โดยกรุงลอนดอนกลายเป็นเมืองแรกในโลก ที่เป็นเจ้าภาพจัดแข่งขัน
โอลิมปิกสมัยใหม่ถึงสามครั้ง
[3][4] ซึ่งก่อนหน้านี้ใน
ครั้งที่ 4 (
พ.ศ. 2451) และ
ครั้งที่ 14 (
พ.ศ. 2491)
[5][6]หลังจากนั้น มีการพัฒนาหลายพื้นที่ของกรุงลอนดอน เพื่อรองรับกิจกรรมที่จะจัดขึ้นโดยเฉพาะ เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน และจุดสนใจหลักของการแข่งขัน อยู่ที่
อุทยานโอลิมปิกแห่งใหม่ ขนาด 200
เฮกตาร์ ซึ่งสร้างขึ้นภายในนิคมอุตสาหกรรมเก่า ของเมืองสแตรตเฟิร์ด (Stratford) ทางตะวันออกของกรุงลอนดอน โดยการแข่งขันคราวนี้ ยังช่วยส่งเสริมให้มีการใช้สนามแข่งขัน ที่มีอยู่แล้วจำนวนมาก
[แก้]
การเสนอตัวเป็นเจ้าภาพ
แผนที่แสดงประเทศที่เข้าร่วมเสนอตัวเป็นเจ้าภาพการแข่งขันโอลิมปิก 2012
[แก้]เมืองที่เสนอตัวเป็นเจ้าภาพ
ท้ายชื่อของแต่ละเมือง กำกับด้วยคะแนนซึ่งได้รับจากการคัดเลือกเป็น 5 เมืองสุดท้าย ซึ่งแสดงด้วยตัวหนา
[แก้]ผลการลงคะแนนรอบสุดท้าย
[แก้]การเตรียมความพร้อมและพัฒนาการ
[แก้]สถานที่และโครงสร้างพื้นฐาน
-
สนามกีฬาโอลิมปิกลอนดอนขณะกำลังก่อสร้าง
กีฬาโอลิมปิกและพาราลิมปิกในครั้งนี้ จะผสมผสานกันระหว่าง สถานที่จัดงานซึ่งสร้างขึ้นใหม่ โบราณสถานที่มีอยู่แล้ว และสถานที่ชั่วคราว สำหรับบางส่วนของสถานที่เหล่านี้ ที่รู้จักโดยทั่วไปได้แก่
สวนสาธารณะไฮด์ปาร์ก และการสวนสนามของทหารม้ารักษาพระองค์ สถานที่บางส่วนจะมีการนำกลับมาใช้ใหม่ ขณะที่อย่างอื่นจะปรับขนาดหรือโยกย้าย
[7]
สถานที่จัดงานส่วนมาก แบ่งออกเป็นสามเขต ภายใน
เกรเทอร์ลอนดอน ประกอบด้วย เขตโอลิมปิก เขตแม่น้ำ และเขตกลาง นอกจากนั้นยังมีสถานที่จัดแข่งขัน ที่จำเป็นต้องอยู่รอบนอกเขตเกรเทอร์ลอนดอน อาทิสถาบันเรือใบแห่งชาติเวย์มัธและพอร์ตแลนด์ (Weymouth and Portland National Sailing Academy) บนเกาะแห่งพอร์ตแลนด์ (Isle of Portland) ในเมืองดอร์เซต (Dorset) ซึ่งเป็นสถานที่จัดการแข่งขัน
เรือใบ อยู่ห่างจากลอนดอนไปทางตะวันตกเฉียงใต้ ประมาณ 125
ไมล์ (200
กิโลเมตร) สำหรับการแข่งขัน
ฟุตบอลจะใช้สนามหลายแห่งทั่วสหราชอาณาจักร
[8]
โดยการพัฒนาของอุทยานโอลิมปิกนั้นอาจจะต้องใช้การเวนคืนพื้นที่ด้วย โดยสำนักงานการพัฒนาแห่งกรุงลอนดอนและการรถไฟลอนดอน มีข้อพิพาทกันเกี่ยวกับเรื่องนี้ใน
เดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2005 ซึ่งพื้นที่ส่วนหนึ่งที่มีถึง 180
เอเคอร์ เป็นที่ดินของการทางรถไฟสแตรทฟอร์ด รวมไปถึงการสร้างบ้านใหม่ถึง 4,500 หลัง, สำนักงาน, โรงแรม และ ร้านค้า
[13] โดยล่าสุดในปี
ค.ศ. 2011 ศูนย์การค้าที่ใหญ่ที่สุดใน
ทวีปยุโรป ได้ถูกสร้างเสร็จโดย เวสต์ฟิลด์
[14] โดยที่ดิน 86% มาจากการเวนคืนพื้นที่ โดยการกระทำนี้นำไปสู่การคำถามต่างๆนานา และในครั้งนั้น มี 206 บริษัทที่ต้องย้ายออกไปใน
เดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2007[15] นอกจากนี้ผู้ที่อาศัยอยู่ในฝ่ายต่อต้านการเวนคืนที่ดินกับการขับไล่และความพยายามที่จะหาวิธีที่จะหยุดการกระทำนี้ แต่พวกเขาที่ต้องย้ายออกด้วยการเวนคืนทั้งหมด 94% และที่ดินอื่นๆอีก 6% ซึ่งการเวนคืนใช้เงินทั้งหมด 9 พันล้านปอนด์
[แก้]การขนส่งสาธารณะ
บริการรถไฟความเร็วสูง "โอลิมปิก จาเวลีน"
ระบบการเดินทางสาธารณะใน
ลอนดอน ได้คะแนนที่ไม่ค่อยดี ในการประเมินของ IOC อย่างไรก็ตาม ทางสำนักงานการบริหารเมืองของกรุงลอนดอน ก็ได้ปรับปรุงเพื่อต้อนรับการแข่งขันโอลิมปิกครั้งนี้
[16]องค์การคมนาคมสำหรับลอนดอน หรือ TfL ได้ดำเนินการปรับปรุงระบบการเดินทางสาธารณะใหม่ทั้งหมดภายในปี
พ.ศ. 2555 (ค.ศ. 2012) รวมไปถึงการขยายเส้นทาง
รถไฟเหนือดินลอนดอน ในเส้นทางลอนดอนตะวันออก และเพิ่มเส้นทาง
รถไฟเบาสายดอคแลนดส์ และ การเดินรถไฟทางลอนดอนเหนือ
[17]และการนำเข้ารถไฟหัวกระสุนความเร็วสูงที่มีชื่อว่า "จาเวลีน"
[18]จากบริษัทฮิตาชิ
[19]โดยชานชาลาที่ สถานีรถไฟนานาชาติสแตรทฟอร์ด (ออกแบบมาเพื่อ
รถไฟยูโรสตาร์) จะถูกนำมาใช้ในเส้นทางของการเดินรถไฟจาเวลีน
[20]โดยในเครือข่ายรถไฟทั้งหมด จะเพิ่มการเดินรถ 4,000 ขบวนในช่วงที่มีการแข่งขัน พร้อมทั้งเพิ่มตู้โดยสารในทุกๆวัน
[21]
โดยการจัดการแผนนี้จะทำให้เหล่านักกีฬา 80% สามารถเดินทางไปแข่งขันได้ในเวลาที่น้อยกว่า 20 นาที
[24]และนักกีฬา 93% ที่ใช้เวลาน้อยกว่า 30 นาที
[25]โดยบริเวณ
อุทยานโอลิมปิกลอนดอน จะเป็นศูนย์รวมของชุมทางรถไฟขนาดใหญ่ถึง 10 สายเข้าด้วยกัน ซึ่งจะมีผู้โดยสารประมาณ 240,000 คนต่อชั่วโมง
[26]นอกจากนี้ อีกแผนหนึ่งที่ดำเนินการไปแล้วถึง 90% ซึ่งจะมีทั้งสถานีขนส่งสาธารณะและอื่นๆ
[25]ส่วนสองสวนสาธารณะที่จะถูกปิดเพื่อเป็นที่จุรถ 12,000 คันต่อ 25 นาทีจาก
อุทยานโอลิมปิกลอนดอน และสามารถที่จะจุผู้คนถึง 9,000 คนเพื่อที่จะขึ้นรถบัสในทุกๆ 10 นาที
[25] และการวางแผนสวนสาธารณะนี้จะอยู่ใกล้กับ
แม่น้ำเทมส์ และสามารถเชื่อมต่อไปยังสนามแข่งเรือพายได้
[27] และในถนนบางแห่งจะปิดบางช่องทางการจราจรเพื่อที่จะเป็นช่องทางการเดินรถสำหรับแขกวีไอพีและนักกีฬา
[28][29]
[แก้]การกระจายเสียงและแพร่ภาพ
-
โอลิมปิกที่จัดขึ้นในปีนี้ ใช้เทคโนโลยีดิจิตอล “ดีวีซีโปร-เอชดี” ของ
พานาโซนิก เป็นระบบการบันทึก
วิดีทัศน์การแข่งขันอย่างเป็นทางการ ซึ่งเข้ารับภารกิจดังกล่าวเป็นครั้งที่ 10 ติดต่อกัน (นับรวมทั้ง
โอลิมปิกฤดูร้อนและ
โอลิมปิกฤดูหนาว) เริ่มตั้งแต่
การแข่งขันที่
บาร์เซโลนาของ
สเปนเมื่อปี
พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992) โดย
ศูนย์กระจายเสียงแพร่ภาพนานาชาติ(International Broadcast Centre; IBC) ภายในสวนโอลิมปิกลอนดอน เป็นหน่วยงานหลักในการผลิตและเผยแพร่ วิดีทัศน์ระหว่างประเทศอย่างเป็นทางการ ด้วย
ระบบภาพละเอียดสูง 1080/50ไอ
สำหรับ
หน่วยบริการกระจายเสียงแพร่ภาพโอลิมปิกในลอนดอน(Olympic Broadcasting Services London; OBSL) ซึ่งเป็นเจ้าภาพในการกระจายเสียงและแพร่ภาพ จะใช้อุปกรณ์ชุด “เอชดี-พี2” เพื่อสนับสนุนการกระจายเสียงและแพร่ภาพการแข่งขัน และใช้
กล้องวิดีทัศน์พกพารุ่น “เอจี-เอชพีเอ็กซ์ 250” ซึ่งบันทึกภาพด้วยระบบ “เอวีซี-อินทรา” และผลิตโดยบริษัทเดียวกับ “เอชดี-พี2” เป็นตัวแรก กับกล้องวิดีทัศน์พกพาระบบ “เอวีซีแคม เอชดี” สองรุ่นใหม่คือ “เอจี-เอซี160” และ “เอจี-เอซี130” ด้วยมุมมองภาพละเอียดสูง และ
เลนส์ซูมรุ่นใหม่ ความละเอียดสูง 21 เท่าซึ่งกว้างกว่าเดิม
[30]
[แก้]อาสาสมัคร
ผู้สร้างสรรค์การแข่งขัน (Game Maker)
[34] เป็นชื่อที่รู้จักทั่วไป ของ
อาสาสมัครที่ไม่มีการจ้าง ซึ่งจะปฏิบัติงานอย่างหลากหลาย ทั้งช่วงก่อนและระหว่างการแข่งขัน โดยในช่วงต้นปี
พ.ศ. 2547 (ค.ศ. 2004) ตั้งเป้าว่าจะมีอาสาสมัคร 70,000 คน
[35] แต่เมื่อเปิดรับสมัครในปี
พ.ศ. 2553 (ค.ศ. 2010) กลับมีผู้ได้รับคัดเลือกถึง 240,000 คน
[36] ซึ่งผู้สร้างสรรค์การแข่งขันเหล่านี้ จะปฏิบัติงานอาสาสมัคร เป็นเวลารวมประมาณ 8 ล้านชั่วโมงระหว่างการแข่งขัน ซึ่งไม่อาจเกิดขึ้นโดยสะดวก หากปราศจากบุคคลกลุ่มนี้
[37]
[แก้]สัญลักษณ์การแข่งขัน
ตราสัญลักษณ์สำหรับเสนอชื่อประมูลเป็นเมืองเจ้าภาพ
[แก้]ตราสัญลักษณ์
กีฬาโอลิมปิกคราวนี้ มีตราสัญลักษณ์สองแบบคือ ตราสัญลักษณ์สำหรับเสนอชื่อประมูล เป็นภาพริบบินคาดเส้น
สีฟ้า สีเหลือง สีดำ สีเขียว และ
สีแดง ที่คดเคี้ยวคล้ายรูปร่างของ
แม่น้ำเทมส์ ทางตะวันออกของกรุงลอนดอน ลอดผ่านตัวอักษรข้อความ “LONDON 2012” ซึ่งออกแบบโดย
คิโน ดีไซน์ (Kino Design) และตราสัญลักษณ์สำหรับการแข่งขันเอง เป็นภาพสื่อแสดงถึง
ตัวเลข 2012 ที่มี
วงแหวนโอลิมปิกอยู่ภายใน
เลขศูนย์[38] ซึ่งออกแบบโดย โวลฟฟ์ โอลินส์ (Wolff Olins) ซึ่งมีการเปิดตัวและส่งมอบ เมื่อวันที่
4 มิถุนายน พ.ศ. 2550 (ค.ศ. 2007)
[39] ทั้งนี้ เป็นครั้งแรกที่ส่วนสำคัญของตราสัญลักษณ์โอลิมปิก และพาราลิมปิกเกมส์จะมีรูปแบบเดียวกัน
[40] โดยสีมาตรฐานคือ ม่วงแดง,
เขียว,
ส้มและ
ฟ้าอย่างไรก็ตาม ตราสัญลักษณ์นี้สามารถรวบรวมสีสันที่หลากหลาย รวมทั้งสีใน
ธงสหภาพ (Union Flag) ด้วยเช่นกัน
[41]
[แก้]ตุ๊กตาสัญลักษณ์
เว็นล็อก (Wenlock) กับ
แมนด์วิลล์ (Mandeville) เป็น
ตุ๊กตาสัญลักษณ์(Mascot) อย่างเป็นทางการของโอลิมปิก และพาราลิมปิกเกมส์ครั้งนี้ โดยมีการเปิดตัวเมื่อ
19 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 (ค.ศ. 2010)
[42] ซึ่งนับเป็นครั้งที่สอง ต่อจากที่
แวนคูเวอร์ของ
แคนาดา ซึ่งมีการเปิดตัวตุ๊กตาสัญลักษณ์ของโอลิมปิก และพาราลิมปิกเกมส์พร้อมกัน ทั้งสองตัวนี้เป็น
แอนิเมชัน ที่สื่อแสดงถึงหยด
เหล็กสองหยาด จากโรงถลุงเหล็กในเมือง
โบลตัน[42]
สำหรับชื่อของทั้งสองตัว คือเว็นล็อก มาจากนามสกุลของ
มัช เว็นล็อก (Much Wenlock) แห่งเมืองซรอปเชียร์ (Shropshire) ผู้บุกเบิกการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกในปัจจุบัน กับแมนด์วิลล์ มาจากนามสกุลของ
สโตก แมนด์วิลล์ (Stoke Mandeville) แห่งเมืองบักกิงแฮมเชียร์ (Buckinghamshire) ผู้บุกเบิกการแข่งขันพาราลิมปิกเกมส์เป็นครั้งแรก
[42]
โดยนักเขียน ไมเคิล มอร์ปูร์โก (Michael Morpurgo) เป็นผู้เขียนแนวคิดของตุ๊กตาสัญลักษณ์คู่นี้ จากนั้นแอนิเมชันก็ประดิษฐ์ขึ้น
[43] โดยตั้งใจจะให้เป็นส่วนหนึ่งของชุดเรื่องราวต่อเนื่อง เกี่ยวกับตุ๊กตาสัญลักษณ์ที่ใช้ในการแข่งขันคราวนี้
[42] ซึ่งมีสองเรื่องคือ “Out Of A Rainbow” ที่จะบอกเล่าความเป็นมา ของเว็นล็อกกับแมนด์วิลล์ และเรื่อง “Adventures On A Rainbow” ซึ่งมีสาระสำคัญอยู่ที่เด็กๆ จากเรื่องแรก มาพบกับตุ๊กตาสัญลักษณ์ทั้งสอง แล้วพากันทดลองเล่นกีฬาต่างๆ ในโอลิมปิกและพาราลิมปิกที่มีมากมาย
[44]
[แก้]เหรียญรางวัล
จำนวนเหรียญรางวัล สำหรับโอลิมปิกและพาราลิมปิกเกมส์ มีประมาณ 4,700 เหรียญ
[45] ผลิตขึ้นโดยโรงกษาปณ์หลวง (The Royal Mint)
[46] และออกแบบโดย เดวิด วัตกินส์ (David Watkins)
[47] มีน้ำหนัก 375-400
กรัม ความหนา 7
มิลลิเมตร ซึ่งสลักชื่อกีฬาและประเภทรุ่นที่ขอบเหรียญ
[48] ตามธรรมเนียมที่สืบทอดมา หน้าเหรียญเป็นภาพ
ไนกี เทพธิดาแห่งชัยชนะของ
กรีก ก้าวย่างจาก
มหาวิหารพาร์เธนอน (Parthenon) ส่วนลักษณะของหลังเหรียญ มีตราสัญลักษณ์การแข่งขัน ลายเส้นโค้งสื่อถึง
แม่น้ำเทมส์ และชุดของเส้นตรง อันมีนัยสื่อถึงพลังของนักกีฬา
[49]
[แก้]เพลงอย่างเป็นทางการ
ฝ่ายประชาสัมพันธ์การแข่งขัน คัดเลือกให้ซิงเกิล “Survival” ที่ออกโดย Muse วงดนตรีสัญชาติอังกฤษ เป็นเพลงอย่างเป็นทางการ ของโอลิมปิกคราวนี้
[50] ซึ่งจะเล่นออกทางเครื่องขยายเสียง เมื่อนักกีฬาเข้าสู่สนาม และช่วงเวลาก่อนพิธีมอบเหรียญรางวัล รวมทั้งนานาประเทศผู้รับสิทธิถ่ายทอดจะเล่น ระหว่างที่รายงานการแข่งขันด้วย
[51]
[แก้]พิธีการ
-
หลังจากการเดินพาเหรดเสร็จสิ้น วง
อาร์คติก มังกี้ส์ ได้ขึ้นแสดงในเพลง I Bet You Look Good on the Dancefloor และ
คัมทูเกตเตอร์ จากนั้นจึงเป็นช่วงพิธีการ โดยลอร์ดเซบาสเตียน โคล ประธานคณะกรรมการจัดการแข่งขัน กล่าวต้อนรับเข้าสู่การแข่งขัน จากนั้น นายฌาคส์ ร็อกก์ ประธานคณะกรรมการโอลิมปิกสากล กล่าวแสดงความยินดีและขอบคุณอาสาสมัครที่ร่วมกันทำงานอย่างแข็งขัน และขอให้นักกีฬาทุกคนแข่งขันด้วยความมีน้ำใจนักกีฬาและไม่ใช้สารกระตุ้น เพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีแก่นักกีฬารุ่นหลังต่อไป จากนั้น สมเด็จพระราชินีนาถแห่งสหราชอาณาจักร มีพระราชดำรัสเปิดการแข่งขันอย่างเป็นทางการ โดย
เซอร์พอล แม็กคาร์ตนีย์ ได้ร่วมแสดง ในช่วงท้ายของพิธีการด้วย
[57]
[แก้]พิธีเชิญคบเพลิง
[แก้]การแข่งขัน
[แก้]ประเทศที่เข้าร่วมการแข่งขัน
แผนที่แสดงจำนวนนักกีฬาที่ร่วมแข่งขัน
คาดหมายว่าจะมี
นักกีฬา ในนาม
คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติจาก 204
ประเทศ เข้าร่วมในกีฬาโอลิมปิกครั้งนี้ โดยคณะกรรมการโอลิมปิกแห่ง
เนเธอร์แลนด์แอนทิลลิส ซึ่งมีโครงการจะดำเนินงานต่อไป หลังการล่มสลายของเนเธอร์แลนด์แอนทิลลิส เมื่อวันที่
10 ตุลาคม พ.ศ. 2553(ค.ศ. 2010) และที่ประชุมคณะกรรมการบริหารไอโอซีครั้งที่ 123 เมื่อเดือน
กรกฎาคม พ.ศ. 2554 (ค.ศ. 2011) ก็มีมติให้เพิกถอนสมาชิกภาพแล้ว อย่างไรก็ตาม นักกีฬาของเนเธอร์แลนด์แอนทิลลิส ซึ่งมีคุณสมบัติเข้าร่วมแข่งขันโอลิมปิกครั้งนี้ ไอโอซีจะอนุญาตให้เข้าร่วมได้อย่างอิสระภายใต้
ธงโอลิมปิก
ณ วันที่
25 มิถุนายน พ.ศ. 2555 มีคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติ ซึ่งนักกีฬามีคุณสมบัติเข้าร่วมแข่งขันอย่างน้อยหนึ่งคน รวมทั้งหมด 197 ประเทศ ดังรายชื่อต่อไปนี้
[แก้]รอตรวจสอบคุณสมบัติ
ณ วันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2555 คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติ ที่ยังรอตรวจสอบคุณสมบัติ เพื่อเข้าร่วมการแข่งขัน มีทั้งหมด 7 ประเทศ ดังรายชื่อต่อไปนี้
[แก้]นักกีฬาทีมชาติไทย
-
คณะนักกีฬาทีมชาติไทย ที่เข้าแข่งขันในคราวนี้ มีทั้งหมด 37 คน จาก 16 ชนิดกีฬาคือ กรีฑา 2 คน, ขี่ม้า 1 คน, จักรยาน 1 คน, เทควันโด 3 คน, แบดมินตัน 6 คน, เทเบิลเทนนิส 1 คน, มวยสากลสมัครเล่น 3 คน, ยกน้ำหนัก 7 คน, ยูโด 1 คน, ยิงธนู 1 คน, ยิงปืน 3 คน, ยิงเป้าบิน 1 คน, เรือใบ 1 คน, เรือพาย 2 คน, ว่ายน้ำ 2 คน และ วินด์เซิร์ฟ 2 คน
[93]
[แก้]ชนิดกีฬาที่แข่งขัน
กรุงลอนดอนเสนอจัดการแข่งขันกีฬา 28 ประเภท เช่นเดียวกับในโอลิมปิกฤดูร้อนที่ผ่านๆมา แต่ไอโอซีลงมติให้ระงับการแข่งขัน
เบสบอลและ
ซอฟต์บอล หลังการคัดเลือกให้กรุงลอนดอนเป็นเมืองเจ้าภาพได้สองวัน ไอโอซียืนยันแข็งขันต่อการตัดสินใจระงับนี้ ระหว่าง
การแข่งขันโอลิมปิกฤดูหนาว เมื่อปี
พ.ศ. 2549 (ค.ศ. 2006) หลังจากการลงคะแนนเพื่อพิจารณาใหม่ล้มเหลว และกำหนดการแข่งขันเป็นที่สุด สำหรับ
โอลิมปิกในปี พ.ศ. 2551 (ค.ศ. 2008) สืบเนื่องจากข้อตกลงในการระงับกีฬาสองประเภทดังกล่าว ไอโอซีเปิดการลงคะแนนว่าจะเลือกกีฬาอื่นมาแทนที่หรือไม่ โดยกีฬาที่นำมาพิจารณาได้แก่
คาราเต้ สควอช กอล์ฟ กีฬาล้อเลื่อน และ
รักบี้เจ็ดคน สองประเภทสุดท้ายที่เสนอขึ้นมาคือคาราเต้และสควอช แต่คะแนนเสียงไม่ถึงสองในสามตามข้อบังคับ
นับเป็นครั้งแรก ที่มีการบรรจุกีฬา
มวยสากลสมัครเล่นหญิงเข้าสู่โปรแกรม ซึ่งมีนักกีฬาร่วมแข่งขัน 36 คนใน 3 รุ่นพิกัดน้ำหนัก และยังมีกฎยกเว้นกรณีพิเศษ เพื่อยินยอมให้
แข่งขันยิงปืนทุกประเภทได้ หากไม่เช่นนั้นจะเป็นความผิด ตาม
กฎหมายอาวุธปืนของสหราชอาณาจักร และแม้จะมีการยกเลิกธรรมเนียมการจัดกีฬาสาธิต ตั้งแต่
โอลิมปิกในปี พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992) การแข่งขันรายการพิเศษสำหรับกีฬาที่ไม่อยู่ในโอลิมปิก สามารถดำเนินไประหว่างการแข่งขันได้ ดังเช่นการแข่งขันรายการ
วูซู ที่โอลิมปิกเมื่อปี พ.ศ. 2551 โดยมีความพยายามจะดำเนินการแข่งขัน รายการ
ทเวนตีคริกเก็ตและ
เน็ตบอล ควบคู่ไปกับการแข่งขันในคราวนี้ แต่โครงการดังกล่าวไม่ประสบความสำเร็จ
ทั้งนี้ ในกีฬาโอลิมปิกคราวนี้ กำหนดการแข่งขันใน 26 ชนิดกีฬา รวมทั้งหมด 39 ประเภทรุ่น และในวงเล็บคือจำนวนเหรียญทองของแต่ละรายการ
[แก้]ปฏิทินกำหนดการแข่งขัน
ตารางกำหนดการแข่งขันอย่างเป็นทางการฉบับสมบูรณ์ เผยแพร่เมื่อวันที่
15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
[94]
(คลิกที่ชื่อกีฬาเพื่อดูรายละเอียดการแข่งขัน)
OC | พิธีเปิดการแข่งขัน | ● | การแข่งขัน | 1 | รอบชิงชนะเลิศ | CC | พิธีปิดการแข่งขัน |