วันเสาร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

โรคมือเท้าปากเปื่อย Hand foot mouth syndrome


โรคมือเท้าปากเปื่อย Hand foot mouth syndrome

 เป็นโรคทมักพบการติดเชื้อในกลุ่มทารกและเด็กเล็ก แต่บางรายจะมีอาการรุนแรง ขึ้นอยู่กับชนิดของไวรัสที่มีการติดเชื้อ
โรค HFMD ส่วนใหญ่พบในเด็กอายุน้อยกว่า 10 ปี โดยเฉพาะอายุต่ำกว่า 5 ปี มีอาการไข้ร่วมกับตุ่มเล็กๆ เกิดขึ้นที่ผิวหนังบริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า และในปาก ส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรง หายได้เอง ส่วนน้อยอาจมีอาการทางสมองร่วมด้วย ซึ่งอาจทำให้รุนแรงถึงเสียชีวิตได้ ส่วนใหญ่พบในเด็กอายุ 1-7 ปี ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อ coxsackievirusA16 และ EV71 ผู้ป่วยจะมีไข้ฉับพลันและมีแผลเปื่อยเล็กๆ ในลำคอบริเวณเพดาน ลิ้นไก่ ทอนซิล มีอาการเจ็บคอมากร่วมกับมีน้ำลายมาก ยังไม่เคยมีรายงานการเสียชีวิต และอาจมีอาการกลืนลำบากปวดท้องและอาเจียน โรคจะเป็นอยู่ 3 - 6 วัน และมักจะหายเอง 
โรคมือเท้าปากจะเกิดเชื้อไวรัสกลุ่ม Enterovirus genusซึ่งเชื้อโรคในกลุ่มนี้ประกอบไปด้วย polioviruses, coxsackieviruses, echoviruses, and enteroviruses.
สาเหตุ
เกิดจากเชื้อไวรัสในกลุ่ม Enteroviruses ที่พบเฉพาะในมนุษย์ ซึ่งมีหลายสายพันธุ์ โรคปากเท้าเปื่อยส่วนใหญ่เกิดจาการติดเชื้อไวรัสที่ชื่อว่า coxsackie A16 มักไม่รุนแรง เด็กจะหายเป็นปกติภายใน 7-10 วัน ส่วนที่เกิดจากEnterovirus 71 อาจเป็นแบบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ Aseptic meningitis ที่ไม่รุนแรง หรือมีอาการคล้ายโปลิโอ ส่วนที่รุนแรงมากจนอาจเสียชีวิตจะเป็นแบบสมองอักเสบencephalitis ซึ่งมีอาการอักเสบส่วนก้านสมองทำให้หมดสติ หากเกิดกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบจะทำให้เกิดหัวใจวาย ความดันโลหิตจะต่ำ มีอาการหัวใจวาย และ/หรือมีภาวะน้ำท่วมปอด
อาการ
ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่จะไม่แสดงอาการป่วย หรืออาจพบอาการเพียงเล็กน้อย เช่น มีไข้ ปวดศีรษะ คลื่นไส้ ปวดเมื่อย เป็นต้น จะปรากฏอาการดังกล่าว 3-5 วัน แล้วหายได้เอง สำหรับผู้ที่มีอาการมักจะเริ่มด้วยไข้ เบื่ออาหาร ครั่นเนื้อครั่นตัวเจ็บคอ หลังจากไข้ 1-2 วันจะเห็นแผลแดงเล็กๆที่ปากโดยเป็นตุ่มน้ำในระยะแรกและแตกเป็นแผล ตำแหน่งของแผลมักจะอยู่ที่เพดานปาก หลังจากนั้นอีก1-2 วันจะเกิดผื่นที่มือและเท้า แต่ก็อาจจะเกิดที่แขน และก้นได้ เด็กที่เจ็บปากมากอาจจะขาดน้ำ
  • ไข้  มีอาการไข้สูงอาจเกิน 39 องศาเซลเซียส 2 วันแล้วจะมีไข้ต่ำๆ ประมาณ 37.5 - 38.5 องศาเซลเซียส อีก 3-5 วัน
  • เจ็บคอเจ็บในปากกลืนน้ำลายไม่ได้ ไม่กินอาหาร
  • พบตุ่มแผลในปาก ส่วนใหญ่พบที่เพดานอ่อนลิ้น กระพุ้งแก้ม อาจมี 1 แผล หรือ 2-3 แผล ขนาด 4-8 มิลลิลิตร เป็นสาเหตุให้เด็กไม่ดูดนม ไม่กินอาหารเพราะเจ็บ ผื่นหรือแผลในปากจะเกิดหลังจากไข้ 1-2 วัน
  • ปวดศีรษะ
  •  พบตุ่มพอง (vesicles) สีขาวขุ่นบนฐานรอบสีแดง ขนาด 3-7 มิลลิเมตร บริเวณด้านข้างของนิ้วมือ นิ้วเท้า บางครั้งพบที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้า ส้นเท้า ส่วนมากมีจำนวน 5-6 ตุ่ม เวลากดจะเจ็บ ส่วนใหญ่ไม่ค่อยแตกเป็นแผล จะหายไปได้เองในเวลาประมาณ 1 สัปดาห์ 
  • เบื่ออาหาร
  • เด็กจะหงุดหงิด
  • ในเด็กโตจะบ่นปวดศีรษะ ปวดหลัง อาจมีอาเจียน เจ็บคอ น้ำลายไหล จากนั้นจะพบตุ่มพองใส ขนาด 1-2 มิลลิเมตร 2 ข้างของบริเวณเหนือต่อมทอนซิล (anteriar fauces) ซึ่งอาจแตกเป็นแผล หลังจากระยะ 2-3 วันแรก แผลจะใหญ่ขึ้นเป็น 3-4 มิลลิเมตร จะเห็นเป็นสีขาวเหลืองอยู่บนฐานสีแดงโดยรอบ ทำให้มีอาการเจ็บคอหรือกลืนลำบากเวลาดูดนมหรือกินอาหาร เด็กจะมีอาการน้ำลายไหล ส่วนใหญ่จะหายได้เองภายใน 3-6 วัน ยังไม่เคยมีรายงานการเสียชีวิต 
ระยะฝักตัว
หมายถึงระยะตั้งแต่ได้รับเชื้อจนกระทั่งเกิดอาการใช้เวลาประมาณ 4-6 วัน
การติดต่อ
โรคนี้มักจะติดต่อในสัปดาห์แรก เชื้อนี้ติดต่อจาก
  • จากมือที่เปื้อนน้ำมูก น้ำลาย และอุจจาระของผู้ป่วยหรือผู้ติดเชื้อ (ซึ่งอาจจะยังไม่มีอาการ) หรือน้ำในตุ่มพองหรือแผลของผู้ป่วย
  • และโดยการหายใจเอาเชื้อที่แพร่กระจายจากละอองฝอยของการไอ จาม ของผู้ป่วยหรือผู้ติดเชื้อ ( droplet spread)
ระยะที่แพร่เชื้อ
ประมาณอาทิตย์แรกของการเจ็บป่วย เชื้อนั้นอาจจะอยู่ในร่างกายได้เป็นสัปดาห์หลังจากอาการดีขึ้้นแล้ว ซึ่งยังสามารถติดต่อสู่ผู้อื่นได้แม้ว่าจะหายแล้ว การแพร่เชื้อมักเกิดได้ง่ายในช่วงสัปดาห์แรกของการป่วย ซึ่งมีเชื้อออกมามาก เชื้อจะอยู่ในลำคอ ประมาณ 2-3 สัปดาห์ ไวรัสเข้าสู่ร่างกายทางเยื่อบุของคอหอยและลำไส้ เพิ่มจำนวนที่ทอนซิลและเนื้อเยื่อของระบบน้ำเหลืองบริเวณลำไส้ และเชื้อจะออกมากับอุจจาระ ยังไม่มีหลักฐานที่เชื่อถือได้ว่า การแพร่กระจายของโรคเกิดจากแมลง น้ำ อาหาร หรือขยะ 

วันอาทิตย์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

การประหารชีวิต ของคนสมัยเมื่อก่อน

มีข่าวว่ากรมราชทัณฑ์ดำริที่จะเปลี่ยนวิธีการประหารชีวิต จากการยิงด้วยปืนมาเป็นฉีดยา 
ปัจจุบันการประหารชีวิตนักโทษกระทำกันที่เรือนจำบางขวาง จังหวัดนนทบุรีเพียงแห่งเดียว ส่วนในอดีตไทยเราประหารชีวิตด้วยดาบ มาจนถึง พ.ศ.2477 จึงได้ยกเลิกการประหารชีวิตด้วยดาบ เปลี่ยนมาเป็นการประหารชีวิตด้วยปืน 
รายสุดท้ายที่ทำการประหารชีวิตด้วยดาบได้แก่รายประหารชีวิต นางล้วนในข้อหาฆ่าคนตาย โดยทำการประหารที่วัดหนองจอก ริมคลองแสนแสบ จังหวัดพระนคร 
สำหรับการประหารชีวิตในสมัยก่อน ครั้งรัชการที่ 5 ทำการประหารที่วัดโคก(วักพลับพลาไชย) ซึ่งสมัยนั้นเป็นวัดที่อยู่ในชนบท ห่างไกลจากชุมชน 
แต่ต่อมาก็ได้ย้ายมาทำการประหารที่วัดมักสันริมคลองแสนแสบ และที่วัดภาษีซึ่งอยู่ห่างออกไปในคลองเดียวกัน และที่อื่นๆอีก ทั้งนี้ ก็เพราะวัดเหล่านั้นได้เปลี่ยนแปลงจากวัดในชนบทมาเป็นวัดที่อยู่ในชุมชนตามกาลเวลา ไม่เหมาะสำหรับการประหารชีวิตอย่างแต่ก่อน 
ในสมัยรัชกาลที่ 6 เมื่อทางการสร้างเรือนจำบางขวางหรือคุกบางขวางขึ้นแล้ว ต่อมาจึงได้ทำการประหารชีวิตที่คุกบางขวางนี้ตลอดมาจนกระทั้งปัจจุบัน 
สำหรับการประหารชีวิต ในคุกบางขวางนี้ ได้ทำการประหารด้วยปืนเหมือนนานาประเทศส่วนใหญ่ใช้ ส่วนปืนที่ไทยใช้ก็คือปืนกลยี่ห้อแบล็กมันต์ โดยในระยะแรกๆ ทำการประหารชีวิตเวลาเย็น แต่ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นเช้ามืด 
ก่อนประหารชีวิต ก็ได้จัดให้พระมาเทศน์ให้นักโทษฟัง เสร็จแล้วก็มีการเลี้ยงอาหารนักโทษ พิธีการดังกล่าวเหมือนอย่างการประหารชีวิตนักโทษด้วยดาบในอดีต 
ย้อนกลับไปดูการประหารชีวิตในสมัยโบราณ ความจริงเมืองไทยเราไม่ได้ใช้ดาบเพียงอย่างเดียว แต่เรายังใช้เครื่องมือประหารอื่นๆ ตลอดจนวิธีประหารอื่นๆด้วย 
จากหนังสือกฎหมายตราสามดวง ซึ่งเป็นหนังสือกฎหมายที่รัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าให้รวบรวมกฎหมายโบราณครั้งกรุงเก่าและกรุงธนบุรีมาประมวลไว้ด้วยกัน ได้กล่าวถึงการประหารชีวิต และเครื่องมือต่างๆ เช่น จากพระไอยการลักษรโจร กล่าวถึงการลักพระพุทธรูปเอาไปล้างหรือเผาสำรอกเอาทอง หรือเอาพระบท (ผพระคัมภีร์) ไปสำรอกแช่น้ำ หรือเอาไปเผา โทษประหารคือ เอาโจรนั้นใส่เตาเพลิงสูบเผาไฟ 
ถ้าขุดทำลายพระพุทธรูป พระสถูปเจดีย์ จับได้หลายครั้งหลายหน โทษประหารก็คือเอาโจรนั้นไปตระเวนบก 3 วัน ตระเวนเรือ 3 วัน แล้วตัดคอผ่าอกเสีย 
ถ้าทำให้เกิดเพลิงไหม้ในพระราชวัง โทษคือเอาไฟคลอกให้ตาย 
ในพระไอยการกระบดศึก ตอนหนึ่งว่านักโทษที่เป็นกบฏ ประทุษร้ายต่อพระเจ้าอยู่หัว ปล้นเมือง ปล้นพระนคร เผาจวน เผาพระราชวัง เผายุ้งฉาง คลังหลวง ปล้นวัด เผาวัด ทำทารุณกรรมหยาบช้าต่อพระและชาวบ้าน เช่นเอาปิ้งย่างเผาไฟ หรือเอาแหลนหลาวเสียบร้อนฆ่าบิดามารดาคณาจารย์ พระอุปัชณาย์ เหยียบย่ำทำลามกต่อพระพุทธรูป และตัดมือตัดเท้าตัดคอเด็ก เพื่อเอาเครื่องประดับ จะต้องถูกประหารโดยสถานใดสถานหนึ่งดังนี 

สถานหนึ่ง ให้ต่อยกระบาลให้ศีรษะแยกออก แล้วเอาคีมคีบก้อนเหล็กที่เผาไฟจนแดงใส่ลงไปให้มันสมองพลุ่งฟูขึ้น 
สถานหนึ่ง ให้ตัดเพียงหนังที่หน้าจดปากจดหูจดคอแล้วให้มุ่นกระหมวดผมเอาไม้ท่อนสอด ใช้คนโยกข้างละคน เอาหนังและผมออกแล้วจึงเอากรวดทรายหยาบขัดกระบาลศีรษะ ชำระให้ขาวสะอาดเหมือนพรรณสีสังข์(คือให้มีสีขาวเหมือนสีของหอยสังข์) 
สถานหนึ่ง เอาขอเกี่ยวปากไว้ แล้วเอาประทีปตามไว้ในปาก หรือไม่ก็เอาสิ่งคมๆแหวะหรือผ่าปากจนถึงใบหูทั้ง2ข้าง แล้วเอาขอเกี่ยวให้อ้าไว้ 
สถานหนึ่ง ให้เอาผ้าชุบน้ำมัน พันทั้งกายแล้วเอาเพลิงจุด 
สถานหนึ่ง ให้เชือดเนื้อเป็นริ้วๆตั้งแต่ใต้คอจนถึงข้อเท้าแล้วผูกเชือกฉุดคร่าตีด่า ให้เดินเลียริ้วเนื้อหนังของตนจนกว่าจะตาย 
สถานหนึ่ง ให้เอาห่วงเหล็กสวมข้อศอกข้อเข่า แล้วเอาหลักเหล็กสอดตรึงไว้กับพื้นดิน แล้วเอาเพลิงลนให้รอบจนกว่าจะตาย 
สถานหนึ่ง ให้เอาเบ็ดใหญ่ 2 คม เกี่ยวเพิกเนื้อหนังเอ็นใหญ่เอ็นน้อยให้หลุดขาดออกมาจนกว่าจะสิ้นมังสา 
สถานหนึ่ง ให้เอามีดที่มีคมเชือดเนื้อให้ตกออกมาจากกายทีละตำลึงจนกว่าจะสิ้นมังสา 
สถานหนึ่ง ให้แล่และสับฟันทั่วร่างกาย แล้วเอาแปลงหวีชุบน้ำแสบกรีดขุดลอกหนังและเนื้อกับเอ็นเล็กเอ็นน้อยออกให้สิ้น ให้เหลือแต่กระดูก 
สถานหนึ่ง ให้เอาน้ำมันเดือดๆราด รดสาดลงมาแต่ศีรษะ จนกว่าจะตาย 
สถานหนึ่ง ให้เอาฝูงสุนัขซึ่งกักขังไว้ให้อดอยาก กัดทึ้งเนื้อหนังร่างกายกินให้เหลือแต่กระดูก 
สถานหนึ่ง ให้เอาขวานฝ่าอกทั้งที่เป็นเหมือนแหกโครงเนื้อ 
สถานหนึ่ง ให้แทงด้วยหอกทีละน้อยๆ จนกว่าจะตาย 
สถานหนึ่ง ให้ขุดหลุมฝังเพียงเอวแล้วเอาฟางปกลงคลอกด้วยเพลิง พอหนังไหม้ก็ให้เอาเหล็กไถให้เป็นริ้วเล็กริ้วใหญ่ ท่อนเล็กท่อนใหญ่ 




สรุปแล้ว การประหารชีวิตในสมัยโบราณมีทั้งการทรมานไปด้วยในตัว ซึ่งกว่านักโทษประหารจะตายก็เจ็บปวดรวดร้าวแสนสาหัส เหมือนตกนรกทั้งเป็น 
วิธีการประหารดังกล่าว เมื่อต้นรัชกาลที่ 5 ก็ยังมีอยู่บ้าง เช่นเมื่อตอนเปลี่ยนรัชกาลใหม่ๆ ได้เกิดโจรผู้ร้ายชุกชุมทั้งในกรุงเทพและต่างจังหวัด เมื่อเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ ผู้สำเร็จราชการได้ทำการสืบจับโดยกวดขัน ในกรุงเทพจับตัวได้ก็ให้ทำการประหารชีวิตภายใน 15 วัน 2 ราย ส่วนที่มณฑลอยุธยา เมื่อจับ อ้ายอ่วม อกโรย (ชาวบ้านตำบลอกโรย) ซึ่งเป็นโจรปล้นฆ่าและข่มขืน กับจับ อ้ายสาย หัวหน้าโจรคนหนึ่ง ต่อมา เมื่อชาวบ้านเห็นว่าทางการปราบปรามจริง จึงได้เป็นสายพาข้าหลวงตามจับหัวหน้าโจรอีกเป็นจำนวนมาก 
เมื่อจับพวกโจรได้แล้ว เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์จึงขึ้นไปกรุงเก่าพร้อมด้วยผู้พิพากษาในทันที พวกหัวหน้าโจรที่ต้องโทษประหารชีวิต เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์สั่งให้ประหารชีวิตด้วยการเอาขวานตัดหัวให้ขาดเป็น 2 ท่อน ที่หน้าพะเนียดคล้องช้างแห่งหนึ่ง ให้ผ่าอกที่วัดชีตาเห็น (บ้านหักไห่) อีกแห่งหนึ่ง 
การประหารทั้ง 2 แห่งนี้ ได้มีการป่าวร้องให้คนมาดูโดยหวังจะให้คนพาลสยดสยอง เรื่องนี้แม่ใครจะติเตียนว่าทำการประหารอย่างทารุณ แต่ก็ต้องตอมรับว่าได้ผล ด้วยโจรผู้ร้ายตามหัวเมืองสงบโดยทันที 
ในรัชกาลที่ 5 การประหารชีวิตส่วนใหญ่ใช้วิธีการประหารด้วยดาบ แต่ก่อนจะถูกประหารนักโทษจะต้องถูกเฆี่ยน 3 ยก (90ที) 
ปัจจุบันการประหารชีวิตด้วยปืน ไม่มีการเฆี่ยนเหมือนอย่างแต่ก่อนแล้ว เป็นการตายด้วยการยิงสถานเดียว 
ถึงกระนั้นคนไทยในยุคปัจจุบันก็ยังถือว่าการประหารด้วยปืนเป็นวิธีที่หวาดเสียว สมควรที่จะเปลี่ยนวิธีประหาร เป็นการฉีดยาให้ตายดังกล่าว