21 กัยายน วันสันติภาพสากล (The International Day of Peace)
วันสันติภาพสากล (The International Day of Peace)ตรงกับวันที่ 21 กันยายนของทุกปี เพื่ออุทิศให้กับสันติภาพ
วันที่ 21 กันยายน ของทุกปีเป็นวันสันติภาพสากล วันนี้จัดขึ้นเพื่อประกาศการเริ่มต้นของวันสันติภาพสากล ระฆังสันติภาพ ณ สำนักงานใหญ่ของสหประชาชาติ จะดังขึ้น ซึ่งระฆังดังกล่าวถูกหลอมขึ้นจากเหรียญที่เด็กทั่วโลกช่วยกันบริจาค ระฆังใบนี้ถือเป็นอนุสรณ์เตือนให้ระลึกถึงความสูญเสียจากสงคราม โดยมีการสลักประโยคหนึ่งประโยคไว้ข้างระฆังว่า Long live absolute world peace. ขอความยั่งยืนจงมีแด่สันติภาพอันแท้จริง
ปี 1981 คณะกรรมการสหประชาชาติประกาศมติที่รับรองโดยคอสตารีกา ให้วันอังคารที่สามของเดือนกันยายน (ซึ่งเป็นวันเปิดประชุมสามัญ) เป็นวันสันติภาพสากล เพื่อให้ความสำคัญกับสันติภาพ 20 ปีให้หลัง ที่ประชุมใหญ่มีมติใหม่ที่ได้รับการรับรองจากสหราชอาณาจักร และคอสตารีกา ให้กำหนดวันที่แน่นอนและประกาศเป็นวันยุติการสู้รบของโลก (a global ceasefire day) คือ วันที่ 21 กันยายนเป็น องค์การสหประชาชาติ ได้ประกาศให้วันนี้เป็น "วันสันติภาพสากล" (The International Day of Peace) เพื่อขอให้ประชาชนทุกประเทศหยุดยิง หยุดใช้ความรุนแรงกันทั่วโลก และหยุดการทำสงครามตลอดทั้งวัน นอกจากนี้ยังได้เชิญประเทศสมาชิก หน่วยงานสหประชาชาติ ชุมชน และองค์กรอิสระ ให้เฉลิมฉลองและร่วมมือกันสร้างสันติภาพทั่วโลก
องค์การสหประชาชาตินกอจากได้กำหนดให้วันที่ 21 กันยายนของทุกปี เป็น "วันสันติภาพโลก" (International Day of Peace) แล้ว ยังกำหนดให้ปี ค.ศ.2001-2010 เป็น "ทศวรรษสากลเพื่อวัฒนธรรมสันติภาพและความไม่รุนแรงเพื่อเด็กของโลก" (The International Decade 2001-2010 for a Culture of Peace and Non-violence for the Children of the World) โดยมุ่งเน้นที่
1. การให้ความเคารพต่อชีวิตทั้งมวล เคารพชีวิตและศักดิ์ศรีของแต่ละบุคคล โดยไม่แบ่งชนชั้นหรือลำเอียง
2. การไม่ใช้ความรุนแรงในทุกรูปแบบ โดยเฉพาะต่อเด็กและเยาวชน
3. การแบ่งปันกับผู้อื่นอย่างมีน้ำใจ เพื่อขจัดการแบ่งแยก ความไม่ยุติธรรม และการกดขี่ทางการเมืองและเศรษฐกิจ
4. การรับฟังเพื่อให้เกิดความเข้าใจต่อกัน เคารพเสรีภาพในการแสดงออก และยอมรับความแตกต่างทางวัฒนธรรม
5. การสงวนรักษาผืนโลก ฝึกดำเนินชีวิตอย่างรับผิดชอบและเคารพต่อทุกชีวิตในโลก เพื่อรักษาสมดุลของธรรมชาติบนผืนโลก
6. การสร้างความสมานฉันท์ เคารพต่อหลักการประชาธิปไตย และให้โอกาสทุกฝ่ายมีส่วนร่วมอย่างเท่าเทียมกัน โดยเฉพาะสตรี
2. การไม่ใช้ความรุนแรงในทุกรูปแบบ โดยเฉพาะต่อเด็กและเยาวชน
3. การแบ่งปันกับผู้อื่นอย่างมีน้ำใจ เพื่อขจัดการแบ่งแยก ความไม่ยุติธรรม และการกดขี่ทางการเมืองและเศรษฐกิจ
4. การรับฟังเพื่อให้เกิดความเข้าใจต่อกัน เคารพเสรีภาพในการแสดงออก และยอมรับความแตกต่างทางวัฒนธรรม
5. การสงวนรักษาผืนโลก ฝึกดำเนินชีวิตอย่างรับผิดชอบและเคารพต่อทุกชีวิตในโลก เพื่อรักษาสมดุลของธรรมชาติบนผืนโลก
6. การสร้างความสมานฉันท์ เคารพต่อหลักการประชาธิปไตย และให้โอกาสทุกฝ่ายมีส่วนร่วมอย่างเท่าเทียมกัน โดยเฉพาะสตรี
การส่งเสริมให้ผู้คนในสังคมทุกกลุ่มอายุ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของสันติภาพภายใน ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของวัฒนธรรมสันติภาพ โดยเริ่มต้นจากประสบการณ์ของความสงบเงียบภายในจิตใจของแต่ละบุคคล จะนำไปสู่การตระหนักรู้จักตนเองและแหล่งพลังชีวิต สามารถใช้ปัญญาเป็นเครื่องชี้นำทางในการขจัดทุกข์และสร้างสันติสุขให้แก่ตนเอง และแบ่งปันประสบการณ์ที่ดีให้แก่ผู้อื่น
วิธีการหนึ่งในการกระตุ้นให้ผู้คนทั่วไปเห็นความสำคัญของการหยุดอยู่ในความสงบ คือเน้นความสำคัญของการใช้เวลา "เพียงหนึ่งนาที" ด้วยบทเพลง "เพียงหนึ่งนาที" ซึ่งสร้างสรรค์โดยทีมของบริษัทแกรมมี่ฯ เพื่อเป็นสื่อหนึ่งของโครงการ "คุณธรรมหนุนนำสันติสุข" ของมูลนิธิบราห์มากุมารีราชาโยคะ มหาวิทยาลัยทางจิตของโลก เป็น traffic control ควบคุมการจราจรของจิต และหันเหความคิดไปสู่ทิศทางที่เป็นบวก เป็นสื่อเตือนตนให้มีเวลาหยุดสงบนิ่ง เพียงชั่วขณะในแต่ละวัน ได้เรียนรู้ความสงบเงียบภายในของตน และเสริมพลังชีวิต เพื่อเป็นพื้นฐานต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตในด้านต่างๆ
ประเทศไทย ที่ อ.แม่สอด จังหวัดตาก มีกิจกรรมเดินขบวนเพื่อสันติภาพ (Peacemarch) เพื่อสวดมนต์ขอพรให้เกิดสันติภาพในพม่า ในไทย และโลก รวมทั้งเพื่อระลึกถึงเหตุการณ์การชุมนุมอย่างสันติของพระภิกษุเมื่อเดือนกันยายนปี 2007 ในพม่า การเดินขบวนครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนจากทั่วโลกเนื่องจากจะมีการจัดกิจกรรมดังกล่าวในประเทศต่างๆ ในเวลาเดียวกัน
รูปแบบของการเดินขบวนใช้ลูกโป่งรูปนกพิราบสีขาวขนาดใหญ่เพื่อเป็นสัญลักษณ์แทนสันติภาพ พระภิกษุจะใช้กระดิ่งเป็นตัวบอกสัญญาณควบคุมการเดินขบวน พร้อมกล่าวและชูป้ายที่เขียน(ทั้งภาษาอังกฤษและภาษาไทย) ว่า''May all beings not fight each other'' (ขอให้สรรพชีวิตทั้งหลายจงหยุดต่อสู้ซึ่งกันและกัน) และ''May all beings be happy and peaceful'' (ขอให้สรรพชีวิตทั้งหลายจงมีแต่สันติสุขและสันติภาพ)
นอกจากนี้ ยังจะใช้ป้ายที่เขียนว่า ''สันติภาพ''
- ''Peace for the World and Burma'' (สันติภาพแด่โลกและพม่า)
- ''Peace in Burma Means No Civil War'' (สันติภาพในพม่าคือการปราศจากซึ่งสงครามกลางเมือง)
- 'No Nuclear Enrichment in Burma'' (ห้ามการเสริมสมรรถนะนิวเคลียร์ในพม่า)
งานวันสันติภาพสากลในติมอร์-เลสเต
ในปี 2008 สำนักงานสหประชาชาติ (UNMIT) ในติมอร์ฯ ได้ตั้งคำขวัญสำหรับวันสันติภาพสากลในติมอร์-เลสเตว่า “คุณทำอะไรเพื่อสันติภาพหรือเปล่า” (What are you doing for peace?) ในปีนี้รัฐบาลติมอร์ฯร่วมกับสหประชาชาติได้จัดงานฉลองวันสันติภาพสากลที่บริเวณหน้าทำเนียบรัฐบาล การฉลองวันสันติภาพเริ่มขึ้นด้วยพิธีมิซซาเพื่อสันติภาพและความยุติธรรมที่วิหารอิเกรจา และต่อมาในเวลา 16.30-17.30 น.มีการชุมนุมเพื่อสะท้อนความต้องการสันติภาพที่ลานประชาธิปไตย จากลานประชาธิปไตยมีการ “เดินเพื่อสันติภาพ” ไปยังทำเนียบรัฐบาลโดยออกเดินทางตั้งแต่เวลา17.30 -18.00 น.และที่ทำเนียบรัฐบาลนี้ นายซานานา กุสเมา นายกรัฐมนตรีได้กล่าวสุนทรพจน์แสดงความยินดีที่การเดินเพื่อสันติภาพในปีนี้มีเยาวชนจากสำนักวิชาป้องกันตัวต่างๆได้มาเข้าร่วมด้วย ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงและทัศนคติสร้างสรรค์ของสำนักวิชาป้องกันตัวต่างๆ และภายหลังจากสุนทรพจน์ดังกล่าวบิฉอบได้กล่าวให้พรและปล่อยนกพิราบ รวมทั้งมีการแจกดอกไม้แก่ผู้มาร่วมพิธี นายอาตุล คาห์เรผู้แทนพิเศษเลขาธิการสหประชาชาติได้กล่าวสุนทรพจน์เป็นรายต่อมาโดยเน้นย้ำว่าการที่จะมีสันติภาพได้นั้นจะต้องมีการเคารพสิทธิมนุษยชนด้วย เพราะไม่มีที่แห่งใดซึ่งไม่ให้การพิทักษ์ปกป้องสิทธิมนุษยชนจะสามารถมีสันติภาพเกิดขึ้นได้ และหลังจากนั้นเป็นการกล่าวปราศรัยของนายเฟอร์นันโด ลาซามา เด อะเราโจ ประธานรัฐสภาแห่งชาติ หลังจากสิ้นสุดงานพิธีได้มีการแสดงบันเทิงและดนตรีของคณะนายทหารและตำรวจและดนตรีของเยาวชนสองวงคือวงลิซาน ติมอร์ และวงโทนี่ เปเรร่าจนกระทั่ง 23.05 น. จึงเลิกงาน งานวันสันติภาพสากลเป็นงานที่องค์การสหประชาชาติให้ความสำคัญและจัดขึ้นในติมอร์-เลสเตเป็นประจำทุกปี เพื่อปลุกสำนึกในการรักสันติภาพและความยุติธรรมในบ้านเมือง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น