานการจดทะ เบียนการค้า ในกรณีที่เป็นเจ้าของกิจการ)
หลักฐานการเงินของผู้ยื่นคำร้อง (หนังสือรับรองจากธนาคาร สมุดบัญชีเงินฝาก บัตรเครดิต ฯลฯ)
หลักฐานการจองตั๋วเครื่องบินที่ระบุวันเดินทางไป-กลับ
เส้นทางการท่องเที่ยวในกลุ่มประเทศเช็งเก็น
หนังสือรับรองที่พักในประเทศฝรั่งเศส เช่นหลักฐานการจองโรงแรม ทะเบียนบ้านในประเทศฝรั่งเศสหรือสัญญาการเช่าที่พัก

หลังจากที่แผนกวีซ่ารับคำร้องของท่านแล้ว ท่านจะต้องเตรียมเอกสารเพิ่มเติมดังต่อไปนี้

ตั๋วเครื่องบินไป-กลับประเทศฝรั่งเศสที่ระบุวันเดินทางที่แน่นอน (แล้วแต่กรณี)
กรมธรรม์ประกันสุขภาพที่ระบุว่าท่านจะได้รับความคุ้มครองในกรณีที่เจ็บป่วยขณะอยู่ในประเทศฝรั่งเศส ตลอดจนได้รับความคุ้มครองในกรณีที่ต้องนำส่งกลับประเทศไทย วงเงินประกัน 30,000 ยูโร

หมายเหตุ
ผู้เดินทางจะต้องมีต้นฉบับหลักฐานสำคัญประกอบการขอวีซ่าติดตัวและพร้อมที่จะแสดงต่อเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองของฝรั่งเศสในกรณีที่มีการร้องขอ มิฉะนั้นท่านอาจไม่ ได้รับอนุญาตให้เข้าประเทศ

วันอังคารที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ภาษาฝรั่งเศส (ฝรั่งเศส: Français)

ภาษาฝรั่งเศส (ฝรั่งเศส: Français) เป็นหนึ่งในภาษากลุ่มโรมานซ์ที่สำคัญที่สุด เป็นรองเพียงภาษาสเปนและโปรตุเกส[ต้องการอ้างอิง] ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาที่มีคนนิยมเป็นอันดับที่ 11 ของโลก โดยเมื่อปี พ.ศ. 2542 มีคนพูดภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาแม่ (ฟรองโกโฟน) ประมาณ 77 ล้านคน และเมื่อรวมคนที่พูดเป็นภาษาที่สองแล้วจะมีประมาณ 128 ล้านคน[ต้องการอ้างอิง]
ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาทางการ และภาษาที่ใช้ปกครองในชุมชนต่าง ๆ โดยเฉพาะประเทศที่เคยเป็น
อาณานิคมของฝรั่งเศส รวมถึงองค์กรต่าง ๆ ด้วย (เช่น สหภาพยุโรป ไอโอซี องค์การสหประชาชาติ และ สหภาพสากลไปรษณีย์) ในสมัยก่อนภาษาฝรั่งเศสถือเป็นภาษาสากลที่แพร่หลายที่สุด โดยมีสถานะเฉกเช่นภาษาอังกฤษในปัจจุบัน หนังสือเดินทางของไทยก็เคยใช้ภาษาฝรั่งเศสควบคู่กับภาษาไทย


เนื้อหา

[ซ่อน]


[แก้] ประวัติ

ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาในกลุ่มภาษาโรมานซ์ กล่าวคือ เป็นภาษาที่มีต้นกำเนิดจากภาษาละตินที่พูดกันในจักรวรรดิโรมันโบราณ ก่อนหน้าที่ดินแดนที่เป็นที่ตั่งประเทศฝรั่งเศสในปัจจุบันจะอยู่ใต้การปกครองของโรมัน ดินแดนดังกล่าวเคยอยู่ใต้การปกครองของพวกกอล ซึ่งเป็นหนึ่งในชนชาติเซลต์ ในสมัยนั้นดินแดนประเทศฝรั่งเศสมีคนที่พูดภาษาถิ่นต่าง ๆ กันหลายภาษา แม้ว่าชาวฝรั่งเศสจะชอบสืบที่มาของภาษาของตนไปถึงพวกโกล (les Gaulois) แต่มีคำในภาษาฝรั่งเศสเพียง 2,000 คำเท่านั้นที่มีที่มามาจากภาษาของพวกโกล ซึ่งโดยมากจะเป็นคำที่ใช้เป็นชื่อสถานที่ หรือเป็นคำที่มีความหมายเกี่ยวกับธรรมชาติ
หลังจากที่ชาวโรมันได้เข้ามายึดดินแดนของพวกโกล คนที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้นก็ได้เปลี่ยนมาพูดภาษาละติน ซึ่งภาษาละตินที่พูดกันในบริเวณนี้ ไม่ใช่ภาษาละตินชั้นสูงแบบที่พูดกันในหมู่ชนชั้นสูงของกรุงโรม แต่เป็นภาษาละตินของชาวบ้าน (vulgar latin) ที่พูดกันในหมู่พลทหาร นอกจากนี้ ภาษาละตินที่พูดกันอยู่ในฝรั่งเศสนั้น ก็ได้รับอิทธิพลจากภาษากอลอยู่พอควร เนื่องจากสิ่งของบางอย่างที่ใช้กันอยู่ในกอล พวกโรมันไม่มีชื่อเรียก จึงต้องขอยืมคำในภาษาโกลมาเรียกสิ่งของเหล่านั้น เช่น les braies ซึ่งแปลว่าเครื่องแต่งกายจำพวกกางเกงของชาวโกล

[แก้] ยุคอาณาจักรแฟรงก์

หลังจากคริสต์ศตวรรษที่ 3 เป็นต้นมา จักรวรรดิโรมันก็เสื่อมอำนาจ ดินแดนหลายส่วนของจักรวรรดิโรมันตกอยู่ในเงื้อมมือของชนเผ่าป่าเถื่อนหลายพวก ชนเผ่าป่าเถื่อนที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในดินแดนที่เป็นประเทศฝรั่งเศสปัจจุบัน ได้แก่ ชนเผ่าแฟรงก์ที่อาศัยอยู่ทางเหนือ ชนเผ่าวิซิกอทที่อาศัยอยู่ทางใต้ ชนเผ่าเบอร์กันดีในบริเวณริมแม่น้ำโรน และชนเผ่าเอลแมนที่อาศัยอยู่บริเวณพรมแดนของประเทศฝรั่งเศสและเยอรมนี ชนเผ่าป่าเถื่อนเหล่านี้พูดภาษากลุ่มเจอร์เมนิก สำเนียงของชนเหล่านี้ได้ส่งผลต่อภาษาละตินที่เคยพูดอยู่เดิมในฝรั่งเศส และคำจากภาษาของชนป่าเถื่อน ได้แก่ คำที่มีความหมายเกี่ยวกับยุทธวิธีในการรบ และชนชั้นทางสังคม ได้ถูกนำมาใช้ในภาษาละตินที่พูดกันอยู่ในฝรั่งเศส โดยภาษาฝรั่งเศสปัจจุบันมีคำที่มีที่มาจากคำในภาษาของชนป่าเถื่อนอยู่ราว ๆ ร้อยละ 60

[แก้] ภาษาฝรั่งเศสในยุคกลาง

นักภาษาศาสตร์ได้จัดจำแนกภาษาฝรั่งเศสที่พูดกันในยุคกลางออกเป็น 3 จำพวก คือ พวกแรกคือภาษาที่เรียกกันว่า Langue d'Oïl พูดกันอยู่ทางตอนเหนือของประเทศ พวกที่สองคือ Langue d'Oc ที่พูดกันอยู่ทางใต้ของประเทศ และพวกที่สามคือ Franco-Provençal ซึ่งเป็นการผสมผสานกันของสองภาษาแรก
Langue d'Oïl เป็นภาษาที่ใช้คำว่า oïl ในคำพูดว่า "ใช่" (ปัจจุบันใช้คำว่า oui) ในสมัยกลางภาษานี้จะพูดกันในตอนเหนือของประเทศฝรั่งเศส ซึ่งภาษานี้ได้พัฒนามาเป็นภาษาฝรั่งเศสในปัจจุบัน
Langue d'Oc เป็นภาษาที่ใช้คำว่า oc ในคำพูดว่า "ใช่" ภาษานี้พูดกันอยู่ทางตอนใต้ของฝรั่งเศสและทางเหนือของสเปน ซึ่งภาษานี้จะมีลักษณะคล้ายกับภาษาละตินมากกว่า Langue d'Oïl

[แก้] ภาษาฝรั่งเศสยุคใหม่

นักวิชาการเรียกภาษาฝรั่งเศสที่พูดในช่วงก่อนหน้าปี พ.ศ. 1843 ซึ่งก็คือภาษา Langue d'Oïl ว่าเป็นภาษาฝรั่งเศสโบราณ เอกสารฉบับแรกที่เขียนขึ้นเป็นภาษาฝรั่งเศสโบราณ คือ "คำปฏิญาณแห่งสตราสบูร์ก" (Strasbourg) ซึ่งเขียนขึ้นในปี พ.ศ. 1385
ในปี พ.ศ. 2082 พระเจ้าฟรองซัวที่ 1 ได้ออกพระราชกฎษฎีกาที่กำหนดให้ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาทางการของฝรั่งเศสแทนที่ภาษาละติน และกำหนดให้ใช้ภาษาฝรั่งเศสในการบริหารราชการ ในราชสำนัก และในการพิจารณาคดีในศาล ในช่วงนี้ได้มีการปรับปรุงตัวสะกดและการออกเสียงในภาษาฝรั่งเศส นักวิชาการเรียกภาษาฝรั่งเศสในยุคนี้ว่า ภาษาฝรั่งเศสยุคกลาง ในศตวรรษที่ 17 หลังจากที่มีการกำหนดมาตรฐานภาษาฝรั่งเศสให้พูดสำเนียงเดียวกันทั่วประเทศ การปรับปรุงและการกำหนดหลักต่างๆ ของภาษา ก็ทำให้เกิดภาษาฝรั่งเศสที่เรียกกันว่าภาษาฝรั่งเศสยุคใหม่ ซึ่งพูดกันอยู่ในปัจจุบัน
ในปี พ.ศ. 2177 พระคาร์ดินัลรีเชอลีเยอ (Richelieu) ได้ก่อตั้งองค์กรที่เรียกว่า L'Académie Française (อากาเดมี ฟรองแซส หรือ วิทยสถานแห่งประเทศฝรั่งเศส ซึ่งเปรียบได้กับราชบัณฑิตยสถานของไทย) เพื่อทำหน้าที่ดูแลรักษาภาษาฝรั่งเศสไว้ไม่ให้วิบัติ และคงภาษาฝรั่งเศสให้อยู่ในรูปแบบเดิมให้มากที่สุด ในช่วงศตวรรษที่ 17-19 ฝรั่งเศสได้มีบทบาทสำคัญในการเมืองของทวีปยุโรป และเป็นศูนย์กลางของปรัชญารู้แจ้งที่แพร่หลายกันอยู่ในสมัยนั้น ทำให้อิทธิพลของภาษาฝรั่งเศสแผ่ออกไปกว้างขวางและกลายเป็นภาษากลางของยุโรป มีบทบาทสำคัฐทางการทูต วรรณคดี และศิลปะ มหาราชในยุคนั้นสองพระองค์ คือ พระนางแคทเธอรีนมหาราชินีแห่งรัสเซีย และพระเจ้าเฟรดริกมหาราชแห่งปรัสเซีย สามารถตรัสและทรงพระอักษรเป็นภาษาฝรั่งเศสได้ดี

ผู้รู้ภาษาฝรั่งเศสในกลุ่มสหภาพยุโรป

[แก้] ภาษาฝรั่งเศสในปัจจุบัน

ภาษาฝรั่งเศสในปัจจุบัน ถูกแทรกซึมโดยอิทธิพลของภาษาอังกฤษที่แผ่ขยายอย่างกว้างขวาง มีการนำคำภาษาอังกฤษมาใช้ปะปนกับภาษาฝรั่งเศสเดิมอย่างแพร่หลาย ซึ่งมีผลเสียต่อการอนุรักษ์ภาษาฝรั่งเศส รัฐบาลได้ออกกฎหมายบางฉบับเพื่ออนุรักษ์ภาษาฝรั่งเศส โดยกำหนดให้ใช้คำจากภาษาฝรั่งเศสแท้ๆ ในโฆษณา ประกาศ และเอกสารราชการต่าง ๆ นอกจากนี้ยังกำหนดให้สถานีวิทยุทุกสถานี เปิดเพลงภาษาฝรั่งเศสอย่างน้อยร้อยละ 40 ของเพลงทั้งหมดที่เปิดในสถานีนั้น

[แก้] สถานะของภาษาฝรั่งเศสในประเทศฝรั่งเศส

ฝรั่งเศสกำหนดให้ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาทางการของประเทศตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 รัฐบาลกำหนดให้เอกสารราชการ สัญญาต่าง ๆ การโฆษณาประชาสัมพันธ์ การศึกษา จะต้องทำเป็นภาษาฝรั่งเศส หากจำเป็นต้องใช้คำภาษาต่างประเทศ ก็ให้ใส่คำแปลเป็นภาษาฝรั่งเศสควบคู่กันไปด้วย
อย่างไรก็ดี ทางการไม่ได้ควบคุมการใช้ภาษาในเอกสารของเอกชน และในเว็บไซต์ของเอกชน ซึ่งหากทำการควบคุมแล้ว ก็อาจขัดต่อหลักการเสรีภาพในการพูดได้

[แก้] สถานะของภาษาฝรั่งเศสในประเทศแคนาดา

ร้อยละ 12 ของคนที่พูดภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาแม่ในโลกนี้เป็นชาวแคนาดา และภาษาฝรั่งเศสเป็นหนึ่งในภาษาทางการสองภาษาของแคนาดา (อีกภาษาหนึ่งคือภาษาอังกฤษ) กฎหมายของแคนาดากำหนดให้บริการต่างๆของรัฐบาลกลางจะต้องจัดให้เป็นสองภาษาเสมอ กฎหมายต่างๆ ที่ผ่านรัฐสภา จะต้องแปลเป็นภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศส และฉลากผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่วางขายในแคนาดาจะต้องมีภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศส ร้อยละ 22 ของชาวแคนาดาใช้ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาแม่ และร้อยละ 18 ของชาวแคนาดาสามารถพูดได้ทั้งภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศส
ภาษาฝรั่งเศสมีสถานะเป็นภาษาทางการเพียงภาษาเดียวของรัฐควิเบก (เกเบก - Québec) มาตั้งแต่การบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยภาษาฝรั่งเศส (Bill 101) ผลสำคัญข้อหนึ่งของกฎหมายฉบับนี้คือกำหนดให้เด็กในควิเบกต้องได้รับการศึกษาเป็นภาษาฝรั่งเศส ยกเว้นถ้าบิดามารดาของเด็กคนนั้นได้รับการศึกษาส่วนใหญ่เป็นภาษาอังกฤษภายในประเทศแคนาดา ซึ่งเป็นการทำลายค่านิยมของผู้อพยพที่มักส่งบุตรหลานของคนเข้าเรียนในโรงเรียนที่สอนเป็นภาษาอังกฤษ กฎหมายนี้ยังกำหนดให้ใช้ภาษาฝรั่งเศสในการพิจารณาคดี โฆษณา การอภิปรายในสภา และการพิจารณาคดีในศาล ภายในควิเบก ในปี พ.ศ. 2536 กฎหมายนี้ได้รับการแก้ไข โดยอนุญาตให้เขียนป้ายสัญลักษณ์หรือโฆษณาต่าง ๆ เป็นภาษาอังกฤษได้บ้าง ตราบใดที่ยังมีภาษาฝรั่งเศสเป็นส่วนมาก นอกจากนี้ยังทำให้คนที่พูดภาษาอังกฤษแต่อาศัยในควิเบกสามารถรับบริการทางสุขภาพและบริการของรัฐเป็นภาษาอังกฤษได้
รัฐอื่น ๆ ที่ใช้ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาทางการควบคู่ไปกับภาษาอังกฤษ ได้แก่รัฐนิวบรันสวิก ยูคอนเทร์ริทอรี นอร์ทเวสต์เทร์ริทอรีส์ และนูนาวุต ในรัฐออนแทรีโอ และแมนิโทบา ภาษาฝรั่งเศสไม่ได้มีสถานะเป็นภาษาทางการ แต่รัฐบาลของรัฐทั้งสองรัฐได้จัดการบริการต่าง ๆ เป็นภาษาฝรั่งเศสคู่กับภาษาอังกฤษ ในบริเวณที่มีคนที่พูดภาษาฝรั่งเศสอาศัยอยู่มาก

 สถานะของภาษาฝรั่งเศสในประเทศสวิตเซอร์แลนด์

ภาษาฝรั่งเศสเป็นหนึ่งในภาษาทางการของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ภาษาอื่น ๆ ได้แก่ภาษาเยอรมัน ภาษาอิตาลี และภาษาโรมานช์


ภาษาฝรั่งเศส (ฝรั่งเศส: Français) เป็นหนึ่งในภาษากลุ่มโรมานซ์ที่สำคัญที่สุด เป็นรองเพียงภาษาสเปนและโปรตุเกส[ต้องการอ้างอิง] ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาที่มีคนนิยมเป็นอันดับที่ 11 ของโลก โดยเมื่อปี พ.ศ. 2542 มีคนพูดภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาแม่ (ฟรองโกโฟน) ประมาณ 77 ล้านคน และเมื่อรวมคนที่พูดเป็นภาษาที่สองแล้วจะมีประมาณ 128 ล้านคน[ต้องการอ้างอิง]
ภาษาฝรั่งเศสเป็น
ภาษาทางการ และภาษาที่ใช้ปกครองในชุมชนต่าง ๆ โดยเฉพาะประเทศที่เคยเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส รวมถึงองค์กรต่าง ๆ ด้วย (เช่น สหภาพยุโรป ไอโอซี องค์การสหประชาชาติ และ สหภาพสากลไปรษณีย์) ในสมัยก่อนภาษาฝรั่งเศสถือเป็นภาษาสากลที่แพร่หลายที่สุด โดยมีสถานะเฉกเช่นภาษาอังกฤษในปัจจุบัน หนังสือเดินทางของไทยก็เคยใช้ภาษาฝรั่งเศสควบคู่กับภาษาไทย

เนื้อหา

[ซ่อน]

[แก้] ประวัติ

ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาในกลุ่มภาษาโรมานซ์ กล่าวคือ เป็นภาษาที่มีต้นกำเนิดจากภาษาละตินที่พูดกันในจักรวรรดิโรมันโบราณ ก่อนหน้าที่ดินแดนที่เป็นที่ตั่งประเทศฝรั่งเศสในปัจจุบันจะอยู่ใต้การปกครองของโรมัน ดินแดนดังกล่าวเคยอยู่ใต้การปกครองของพวกกอล ซึ่งเป็นหนึ่งในชนชาติเซลต์ ในสมัยนั้นดินแดนประเทศฝรั่งเศสมีคนที่พูดภาษาถิ่นต่าง ๆ กันหลายภาษา แม้ว่าชาวฝรั่งเศสจะชอบสืบที่มาของภาษาของตนไปถึงพวกโกล (les Gaulois) แต่มีคำในภาษาฝรั่งเศสเพียง 2,000 คำเท่านั้นที่มีที่มามาจากภาษาของพวกโกล ซึ่งโดยมากจะเป็นคำที่ใช้เป็นชื่อสถานที่ หรือเป็นคำที่มีความหมายเกี่ยวกับธรรมชาติ
หลังจากที่ชาวโรมันได้เข้ามายึดดินแดนของพวกโกล คนที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้นก็ได้เปลี่ยนมาพูดภาษาละติน ซึ่งภาษาละตินที่พูดกันในบริเวณนี้ ไม่ใช่ภาษาละตินชั้นสูงแบบที่พูดกันในหมู่ชนชั้นสูงของกรุง
โรม แต่เป็นภาษาละตินของชาวบ้าน (vulgar latin) ที่พูดกันในหมู่พลทหาร นอกจากนี้ ภาษาละตินที่พูดกันอยู่ในฝรั่งเศสนั้น ก็ได้รับอิทธิพลจากภาษากอลอยู่พอควร เนื่องจากสิ่งของบางอย่างที่ใช้กันอยู่ในกอล พวกโรมันไม่มีชื่อเรียก จึงต้องขอยืมคำในภาษาโกลมาเรียกสิ่งของเหล่านั้น เช่น les braies ซึ่งแปลว่าเครื่องแต่งกายจำพวกกางเกงของชาวโกล

[แก้] ยุคอาณาจักรแฟรงก์

หลังจากคริสต์ศตวรรษที่ 3 เป็นต้นมา จักรวรรดิโรมันก็เสื่อมอำนาจ ดินแดนหลายส่วนของจักรวรรดิโรมันตกอยู่ในเงื้อมมือของชนเผ่าป่าเถื่อนหลายพวก ชนเผ่าป่าเถื่อนที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในดินแดนที่เป็นประเทศฝรั่งเศสปัจจุบัน ได้แก่ ชนเผ่าแฟรงก์ที่อาศัยอยู่ทางเหนือ ชนเผ่าวิซิกอทที่อาศัยอยู่ทางใต้ ชนเผ่าเบอร์กันดีในบริเวณริมแม่น้ำโรน และชนเผ่าเอลแมนที่อาศัยอยู่บริเวณพรมแดนของประเทศฝรั่งเศสและเยอรมนี ชนเผ่าป่าเถื่อนเหล่านี้พูดภาษากลุ่มเจอร์เมนิก สำเนียงของชนเหล่านี้ได้ส่งผลต่อภาษาละตินที่เคยพูดอยู่เดิมในฝรั่งเศส และคำจากภาษาของชนป่าเถื่อน ได้แก่ คำที่มีความหมายเกี่ยวกับยุทธวิธีในการรบ และชนชั้นทางสังคม ได้ถูกนำมาใช้ในภาษาละตินที่พูดกันอยู่ในฝรั่งเศส โดยภาษาฝรั่งเศสปัจจุบันมีคำที่มีที่มาจากคำในภาษาของชนป่าเถื่อนอยู่ราว ๆ ร้อยละ 60

[แก้] ภาษาฝรั่งเศสในยุคกลาง

นักภาษาศาสตร์ได้จัดจำแนกภาษาฝรั่งเศสที่พูดกันในยุคกลางออกเป็น 3 จำพวก คือ พวกแรกคือภาษาที่เรียกกันว่า Langue d'Oïl พูดกันอยู่ทางตอนเหนือของประเทศ พวกที่สองคือ Langue d'Oc ที่พูดกันอยู่ทางใต้ของประเทศ และพวกที่สามคือ Franco-Provençal ซึ่งเป็นการผสมผสานกันของสองภาษาแรก
Langue d'Oïl เป็นภาษาที่ใช้คำว่า oïl ในคำพูดว่า "ใช่" (ปัจจุบันใช้คำว่า oui) ในสมัยกลางภาษานี้จะพูดกันในตอนเหนือของประเทศฝรั่งเศส ซึ่งภาษานี้ได้พัฒนามาเป็นภาษาฝรั่งเศสในปัจจุบัน
Langue d'Oc เป็นภาษาที่ใช้คำว่า oc ในคำพูดว่า "ใช่" ภาษานี้พูดกันอยู่ทางตอนใต้ของฝรั่งเศสและทางเหนือของสเปน ซึ่งภาษานี้จะมีลักษณะคล้ายกับภาษาละตินมากกว่า Langue d'Oïl

[แก้] ภาษาฝรั่งเศสยุคใหม่

นักวิชาการเรียกภาษาฝรั่งเศสที่พูดในช่วงก่อนหน้าปี พ.ศ. 1843 ซึ่งก็คือภาษา Langue d'Oïl ว่าเป็นภาษาฝรั่งเศสโบราณ เอกสารฉบับแรกที่เขียนขึ้นเป็นภาษาฝรั่งเศสโบราณ คือ "คำปฏิญาณแห่งสตราสบูร์ก" (Strasbourg) ซึ่งเขียนขึ้นในปี พ.ศ. 1385
ในปี พ.ศ. 2082 พระเจ้าฟรองซัวที่ 1 ได้ออกพระราชกฎษฎีกาที่กำหนดให้ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาทางการของฝรั่งเศสแทนที่ภาษาละติน และกำหนดให้ใช้ภาษาฝรั่งเศสในการบริหารราชการ ในราชสำนัก และในการพิจารณาคดีในศาล ในช่วงนี้ได้มีการปรับปรุงตัวสะกดและการออกเสียงในภาษาฝรั่งเศส นักวิชาการเรียกภาษาฝรั่งเศสในยุคนี้ว่า ภาษาฝรั่งเศสยุคกลาง ในศตวรรษที่ 17 หลังจากที่มีการกำหนดมาตรฐานภาษาฝรั่งเศสให้พูดสำเนียงเดียวกันทั่วประเทศ การปรับปรุงและการกำหนดหลักต่างๆ ของภาษา ก็ทำให้เกิดภาษาฝรั่งเศสที่เรียกกันว่าภาษาฝรั่งเศสยุคใหม่ ซึ่งพูดกันอยู่ในปัจจุบัน
ในปี พ.ศ. 2177 พระคาร์ดินัลรีเชอลีเยอ (Richelieu) ได้ก่อตั้งองค์กรที่เรียกว่า L'Académie Française (อากาเดมี ฟรองแซส หรือ วิทยสถานแห่งประเทศฝรั่งเศส ซึ่งเปรียบได้กับราชบัณฑิตยสถานของไทย) เพื่อทำหน้าที่ดูแลรักษาภาษาฝรั่งเศสไว้ไม่ให้วิบัติ และคงภาษาฝรั่งเศสให้อยู่ในรูปแบบเดิมให้มากที่สุด ในช่วงศตวรรษที่ 17-19 ฝรั่งเศสได้มีบทบาทสำคัญในการเมืองของทวีปยุโรป และเป็นศูนย์กลางของปรัชญารู้แจ้งที่แพร่หลายกันอยู่ในสมัยนั้น ทำให้อิทธิพลของภาษาฝรั่งเศสแผ่ออกไปกว้างขวางและกลายเป็นภาษากลางของยุโรป มีบทบาทสำคัฐทางการทูต วรรณคดี และศิลปะ มหาราชในยุคนั้นสองพระองค์ คือ พระนางแคทเธอรีนมหาราชินีแห่งรัสเซีย และพระเจ้าเฟรดริกมหาราชแห่งปรัสเซีย สามารถตรัสและทรงพระอักษรเป็นภาษาฝรั่งเศสได้ดี

ผู้รู้ภาษาฝรั่งเศสในกลุ่มสหภาพยุโรป

[แก้] ภาษาฝรั่งเศสในปัจจุบัน

ภาษาฝรั่งเศสในปัจจุบัน ถูกแทรกซึมโดยอิทธิพลของภาษาอังกฤษที่แผ่ขยายอย่างกว้างขวาง มีการนำคำภาษาอังกฤษมาใช้ปะปนกับภาษาฝรั่งเศสเดิมอย่างแพร่หลาย ซึ่งมีผลเสียต่อการอนุรักษ์ภาษาฝรั่งเศส รัฐบาลได้ออกกฎหมายบางฉบับเพื่ออนุรักษ์ภาษาฝรั่งเศส โดยกำหนดให้ใช้คำจากภาษาฝรั่งเศสแท้ๆ ในโฆษณา ประกาศ และเอกสารราชการต่าง ๆ นอกจากนี้ยังกำหนดให้สถานีวิทยุทุกสถานี เปิดเพลงภาษาฝรั่งเศสอย่างน้อยร้อยละ 40 ของเพลงทั้งหมดที่เปิดในสถานีนั้น

[แก้] สถานะของภาษาฝรั่งเศสในประเทศฝรั่งเศส

ฝรั่งเศสกำหนดให้ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาทางการของประเทศตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 รัฐบาลกำหนดให้เอกสารราชการ สัญญาต่าง ๆ การโฆษณาประชาสัมพันธ์ การศึกษา จะต้องทำเป็นภาษาฝรั่งเศส หากจำเป็นต้องใช้คำภาษาต่างประเทศ ก็ให้ใส่คำแปลเป็นภาษาฝรั่งเศสควบคู่กันไปด้วย
อย่างไรก็ดี ทางการไม่ได้ควบคุมการใช้ภาษาในเอกสารของเอกชน และในเว็บไซต์ของเอกชน ซึ่งหากทำการควบคุมแล้ว ก็อาจขัดต่อหลักการเสรีภาพในการพูดได้

[แก้] สถานะของภาษาฝรั่งเศสในประเทศแคนาดา

ร้อยละ 12 ของคนที่พูดภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาแม่ในโลกนี้เป็นชาวแคนาดา และภาษาฝรั่งเศสเป็นหนึ่งในภาษาทางการสองภาษาของแคนาดา (อีกภาษาหนึ่งคือภาษาอังกฤษ) กฎหมายของแคนาดากำหนดให้บริการต่างๆของรัฐบาลกลางจะต้องจัดให้เป็นสองภาษาเสมอ กฎหมายต่างๆ ที่ผ่านรัฐสภา จะต้องแปลเป็นภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศส และฉลากผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่วางขายในแคนาดาจะต้องมีภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศส ร้อยละ 22 ของชาวแคนาดาใช้ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาแม่ และร้อยละ 18 ของชาวแคนาดาสามารถพูดได้ทั้งภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศส
ภาษาฝรั่งเศสมีสถานะเป็นภาษาทางการเพียงภาษาเดียวของ
รัฐควิเบก (เกเบก - Québec) มาตั้งแต่การบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยภาษาฝรั่งเศส (Bill 101) ผลสำคัญข้อหนึ่งของกฎหมายฉบับนี้คือกำหนดให้เด็กในควิเบกต้องได้รับการศึกษาเป็นภาษาฝรั่งเศส ยกเว้นถ้าบิดามารดาของเด็กคนนั้นได้รับการศึกษาส่วนใหญ่เป็นภาษาอังกฤษภายในประเทศแคนาดา ซึ่งเป็นการทำลายค่านิยมของผู้อพยพที่มักส่งบุตรหลานของคนเข้าเรียนในโรงเรียนที่สอนเป็นภาษาอังกฤษ กฎหมายนี้ยังกำหนดให้ใช้ภาษาฝรั่งเศสในการพิจารณาคดี โฆษณา การอภิปรายในสภา และการพิจารณาคดีในศาล ภายในควิเบก ในปี พ.ศ. 2536 กฎหมายนี้ได้รับการแก้ไข โดยอนุญาตให้เขียนป้ายสัญลักษณ์หรือโฆษณาต่าง ๆ เป็นภาษาอังกฤษได้บ้าง ตราบใดที่ยังมีภาษาฝรั่งเศสเป็นส่วนมาก นอกจากนี้ยังทำให้คนที่พูดภาษาอังกฤษแต่อาศัยในควิเบกสามารถรับบริการทางสุขภาพและบริการของรัฐเป็นภาษาอังกฤษได้
รัฐอื่น ๆ ที่ใช้ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาทางการควบคู่ไปกับภาษาอังกฤษ ได้แก่รัฐ
นิวบรันสวิก ยูคอนเทร์ริทอรี นอร์ทเวสต์เทร์ริทอรีส์ และนูนาวุต ในรัฐออนแทรีโอ และแมนิโทบา ภาษาฝรั่งเศสไม่ได้มีสถานะเป็นภาษาทางการ แต่รัฐบาลของรัฐทั้งสองรัฐได้จัดการบริการต่าง ๆ เป็นภาษาฝรั่งเศสคู่กับภาษาอังกฤษ ในบริเวณที่มีคนที่พูดภาษาฝรั่งเศสอาศัยอยู่มาก

 สถานะของภาษาฝรั่งเศสในประเทศสวิตเซอร์แลนด์

ภาษาฝรั่งเศสเป็นหนึ่งในภาษาทางการของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ภาษาอื่น ๆ ได้แก่ภาษาเยอรมัน ภาษาอิตาลี และภาษาโรมานช์

 การเรียนการสอนภาษาฝรั่งเศสในประเทศไทย

ปัจจุบันมีการเรียนการสอนในระดับมัธยมศึกษา ในร้อยละ 50 ของโรงเรียนมัธยมปลายทั่วประเทศ
ในระดับอุดมศึกษามีการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยต่างๆดังนี้
 การเรียนการสอนภาษาฝรั่งเศสในประเทศไทย

ปัจจุบันมีการเรียนการสอนในระดับมัธยมศึกษา ในร้อยละ 50 ของโรงเรียนมัธยมปลายทั่วประเทศ
ในระดับอุดมศึกษามีการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยต่างๆดังนี้

วันพฤหัสบดีที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ข้อมูลภูมิศาสตร์และการแบ่งเขตการปกครองของประเทศฝรั่งเศส

ภูมิศาสตร์
ขณะที่ดินแดนหลักของประเทศฝรั่งเศส (ลาเมโตรปอล - la Métropole หรือ ฟรองซ์เมโตรโปลีแตน - France métropolitaine) ตั้งอยู่ในภูมิภาคยุโรปตะวันตก ฝรั่งเศสก็ยังมีดินแดนที่ตั้งอยู่ในอเมริกาเหนือ ทะเลแคริบเบียน อเมริกาใต้ มหาสมุทรอินเดียทางตะวันตกและทางใต้ มหาสมุทรแปซิฟิกใต้ รวมทั้งบางส่วนในทวีปแอนตาร์กติกาอีกด้วย (การอ้างสิทธิเหนือดินแดนในแอนตาร์กติกาไม่ได้รับการยอมรับจากหลายประเทศ ดู สนธิสัญญาแอนตาร์กติก)
ฝรั่งเศสภาคพื้นทวีปยุโรปมีอาณาเขตตั้งแต่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนไปจนจดทะเลเหนือ และจากแม่น้ำไรน์ไปจนจดมหาสมุทรแอตแลนติก โดยมีพรมแดนติดต่อประเทศสหราชอาณาจักร เบลเยียม ลักเซมเบิร์ก เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ อิตาลี โมนาโกอันดอร์รา และสเปน ซึ่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสยังมีพรมแดนโพ้นทะเลร่วมกับประเทศบราซิล ซูรินาเม และเนเธอร์แลนด์อีกด้วย
ฝรั่งเศสมีพื้นที่ครอบคลุมลักษณะภูมิประเทศที่หลากหลายมาก ตั้งแต่ที่ราบชายฝั่งในภาคเหนือและตะวันตก ซึ่งติดกับทะเลเหนือและมหาสมุทรแอตแลนติก ไปจนถึงเขตเทือกเขาในภาคใต้คือเทือกเขาปีเรเน และภาคตะวันออกเฉียงใต้ คือเทือกเขาแอลป์ ซึ่งเป็นที่ตั้งของยอดเขาที่สูงที่สุดในยุโรปตะวันตก คือ มงบล็อง หรือ มองบลังก์ (Mont Blanc) สูง 4,810 เมตร
ส่วนระหว่างภูมิประเทศทั้งสองก็พบพื้นที่ที่มีความสูงระดับพื้นที่ต่างกัน เช่น ที่สูงตอนกลาง (มาซีฟซองตราล) เทือกเขาวอสช์ และที่ราบลุ่มแม่น้ำที่กว้างขวาง เช่น ที่ราบลุ่มแม่น้ำลัวร์ ที่ราบลุ่มแม่น้ำโรน ที่ราบลุ่มแม่น้ำการอน ที่ราบลุ่มแม่น้ำแซน เป็นต้น
การแบ่งเขตการปกครอง

ประเทศฝรั่งเศสภาคพื้นทวีปยุโรป (Metropolitan France) แบ่งการปกครองออกเป็น
22 แคว้น (regions - régions) ได้แก่
อัลซาซ
อากีแตน
โอแวร์ญ
บาส-นอร์มองดี
บูร์กอญ
เบรอตาญ
ซ็องตร์
ชองปาญ-อาร์แดน
กอร์ส
ฟรองช์-กงเต
โอต-นอร์มองดี
อีล-เดอ-ฟรองซ์
ลองเกอด็อก-รูซียง
ลีมูแซง
ลอแรน
มีดี-ปีเรเน
นอร์-ปาเดอกาเล
เปอีเดอลาลัวร์
ปีการ์ดี
ปัวตู-ชารองต์
โปรวองซ์-อัลป์-โกตดาซูร์
โรน-อัลป์

โดยในแต่ละแคว้นแบ่งออกเป็น จังหวัด (départements) รวมทั้งหมด 96 จังหวัด
นอกจากในทวีปยุโรปแล้ว ประเทศฝรั่งเศสยังมีเขตการปกครองโพ้นทะเล (Overseas) อยู่ในทวีปต่าง ๆ ทั้งอเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ แอฟริกา แอนตาร์กติกา และภูมิภาคโอเชียเนียอีก ได้แก่
4 จังหวัดโพ้นทะเล (départements d'outre-mers: DOM) ได้แก่ กวาเดอลูป (Guadeloupe) เฟรนช์เกียนา (French Guiana) มาร์ตินีก (Martinique) และเรอูนียง (Réunion) ทั้งสี่มีฐานะเดียวกับแคว้นในฝรั่งเศสภาคพื้นทวีป (อย่างเดียวกับฮาวายที่มีฐานะเท่าเทียมกับมลรัฐอื่น ๆ ในสหรัฐอเมริกา) กล่าวคือ เป็นทั้งแคว้นและจังหวัดในเวลาเดียวกัน
3 อาณานิคมโพ้นทะเล (collectivités d'outre-mer) ได้แก่ แซงปีแยร์และมีเกอลง (Saint-Pierre and Miquelon) หมู่เกาะวาลลิสและหมู่เกาะฟุตูนา (Wallis and Futuna) และมายอต (Mayotte)
1 ประเทศโพ้นทะเล (pays d'outre-mer: POM) ดินแดนแห่งเดียวของฝรั่งเศสที่ได้รับการเรียกชื่อนี้คือ เฟรนช์โปลินีเซีย (French Polynesia) ซึ่งเคยเป็นดินแดนโพ้นทะเล (TOM) มาก่อน แต่ได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะในวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2546 โดยแบ่งออกเป็น 5 เขตบริหารย่อย
1 อาณานิคมพิเศษ (collectivité sui generis) คือ นิวแคลิโดเนีย (New Caledonia) เคยมีฐานะเป็นดินแดนโพ้นทะเลมาจนถึงปี พ.ศ. 2542 จึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะ แบ่งออกเป็น 3 จังหวัด (provinces) ได้แก่ จังหวัดนอร์ ซูด และอีลลัวโยเต
1 ดินแดนโพ้นทะเล (territoires d'outre-mer: TOM) คือ เฟรนช์เซาเทิร์นและแอนตาร์กติกแลนส์ (French Southern and Antarctic Lands) โดยแบ่งออกเป็น 4 เขต (districts) ได้แก่ หมู่เกาะแกร์เกอลอง (Kerguelen Islands) หมู่เกาะโกรเซ (Crozet Islands) เกาะอัมสเตอร์ดัมและเกาะแซงปอล (Amsterdam Island and Saint Paul Island) และดินแดนอาเดลี (Adelie Land)
ดินแดน 5 เกาะในมหาสมุทรอินเดีย ซึ่งไม่มีผู้อาศัยอยู่อย่างถาวร รู้จักกันในชื่อ หมู่เกาะกระจายหรืออีลเซปาร์ส (Îles Éparses) ได้แก่ บัสซาสดาอินเดีย (Bassas da India) ยูโรปา (Europa) ฮวนเดโนวา (Juan de Nova) โกลริโอโซ (Glorioso) และตรอมแลง (Tromelin) ทั้งหมดถูกปกครองโดยจังหวัดโพ้นทะเลเรอูนียง
เกาะที่ไม่มีผู้อาศัย 1 แห่ง คือ คลิปเพอร์ตัน (Clipperton) อยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก ใกล้ชายฝั่งประเทศเม็กซิโก ปกครองโดยข้าหลวงใหญ่สาธารณรัฐฝรั่งเศสประจำท้องถิ่นโพ้นทะเลเฟรนช์โปลินีเซีย

วันพฤหัสบดีที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ฮ่องกงดิสนีย์แลนด์ดินแดนแห่งความสุข

 ฮ่องกงดิสนีย์แลนด์ แห่งนี้เป็นสวนสนุกแห่งที่ 5 ของดิสนีย์แลนด์ทั่วโลก และเป็นสวนสนุกแห่งที่ 11 ของดิสนีย์ สำหรับสิ่งน่าสนใจในฮ่องกงดิสนีย์แลนด์นั้นก็มีอยู่มากมาย โดยเมื่อผ่านทางเข้าตรง“เมนสตรีท ยูเอสเอ” ที่ได้จำลองบรรยากาศในอดีตของอเมริกาเอาไว้ก็จะเป็นโลกแห่งความสนุกสนานในฮ่องกงดิสนีย์แลนด์ ที่แบ่งพื้นที่สวนสนุกออกเป็น 3 ส่วนหลักๆ คือ แฟนตาซีแลนด์ ทูมอโรว์แลนด์ และแอดเวนเจอร์แลนด์ ซึ่งสวนสนุกแต่ละส่วนต่างก็มีความน่าสนใจแตกต่างกันออกไป
เวลาเปิดทำการของฮ่องกงดิสนีย์แลนด์
ฮ่องกงดิสนีย์แลนด์ เปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 10.00 - 20.00 น. ในช่วงเทศกาลที่มีผู้คนคับคั่งอาจให้บริการตั้งแต่เวลา 9.00 - 21.00 น. สามารถซื้อบัตรเข้าสวนสนุกได้ก่อนเวลาสวนสนุกเปิด หรือ ซื้อบัตรออนไลน์ผ่านเว็บไซด์ฮ่องกงดิสนีย์แลนด์โดยตรงก็ได้ **ฮ่องกงดิสนีย์แลนด์สามารถนำน้ำเข้ามาได้ 1 ขวด และขนมอีก 1 ชิ้นเท่านั้น**

วันพุธที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2554

สูตรอาหาร : ซุปข้าวโพด

CornSoup
วันนี้ขอเอาใจคนชอบทานซุปสไตล์ฝรั่งกันหน่อย กับเมนูชื่อว่า ซุปข้าวโพด จำได้ว่าตอนเป็นเด็กชอบทานประจำเพราะช่วยให้อิ่มท้องแถมอร่อย และได้ประโยชน์อีกด้วย
ส่วนผสม
  1. ข้าวโพดฝานบางๆ 1 ถ้วย
  2. แป้งสาลี 1 ช้อนโต๊ะ
  3. เนย 1 1/2 ช้อนโต๊ะ
  4. นมสด 1/2 ถ้วย
  5. หอมหัวใหญ่สับละเอียด 1/4 ถ้วย
  6. น้ำซุป 1 1/2 ถ้วย
  7. เกลือป่นเล็กน้อย
วิธีทำ
  1. นำกระทะตั้งไฟ ใส่เนยพอละลาย ใส่หอมหัวใหญ่ลงไปผัดพอมีกลิ่นหอม ใส่แป้งสาลีตามลงไปผัดพอเข้ากัน
  2. เติมน้ำซุป ข้าวโพดที่เตรียมไว้ เกลือป่น คนให้เข้ากัน เคี่ยวต่อประมาณ 20 นาที (ถ้าเป็นข้าวโพดสดต้องฝานบางและต้มนานขึ้น ใช้น้ำซุป 2 ถ้วย เคี่ยวประมาณ 30–40 นาที)
  3. ขั้นตอนสุดท้าย เติมนมสด คนให้ทั่ว พอเดือด ยกลงจากเตา แบ่งใส่ถ้วยเสิร์ฟ