วันพฤหัสบดีที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ประเพณีการเชิดสิงโต



คนจีนโบราณมีความเชื่อว่าสิงโตเป็นบุตรของมังกร ซึ่งมีอำนาจและทรงพลังมากที่สุดในบรรดาบุตรทั้งหมด ได้รับมอบหมายจากสวรรค์ในฐานะผู้พิทักษ์ สิงโตจึงถือเป็น สัญลักษณ์ของพลังอำนาจ ความกล้าหาญ และความจงรักภักดี

      นอกจากนี้ยังเชื่อว่ากันว่าสิงโตเป็นสัตว์เทพเจ้าที่ศักดิ์สิทธิ์ แม้เพียงเสียงคำรามก็สามารถปัดเป่าวิญญาณและสิ่งชั่วร้ายได้ ด้วยเหตุนี้เองชาวจีนจึงนิยมสร้างรูปสลักสิงโตไว้ ตรงหน้าพระราชวัง



       ตามหน้าบ้านหรือสถานที่ต่างๆ เพื่อเป็นองครักษ์ผู้พิทักษ์คอยคุ้มครองป้องกันภยันตราย ภูตผีปีศาจและสิ่งชั่วร้ายต่างๆ โดยจะสร้างสิงโตไว้ตรงหน้าประตู ทางเข้าเป็นคู่ สิงโตตัวผู้จะอยู่ทางด้านขวามือ(ของผู้ที่เดินเข้า)และสิงโตตัวเมียจะอยู่ทางด้านซ้าย

      นอกจากนี้ประเพณีความเชื่อที่สำคัญของจีนซึ่งมีมาแต่ช้านานจนถึงปัจจุบันก็คือประเพณีการเชิดสิงโต ตำนานที่มาของการเชิดสิงโตมีหลากหลายแตกต่างกันมาก ในที่นี้จะ ขอยกเอามาบางส่วนที่เป็นที่ยอมรับกัน

       มีตำนานหนึ่งกล่าวว่าในประเทศจีนสมัยห้าราชวงศ์ในวันตรุษจีน (หรือบางที่ก็ว่าวันไหว้พระจันทร์)จะปรากฏสัตว์ร้ายชื่อว่าเหนียน(Nien) ซึ่งจะคอยทำร้ายผู้คน สัตว์เลี้ยงและทำลายพืชผลไร่นาเสียหาย ผู้คนจึงต้องบวงสรวงต่อเทพเจ้าบนสวรรค์ เง็กเซียนฮ่องเต้จึงส่งเทพสิงโตมาขับไล่เจ้าตัวเหนียนนี่ไป ในวัน ตรุษจีนปีต่อมา เจ้าตัวเหนียนก็กลับมาสร้างความเดือดร้อนอีก

       แต่คราวนี้เทพสิงโตไม่ลงมาช่วยอีกแล้ว และเป็นเช่นนี้ทุกๆปีในวันตรุษจีน ผู้คนจึงต้องร่วมกันแต่งตัวทำเลียนแบบสิงโต จึงสามารถขับไล่ตัวเหนียนไปได้และเกิดเป็น ประเพณีเชิดสิงโตขึ้นมาแต่บางที่กล่าวไว้ว่าตัวเหนียนนั้นมีตัวยาวแปดฟุต ศีรษะใหญ่ มีฟันแหลมคม มีตาเหมือนระฆังทองแดง มีใบหน้าสีเขียว และมีเขาบนศีรษะ เที่ยว ออกทำร้ายผู้คนทุกๆวันตรุษจีน

       ต่อมาพระยูไลได้เสร็จมาปราบพยศตัวเหนียนจนเชื่องและพากลับไปชาวบ้านจึงเฉลิมฉลองและจัดทำการแต่งตัวเลียนแบบท่าทางตัวเหนียนเพื่อบูชาพระยูไล จึงเกิดเป็นการ เชิดสิงโต (พูดง่ายๆว่าสิงโตก็คือตัวเหนียนนั่นแหละ)

       บางตำนานก็ว่าการเชิดสิงโตเริ่มขึ้นในสมัยราชวงศ์ซ้อง แม่ทัพจงอวี่ (Zhong Yue) ยกทัพไปออกรบที่ดินแดนหลินหยี (Lin Yi) ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของจีนแถวๆประเทศลาว และพม่า ข้าศึกชาวพื้นเมืองได้ใช้กองทัพช้างทำให้แม่ทัพจงอวี่ต้องรับศึกหนัก จึงใช้อุบายให้ทหารกองหน้าแต่งตัวเป็นสิงโต กองทัพช้างจึงแตกตื่นและแตกพ่ายไป ประเท ษจีนจึงมีประเพณีเชิดสิงโตเพื่อฉลองชัยชนะ


      แต่มีบางตำนานก็กล่าวไว้เช่นนี้เหมือนกันแต่เป็นสมัยที่ขงเบ้งยกทัพไปปราบเบ้งเฮก และได้ใช้สิงโตปลอมทำลายกองทัพช้างของบกลกไตอ๋อง อีกตำนานที่เป็นที่ยอมรับคือ ในสมัยพระเจ้าถังเม่งหวาง พระองค์ได้สุบินว่าพระองค์แตกทัพ หลงทางตามลำพังอยู่ในป่า

     และได้สิงโตช่วยเหลือนำทางกลับสู่วังหลวง เมื่อตื่นขึ้นมาจึงเรียกราชเลชามาจด ลักษณะสิงโตที่เห็นในความฝัน และได้ให้มีการเชิดสิงโตตั้งแต่นั้นมา แต่ก็มีบางตำนาน กล่าวว่าพระองค์ฝันเห็นสิงโตและเกิดความประทับใจในรูปร่างกิริยาที่สง่างามเท่านั้น

     ประเพณีการเชิดสิงโตยังแบ่งออกเป็นแบบเหนือ(ปักกิ่ง) ซึ่งเลียนแบบท่าทางของสุนัข(ก็เพราะว่าคนจีนไม่เคยเห็นว่าสิงโตจริงแล้วมีท่าทางอย่างไร) รูปข้างล่างเป็นสิงโต สไตล์เหนือ สิงโตแบบใต้จะเลียนแบบท่าทางของแมว ซึ่งยังแบ่งเป็นแบบกวางตุ้งและฮกเกี้ยนด้วย

      นอกจากนี้การเชิดสิงโตแบบใต้ ยังมีการแบ่งประเภทตามสีของหน้าสิงโต ได้แก่สีเหลืองจะหมายถึงเล่าปี่ สีแดงจะหมายถึงกวนอู และสีดำจะหมายถึงเตียวหุย และแบ่งตาม ลักษณะของขนและพู่ 




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น