โอลิมปิกฤดูร้อน 2012
สัญลักษณ์การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2012 | |
เมืองเจ้าภาพ | ลอนดอน, อังกฤษ, สหราชอาณาจักร |
---|---|
คำขวัญ | Inspire a Generation (แรงบันดาลใจของคนรุ่นใหม่) |
จำนวนประเทศ | 197 (มีคุณสมบัติ) 204 (โดยประมาณ) 1 (นักกีฬาอิสระ) |
จำนวนนักกีฬา | 10,490 คน (โดยประมาณ) |
พิธีเปิด | 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 |
พิธีปิด | 12 สิงหาคม พ.ศ. 2555 |
ประธานพิธี | สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร |
สนามกีฬาหลัก | สนามกีฬาโอลิมปิก (ลอนดอน) |
ชนิดกีฬา | 302 รายการใน 26 ชนิดกีฬา |
การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนประจำปี ค.ศ. 2012 หรือ พ.ศ. 2555 (อังกฤษ: 2012 Summer Olympics) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกครั้งที่ 30(อังกฤษ: Games of the XXX Olympiad) จะจัดขึ้นที่กรุงลอนดอนของสหราชอาณาจักร ระหว่างวันศุกร์ที่ 27 กรกฎาคมถึงวันอาทิตย์ที่ 12 สิงหาคม[1] เนื่องจากชนะการประมูลเสนอตัวเป็นเจ้าภาพ ซึ่งนำโดย ลอร์ด เซบาสเตียน โคอ์ (Lord Sebastian Coe) นักกีฬาเหรียญทองโอลิมปิก และ เคนเนธ ลิฟวิงสโตน (Kenneth Livingstone) นายกเทศมนตรีกรุงลอนดอนในขณะนั้น[2]
โดยกรุงลอนดอนกลายเป็นเมืองแรกในโลก ที่เป็นเจ้าภาพจัดแข่งขันโอลิมปิกสมัยใหม่ถึงสามครั้ง[3][4] ซึ่งก่อนหน้านี้ในครั้งที่ 4 (พ.ศ. 2451) และครั้งที่ 14 (พ.ศ. 2491)[5][6]หลังจากนั้น มีการพัฒนาหลายพื้นที่ของกรุงลอนดอน เพื่อรองรับกิจกรรมที่จะจัดขึ้นโดยเฉพาะ เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน และจุดสนใจหลักของการแข่งขัน อยู่ที่อุทยานโอลิมปิกแห่งใหม่ ขนาด 200 เฮกตาร์ ซึ่งสร้างขึ้นภายในนิคมอุตสาหกรรมเก่า ของเมืองสแตรตเฟิร์ด (Stratford) ทางตะวันออกของกรุงลอนดอน โดยการแข่งขันคราวนี้ ยังช่วยส่งเสริมให้มีการใช้สนามแข่งขัน ที่มีอยู่แล้วจำนวนมาก
[แก้]
การเสนอตัวเป็นเจ้าภาพ
[แก้]เมืองที่เสนอตัวเป็นเจ้าภาพ
ท้ายชื่อของแต่ละเมือง กำกับด้วยคะแนนซึ่งได้รับจากการคัดเลือกเป็น 5 เมืองสุดท้าย ซึ่งแสดงด้วยตัวหนา
- ปารีส,ฝรั่งเศส - 8.5 คะแนน
- มาดริด,สเปน - 8.3 คะแนน
- ลอนดอน, สหราชอาณาจักร - 7.6 คะแนน
- นครนิวยอร์ก, สหรัฐอเมริกา - 7.5 คะแนน
- มอสโก, รัสเซีย - 6.5 คะแนน
- ไลป์ซิก, เยอรมนี - 6.0 คะแนน
- ริโอ เดอ จาเนโร, บราซิล - 5.1 คะแนน
- อิสตันบูล, ตุรกี - 4.8 คะแนน
- ฮาวานา, คิวบา - 3.7 คะแนน
[แก้]ผลการลงคะแนนรอบสุดท้าย
การตัดสินลงคะแนนในรอบสุดท้าย มีขึ้นระหว่างการประชุมคณะกรรมการโอลิมปิกสากล ครั้งที่ 117 ที่ประเทศสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 ปรากฏผลตามตารางต่อไปนี้
ผลการตัดสินประเทศเจ้าภาพโอลิมปิกฤดูร้อน 2012 | |||||
---|---|---|---|---|---|
เมือง | ชื่อคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติ | รอบที่ 1 | รอบที่ 2 | รอบที่ 3 | รอบที่ 4 |
ลอนดอน | สหราชอาณาจักร | 22 | 27 | 39 | 54 |
ปารีส | ฝรั่งเศส | 21 | 25 | 33 | 50 |
มาดริด | สเปน | 20 | 32 | 31 | - |
นครนิวยอร์ก | สหรัฐอเมริกา | 19 | 16 | - | - |
มอสโก | รัสเซีย | 15 | - | - | - |
[แก้]การเตรียมความพร้อมและพัฒนาการ
[แก้]สถานที่และโครงสร้างพื้นฐาน
- ดูบทความหลักที่ สนามแข่งขันในโอลิมปิกฤดูร้อน 2012
กีฬาโอลิมปิกและพาราลิมปิกในครั้งนี้ จะผสมผสานกันระหว่าง สถานที่จัดงานซึ่งสร้างขึ้นใหม่ โบราณสถานที่มีอยู่แล้ว และสถานที่ชั่วคราว สำหรับบางส่วนของสถานที่เหล่านี้ ที่รู้จักโดยทั่วไปได้แก่ สวนสาธารณะไฮด์ปาร์ก และการสวนสนามของทหารม้ารักษาพระองค์ สถานที่บางส่วนจะมีการนำกลับมาใช้ใหม่ ขณะที่อย่างอื่นจะปรับขนาดหรือโยกย้าย[7]
สถานที่จัดงานส่วนมาก แบ่งออกเป็นสามเขต ภายในเกรเทอร์ลอนดอน ประกอบด้วย เขตโอลิมปิก เขตแม่น้ำ และเขตกลาง นอกจากนั้นยังมีสถานที่จัดแข่งขัน ที่จำเป็นต้องอยู่รอบนอกเขตเกรเทอร์ลอนดอน อาทิสถาบันเรือใบแห่งชาติเวย์มัธและพอร์ตแลนด์ (Weymouth and Portland National Sailing Academy) บนเกาะแห่งพอร์ตแลนด์ (Isle of Portland) ในเมืองดอร์เซต (Dorset) ซึ่งเป็นสถานที่จัดการแข่งขันเรือใบ อยู่ห่างจากลอนดอนไปทางตะวันตกเฉียงใต้ ประมาณ 125 ไมล์ (200 กิโลเมตร) สำหรับการแข่งขันฟุตบอลจะใช้สนามหลายแห่งทั่วสหราชอาณาจักร[8]
โครงการอุทยานโอลิมปิกลอนดอน (London Olympic Park) ขนาด 500 เอเคอร์ เปิดเผยขึ้นในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2547 (ค.ศ. 2004)[9] มีการอนุมัติให้ออกแบบทำเล เมื่อเดือนกันยายนปีเดียวกัน โดย ทาวเวอร์ ฮัมเล็ทส์, นิวแฮม แฮ็กนีย์ และ วอล์ทแฮม ฟอเรสท์[10] และการก่อสร้างเริ่มขึ้น ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2549 (ค.ศ. 2006)[11] สำหรับหมู่บ้านนักกีฬาในนครพอร์ตแลนด์ เสร็จสมบูรณ์ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2554 (ค.ศ. 2011)[12]
โดยการพัฒนาของอุทยานโอลิมปิกนั้นอาจจะต้องใช้การเวนคืนพื้นที่ด้วย โดยสำนักงานการพัฒนาแห่งกรุงลอนดอนและการรถไฟลอนดอน มีข้อพิพาทกันเกี่ยวกับเรื่องนี้ใน เดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2005 ซึ่งพื้นที่ส่วนหนึ่งที่มีถึง 180 เอเคอร์ เป็นที่ดินของการทางรถไฟสแตรทฟอร์ด รวมไปถึงการสร้างบ้านใหม่ถึง 4,500 หลัง, สำนักงาน, โรงแรม และ ร้านค้า[13] โดยล่าสุดในปีค.ศ. 2011 ศูนย์การค้าที่ใหญ่ที่สุดในทวีปยุโรป ได้ถูกสร้างเสร็จโดย เวสต์ฟิลด์[14] โดยที่ดิน 86% มาจากการเวนคืนพื้นที่ โดยการกระทำนี้นำไปสู่การคำถามต่างๆนานา และในครั้งนั้น มี 206 บริษัทที่ต้องย้ายออกไปใน เดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2007[15] นอกจากนี้ผู้ที่อาศัยอยู่ในฝ่ายต่อต้านการเวนคืนที่ดินกับการขับไล่และความพยายามที่จะหาวิธีที่จะหยุดการกระทำนี้ แต่พวกเขาที่ต้องย้ายออกด้วยการเวนคืนทั้งหมด 94% และที่ดินอื่นๆอีก 6% ซึ่งการเวนคืนใช้เงินทั้งหมด 9 พันล้านปอนด์
[แก้]การขนส่งสาธารณะ
ระบบการเดินทางสาธารณะในลอนดอน ได้คะแนนที่ไม่ค่อยดี ในการประเมินของ IOC อย่างไรก็ตาม ทางสำนักงานการบริหารเมืองของกรุงลอนดอน ก็ได้ปรับปรุงเพื่อต้อนรับการแข่งขันโอลิมปิกครั้งนี้[16]องค์การคมนาคมสำหรับลอนดอน หรือ TfL ได้ดำเนินการปรับปรุงระบบการเดินทางสาธารณะใหม่ทั้งหมดภายในปีพ.ศ. 2555 (ค.ศ. 2012) รวมไปถึงการขยายเส้นทาง รถไฟเหนือดินลอนดอน ในเส้นทางลอนดอนตะวันออก และเพิ่มเส้นทางรถไฟเบาสายดอคแลนดส์ และ การเดินรถไฟทางลอนดอนเหนือ[17]และการนำเข้ารถไฟหัวกระสุนความเร็วสูงที่มีชื่อว่า "จาเวลีน"[18]จากบริษัทฮิตาชิ[19]โดยชานชาลาที่ สถานีรถไฟนานาชาติสแตรทฟอร์ด (ออกแบบมาเพื่อรถไฟยูโรสตาร์) จะถูกนำมาใช้ในเส้นทางของการเดินรถไฟจาเวลีน[20]โดยในเครือข่ายรถไฟทั้งหมด จะเพิ่มการเดินรถ 4,000 ขบวนในช่วงที่มีการแข่งขัน พร้อมทั้งเพิ่มตู้โดยสารในทุกๆวัน[21]
องค์การคมนาคมสำหรับลอนดอน ได้ทำการสร้าง เคเบิลคาร์ ด้วยเงิน 25 ล้านปอนด์ โดยเส้นทางของเคเบิลคาร์จะข้าม แม่น้ำเทมส์ ซึ่งเคเบิลคาร์นี้จะเชื่อมทุกๆสถานที่ในการแข่งขัน[22]โดยจะเปิดใช้ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2555 (ค.ศ. 2012) โดยจะข้าม แม่น้ำเทมส์ ที่ กรีนวิช เพนินซูลา กับ รอยัล ด็อคส์ ซึ่งแต่ละชั่วโมงจะนำผู้โดยสาร 2,500 คน ด้วยความสูงประมาณ 50 เมตรกลางอากาศ มันถูกออกแบบมาเพื่อลดการเดินทางระหว่าง โอทู อารีนา กับ ศูนย์จัดแสดงสินค้าเอ็กซ์เซล ซึ่งเคเบิลคาร์จะให้ข้ามทุกๆ 30 วินาที[23]
โดยการจัดการแผนนี้จะทำให้เหล่านักกีฬา 80% สามารถเดินทางไปแข่งขันได้ในเวลาที่น้อยกว่า 20 นาที[24]และนักกีฬา 93% ที่ใช้เวลาน้อยกว่า 30 นาที[25]โดยบริเวณ อุทยานโอลิมปิกลอนดอน จะเป็นศูนย์รวมของชุมทางรถไฟขนาดใหญ่ถึง 10 สายเข้าด้วยกัน ซึ่งจะมีผู้โดยสารประมาณ 240,000 คนต่อชั่วโมง[26]นอกจากนี้ อีกแผนหนึ่งที่ดำเนินการไปแล้วถึง 90% ซึ่งจะมีทั้งสถานีขนส่งสาธารณะและอื่นๆ[25]ส่วนสองสวนสาธารณะที่จะถูกปิดเพื่อเป็นที่จุรถ 12,000 คันต่อ 25 นาทีจาก อุทยานโอลิมปิกลอนดอน และสามารถที่จะจุผู้คนถึง 9,000 คนเพื่อที่จะขึ้นรถบัสในทุกๆ 10 นาที[25] และการวางแผนสวนสาธารณะนี้จะอยู่ใกล้กับ แม่น้ำเทมส์ และสามารถเชื่อมต่อไปยังสนามแข่งเรือพายได้[27] และในถนนบางแห่งจะปิดบางช่องทางการจราจรเพื่อที่จะเป็นช่องทางการเดินรถสำหรับแขกวีไอพีและนักกีฬา[28][29]
[แก้]การกระจายเสียงและแพร่ภาพ
- ดูเพิ่มที่ ศูนย์สื่อมวลชนโอลิมปิกลอนดอน
โอลิมปิกที่จัดขึ้นในปีนี้ ใช้เทคโนโลยีดิจิตอล “ดีวีซีโปร-เอชดี” ของพานาโซนิก เป็นระบบการบันทึกวิดีทัศน์การแข่งขันอย่างเป็นทางการ ซึ่งเข้ารับภารกิจดังกล่าวเป็นครั้งที่ 10 ติดต่อกัน (นับรวมทั้งโอลิมปิกฤดูร้อนและโอลิมปิกฤดูหนาว) เริ่มตั้งแต่การแข่งขันที่บาร์เซโลนาของสเปนเมื่อปี พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992) โดยศูนย์กระจายเสียงแพร่ภาพนานาชาติ(International Broadcast Centre; IBC) ภายในสวนโอลิมปิกลอนดอน เป็นหน่วยงานหลักในการผลิตและเผยแพร่ วิดีทัศน์ระหว่างประเทศอย่างเป็นทางการ ด้วยระบบภาพละเอียดสูง 1080/50ไอ
สำหรับหน่วยบริการกระจายเสียงแพร่ภาพโอลิมปิกในลอนดอน(Olympic Broadcasting Services London; OBSL) ซึ่งเป็นเจ้าภาพในการกระจายเสียงและแพร่ภาพ จะใช้อุปกรณ์ชุด “เอชดี-พี2” เพื่อสนับสนุนการกระจายเสียงและแพร่ภาพการแข่งขัน และใช้กล้องวิดีทัศน์พกพารุ่น “เอจี-เอชพีเอ็กซ์ 250” ซึ่งบันทึกภาพด้วยระบบ “เอวีซี-อินทรา” และผลิตโดยบริษัทเดียวกับ “เอชดี-พี2” เป็นตัวแรก กับกล้องวิดีทัศน์พกพาระบบ “เอวีซีแคม เอชดี” สองรุ่นใหม่คือ “เอจี-เอซี160” และ “เอจี-เอซี130” ด้วยมุมมองภาพละเอียดสูง และเลนส์ซูมรุ่นใหม่ ความละเอียดสูง 21 เท่าซึ่งกว้างกว่าเดิม[30]
การแข่งขันคราวนี้กำหนดการกระจายเสียงแพร่ภาพ ไปยังบรรดาผู้รับสิทธิถ่ายทอดแต่ละภูมิภาคตามสิทธิซึ่งไอโอซีกำหนด ให้สามารถถ่ายทอดโทรทัศน์ภาคพื้นดินเป็นวงกว้างไปทั่วโลก โดยมีบรรษัทการกระจายเสียงและแพร่ภาพแห่งบริเตน (British Broadcasting Corporation; BBC) เป็นแม่ข่ายสำหรับโอลิมปิก ซึ่งวางเป้าหมายในการถ่ายทอด การแข่งขันครั้งนี้ผ่านช่องทางต่างๆ เป็นเวลารวม 5,000 ชั่วโมง[31] ส่วนโทรทัศน์ช่อง 4แห่งบริเตนใหญ่ เป็นแม่ข่ายสำหรับพาราลิมปิก และสำหรับในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ไอโอซีทำข้อตกลงกับยูทูบเพื่อเป็นผู้ถ่ายทอดสดการแข่งขันไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลก ผ่านช่องโทรทัศน์ของไอโอซี ซึ่งอยู่ในเว็บไซต์ของตน รวมถึงแอพพลิเคชันยูทูบในสมาร์ตโฟน และของเอ็กซ์บ็อกซ์ไลฟว์ด้วย[32]
ทั้งนี้ การถ่ายทอดโทรทัศน์ในกีฬาโอลิมปิกที่ดำเนินอยู่ในปัจจุบัน ริเริ่มขึ้นโดยหน่วยบริการกระจายเสียงแพร่ภาพโอลิมปิก (Olympic Broadcasting Services; OBS) ซึ่งปัจจุบัน บริษัทการกระจายเสียงและแพร่ภาพแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (National Broadcasting Corporation; NBC) ถือสิทธิเป็นเจ้าของโดยการถือหุ้นใหญ่ จึงมีส่วนแบ่งรายได้กับไอโอซีเกินกึ่งหนึ่ง[33] ทุกวันนี้ ผู้ได้รับสิทธิถ่ายทอดการแข่งขัน มักส่งเจ้าหน้าที่ของตนเข้าปฏิบัติงาน ในพื้นที่แบ่งส่วนของศูนย์กระจายเสียงแพร่ภาพนานาชาติ (ไอบีซี) ของการแข่งขันแต่ละครั้ง โดยเริ่มปรากฏในโอลิมปิกฤดูหนาวครั้งที่ 15 ที่เมืองคัลการีของแคนาดาในปี พ.ศ. 2531 (ค.ศ. 1988)
[แก้]อาสาสมัคร
ผู้สร้างสรรค์การแข่งขัน (Game Maker)[34] เป็นชื่อที่รู้จักทั่วไป ของอาสาสมัครที่ไม่มีการจ้าง ซึ่งจะปฏิบัติงานอย่างหลากหลาย ทั้งช่วงก่อนและระหว่างการแข่งขัน โดยในช่วงต้นปี พ.ศ. 2547 (ค.ศ. 2004) ตั้งเป้าว่าจะมีอาสาสมัคร 70,000 คน[35] แต่เมื่อเปิดรับสมัครในปี พ.ศ. 2553 (ค.ศ. 2010) กลับมีผู้ได้รับคัดเลือกถึง 240,000 คน[36] ซึ่งผู้สร้างสรรค์การแข่งขันเหล่านี้ จะปฏิบัติงานอาสาสมัคร เป็นเวลารวมประมาณ 8 ล้านชั่วโมงระหว่างการแข่งขัน ซึ่งไม่อาจเกิดขึ้นโดยสะดวก หากปราศจากบุคคลกลุ่มนี้[37]
[แก้]สัญลักษณ์การแข่งขัน
[แก้]ตราสัญลักษณ์
กีฬาโอลิมปิกคราวนี้ มีตราสัญลักษณ์สองแบบคือ ตราสัญลักษณ์สำหรับเสนอชื่อประมูล เป็นภาพริบบินคาดเส้นสีฟ้า สีเหลือง สีดำ สีเขียว และสีแดง ที่คดเคี้ยวคล้ายรูปร่างของแม่น้ำเทมส์ ทางตะวันออกของกรุงลอนดอน ลอดผ่านตัวอักษรข้อความ “LONDON 2012” ซึ่งออกแบบโดย คิโน ดีไซน์ (Kino Design) และตราสัญลักษณ์สำหรับการแข่งขันเอง เป็นภาพสื่อแสดงถึงตัวเลข 2012 ที่มีวงแหวนโอลิมปิกอยู่ภายในเลขศูนย์[38] ซึ่งออกแบบโดย โวลฟฟ์ โอลินส์ (Wolff Olins) ซึ่งมีการเปิดตัวและส่งมอบ เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2550 (ค.ศ. 2007)[39] ทั้งนี้ เป็นครั้งแรกที่ส่วนสำคัญของตราสัญลักษณ์โอลิมปิก และพาราลิมปิกเกมส์จะมีรูปแบบเดียวกัน[40] โดยสีมาตรฐานคือ ม่วงแดง, เขียว, ส้มและฟ้าอย่างไรก็ตาม ตราสัญลักษณ์นี้สามารถรวบรวมสีสันที่หลากหลาย รวมทั้งสีในธงสหภาพ (Union Flag) ด้วยเช่นกัน[41]
[แก้]ตุ๊กตาสัญลักษณ์
เว็นล็อก (Wenlock) กับ แมนด์วิลล์ (Mandeville) เป็นตุ๊กตาสัญลักษณ์(Mascot) อย่างเป็นทางการของโอลิมปิก และพาราลิมปิกเกมส์ครั้งนี้ โดยมีการเปิดตัวเมื่อ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 (ค.ศ. 2010)[42] ซึ่งนับเป็นครั้งที่สอง ต่อจากที่แวนคูเวอร์ของแคนาดา ซึ่งมีการเปิดตัวตุ๊กตาสัญลักษณ์ของโอลิมปิก และพาราลิมปิกเกมส์พร้อมกัน ทั้งสองตัวนี้เป็นแอนิเมชัน ที่สื่อแสดงถึงหยดเหล็กสองหยาด จากโรงถลุงเหล็กในเมืองโบลตัน[42]
สำหรับชื่อของทั้งสองตัว คือเว็นล็อก มาจากนามสกุลของ มัช เว็นล็อก (Much Wenlock) แห่งเมืองซรอปเชียร์ (Shropshire) ผู้บุกเบิกการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกในปัจจุบัน กับแมนด์วิลล์ มาจากนามสกุลของ สโตก แมนด์วิลล์ (Stoke Mandeville) แห่งเมืองบักกิงแฮมเชียร์ (Buckinghamshire) ผู้บุกเบิกการแข่งขันพาราลิมปิกเกมส์เป็นครั้งแรก[42]
โดยนักเขียน ไมเคิล มอร์ปูร์โก (Michael Morpurgo) เป็นผู้เขียนแนวคิดของตุ๊กตาสัญลักษณ์คู่นี้ จากนั้นแอนิเมชันก็ประดิษฐ์ขึ้น[43] โดยตั้งใจจะให้เป็นส่วนหนึ่งของชุดเรื่องราวต่อเนื่อง เกี่ยวกับตุ๊กตาสัญลักษณ์ที่ใช้ในการแข่งขันคราวนี้[42] ซึ่งมีสองเรื่องคือ “Out Of A Rainbow” ที่จะบอกเล่าความเป็นมา ของเว็นล็อกกับแมนด์วิลล์ และเรื่อง “Adventures On A Rainbow” ซึ่งมีสาระสำคัญอยู่ที่เด็กๆ จากเรื่องแรก มาพบกับตุ๊กตาสัญลักษณ์ทั้งสอง แล้วพากันทดลองเล่นกีฬาต่างๆ ในโอลิมปิกและพาราลิมปิกที่มีมากมาย[44]
[แก้]เหรียญรางวัล
จำนวนเหรียญรางวัล สำหรับโอลิมปิกและพาราลิมปิกเกมส์ มีประมาณ 4,700 เหรียญ[45] ผลิตขึ้นโดยโรงกษาปณ์หลวง (The Royal Mint)[46] และออกแบบโดย เดวิด วัตกินส์ (David Watkins)[47] มีน้ำหนัก 375-400กรัม ความหนา 7 มิลลิเมตร ซึ่งสลักชื่อกีฬาและประเภทรุ่นที่ขอบเหรียญ[48] ตามธรรมเนียมที่สืบทอดมา หน้าเหรียญเป็นภาพไนกี เทพธิดาแห่งชัยชนะของกรีก ก้าวย่างจากมหาวิหารพาร์เธนอน (Parthenon) ส่วนลักษณะของหลังเหรียญ มีตราสัญลักษณ์การแข่งขัน ลายเส้นโค้งสื่อถึงแม่น้ำเทมส์ และชุดของเส้นตรง อันมีนัยสื่อถึงพลังของนักกีฬา[49]
[แก้]เพลงอย่างเป็นทางการ
ฝ่ายประชาสัมพันธ์การแข่งขัน คัดเลือกให้ซิงเกิล “Survival” ที่ออกโดย Muse วงดนตรีสัญชาติอังกฤษ เป็นเพลงอย่างเป็นทางการ ของโอลิมปิกคราวนี้[50] ซึ่งจะเล่นออกทางเครื่องขยายเสียง เมื่อนักกีฬาเข้าสู่สนาม และช่วงเวลาก่อนพิธีมอบเหรียญรางวัล รวมทั้งนานาประเทศผู้รับสิทธิถ่ายทอดจะเล่น ระหว่างที่รายงานการแข่งขันด้วย[51]
[แก้]พิธีการ
- ดูเพิ่มที่ พิธีเปิดโอลิมปิกฤดูร้อน 2012
พิธีเปิดการแข่งขัน จัดขึ้นในวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 โดยใช้แนวคิด "เกาะมหัศจรรย์" (The Isles of Wonder)[52] ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากวรรณกรรม "เดอะ เทมเปสต์" ของวิลเลียม เชกสเปียร์โดยในการแสดงในพิธีเปิดจะปรับสภาพสนามให้เป็นชนบทอังกฤษ มีชาวบ้านปิกนิกและนั่งชมกีฬา และมีการจำลองเนินเขาแกลสตันบูรี ซึ่งเป็นสถานที่จัดเทศกาลดนตรีและศิลปะที่มีชื่อเสียง ใช้นักแสดงประมาณ 10,000 คน ซึ่งรวมถึงนักกีฬาผู้มีชื่อเสียง เช่น มูฮัมหมัด อาลีเดวิด เบคแคม นาเดีย โคมานิชี ไมเคิล จอร์แดน ไมเคิล เฟ็ลปส์เป็นต้น โดยแดนนี บอยล์ ผู้กำกับภาพยนตร์รางวัลออสการ์จากภาพยนตร์เรื่อง สลัมด็อก มิลเลียนแนร์ คำตอบสุดท้าย...อยู่ที่หัวใจ เป็นผู้กำกับฝ่ายศิลป์[53] ส่วนริค สมิธ (Rick Smith) กับ ฆาร์ล ไฮด์ (Karl Hyde) ดูโอของวงดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ “อันเดอร์เวิลด์” (Underworld) เป็นผู้กำกับดนตรี[54]
สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร และเจ้าชายฟิลิป ดยุคแห่งเอดินเบิร์ก เสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นองค์ประธาน[55] ในการนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรพิธีเปิด ตามคำกราบบังคมทูลเชิญของคณะกรรมการจัดการแข่งขัน[ต้องการอ้างอิง] โดยระหว่างการถ่ายทอดพิธีการทางโทรทัศน์ มีการฉายภาพยนตร์สั้นเกี่ยวกับ “สายลับเจมส์ บอนด์” (James Bond) นำแสดงโดย แดเนียล เคร็ก(Daniel Craig) เนื้อเรื่องเป็นการเดินทางของเจมส์บอนด์เพื่อกราบบังคมทูลเชิญสมเด็จพระราชินีนาถแห่งสหราชอาณาจักรเข้าสู่สนามกีฬา[56]
การแสดงในพิธีเปิดนั้นเป็นการเล่าเรื่องราวของสหราชอาณาจักรตั้งแต่ยุคเกษตรกรรม ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม มาจนถึงยุคดนตรีและศิลปะอังกฤษเฟื่องฟู โดยผู้มีชื่อเสียงที่ร่วมแสดง ได้แก่ เคเน็ต แบรนาต์ เจ. เค. โรว์ลิงเจ้าของวรรณกรรม แฮร์รี่ พอตเตอร์ โรวัน แอตคินสัน นักแสดงตลกผู้มีชื่อเสียงจากการรับบท มิสเตอร์บีนและเซอร์ทิม เบอร์เนิร์ส-ลี ผู้คิดค้นเวิลด์ไวด์เว็บ ซึ่งเป็นชาวลอนดอนโดยกำเนิด ส่วนในช่วงการเดินพาเหรดนักกีฬานั้น นอกจากจะมีผู้เชิญป้ายและนักกีฬาถือธงชาติแล้ว ยังมีเด็กถือถ้วยทองแดงสลักชื่อประเทศเพื่อนำไปประกอบเป็นคบเพลิงอีกด้วย สำหรับนักกีฬาถือธงชาติที่มีชื่อเสียง อาทิ ยูเซน โบลต์ นักกรีฑาเจ้าของเหรียญทองโอลิมปิกจากจาไมกา นอวัก จอคอวิช นักเทนนิสชายมือวางอันดับสองของโลกจาก เซอร์เบีย มาเรีย ชาราโปวา นักเทนนิสหญิงมือวางอันดับหนึ่งของโลกจากรัสเซีย เป็นต้น ในส่วนของขบวนนักกีฬาไทย ณัฐพงษ์ เกตุอินทร์ เป็นผู้ถือธงชาติ ส่วนเซอร์ คริส ฮอย นักจักรยานเจ้าของ 3 เหรียญทองโอลิมปิกในการแข่งขันที่ประเทศจีน เป็นผู้เชิญธงสหราชอาณาจักร
หลังจากการเดินพาเหรดเสร็จสิ้น วงอาร์คติก มังกี้ส์ ได้ขึ้นแสดงในเพลง I Bet You Look Good on the Dancefloor และ คัมทูเกตเตอร์ จากนั้นจึงเป็นช่วงพิธีการ โดยลอร์ดเซบาสเตียน โคล ประธานคณะกรรมการจัดการแข่งขัน กล่าวต้อนรับเข้าสู่การแข่งขัน จากนั้น นายฌาคส์ ร็อกก์ ประธานคณะกรรมการโอลิมปิกสากล กล่าวแสดงความยินดีและขอบคุณอาสาสมัครที่ร่วมกันทำงานอย่างแข็งขัน และขอให้นักกีฬาทุกคนแข่งขันด้วยความมีน้ำใจนักกีฬาและไม่ใช้สารกระตุ้น เพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีแก่นักกีฬารุ่นหลังต่อไป จากนั้น สมเด็จพระราชินีนาถแห่งสหราชอาณาจักร มีพระราชดำรัสเปิดการแข่งขันอย่างเป็นทางการ โดย เซอร์พอล แม็กคาร์ตนีย์ ได้ร่วมแสดง ในช่วงท้ายของพิธีการด้วย[57]
สำหรับพิธีปิดการแข่งขัน จะจัดขึ้นในวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2555 ซึ่งประกอบด้วยพิธีส่งมอบธงโอลิมปิกจากนายกเทศมนตรีของกรุงลอนดอน ไปยังนายกเทศมนตรีกรุงรีโอเดจาเนโรของบราซิล ซึ่งจะเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกครั้งต่อไปในปี พ.ศ. 2559 (ค.ศ. 2016)[58]
[แก้]พิธีเชิญคบเพลิง
การวิ่งคบเพลิงโอลิมปิก มีขึ้นระหว่างวันที่ 19 พฤษภาคม ถึง 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 (ค.ศ. 2012) การคัดเลือกผู้เชิญคบเพลิงมีขึ้นใช่วงปี พ.ศ. 2553 - 2554 ด้วย ซึ่งประกาศผลเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 (ค.ศ. 2011)[59] โดยไฟฤกษ์โอลิมปิกเดินทางมาจากกรีซ เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2555[60] การวิ่งคบเพลิงใช้เวลา 70 วัน โดยมีงานฉลอง 66 ครั้ง และการเยือนเกาะ 6 แห่ง ซึ่งมีผู้เชิญคบเพลิง 8,000 คน เป็นระยะทางประมาณ 8,000 ไมล์ (12,800 กิโลเมตร) เริ่มต้นที่แลนดส์เอ็นด์ในคอร์นวอลล์[61] ทั้งนี้จะมีหนึ่งวันที่คบเพลิงจะออกนอกสหราชอาณาจักร เมื่อไปเยือนกรุงดับลิน ของสาธารณรัฐไอร์แลนด์ ในวันที่ 6 มิถุนายน[62]
[แก้]การแข่งขัน
[แก้]ประเทศที่เข้าร่วมการแข่งขัน
คาดหมายว่าจะมีนักกีฬา ในนามคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติจาก 204 ประเทศ เข้าร่วมในกีฬาโอลิมปิกครั้งนี้ โดยคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งเนเธอร์แลนด์แอนทิลลิส ซึ่งมีโครงการจะดำเนินงานต่อไป หลังการล่มสลายของเนเธอร์แลนด์แอนทิลลิส เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2553(ค.ศ. 2010) และที่ประชุมคณะกรรมการบริหารไอโอซีครั้งที่ 123 เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2554 (ค.ศ. 2011) ก็มีมติให้เพิกถอนสมาชิกภาพแล้ว อย่างไรก็ตาม นักกีฬาของเนเธอร์แลนด์แอนทิลลิส ซึ่งมีคุณสมบัติเข้าร่วมแข่งขันโอลิมปิกครั้งนี้ ไอโอซีจะอนุญาตให้เข้าร่วมได้อย่างอิสระภายใต้ธงโอลิมปิก
ณ วันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2555 มีคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติ ซึ่งนักกีฬามีคุณสมบัติเข้าร่วมแข่งขันอย่างน้อยหนึ่งคน รวมทั้งหมด 197 ประเทศ ดังรายชื่อต่อไปนี้
[แก้]รอตรวจสอบคุณสมบัติ
ณ วันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2555 คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติ ที่ยังรอตรวจสอบคุณสมบัติ เพื่อเข้าร่วมการแข่งขัน มีทั้งหมด 7 ประเทศ ดังรายชื่อต่อไปนี้
[แก้]นักกีฬาทีมชาติไทย
- ดูบทความหลักที่ ประเทศไทยในโอลิมปิกฤดูร้อน 2012
คณะนักกีฬาทีมชาติไทย ที่เข้าแข่งขันในคราวนี้ มีทั้งหมด 37 คน จาก 16 ชนิดกีฬาคือ กรีฑา 2 คน, ขี่ม้า 1 คน, จักรยาน 1 คน, เทควันโด 3 คน, แบดมินตัน 6 คน, เทเบิลเทนนิส 1 คน, มวยสากลสมัครเล่น 3 คน, ยกน้ำหนัก 7 คน, ยูโด 1 คน, ยิงธนู 1 คน, ยิงปืน 3 คน, ยิงเป้าบิน 1 คน, เรือใบ 1 คน, เรือพาย 2 คน, ว่ายน้ำ 2 คน และ วินด์เซิร์ฟ 2 คน[93]
[แก้]ชนิดกีฬาที่แข่งขัน
กรุงลอนดอนเสนอจัดการแข่งขันกีฬา 28 ประเภท เช่นเดียวกับในโอลิมปิกฤดูร้อนที่ผ่านๆมา แต่ไอโอซีลงมติให้ระงับการแข่งขันเบสบอลและซอฟต์บอล หลังการคัดเลือกให้กรุงลอนดอนเป็นเมืองเจ้าภาพได้สองวัน ไอโอซียืนยันแข็งขันต่อการตัดสินใจระงับนี้ ระหว่างการแข่งขันโอลิมปิกฤดูหนาว เมื่อปี พ.ศ. 2549 (ค.ศ. 2006) หลังจากการลงคะแนนเพื่อพิจารณาใหม่ล้มเหลว และกำหนดการแข่งขันเป็นที่สุด สำหรับโอลิมปิกในปี พ.ศ. 2551 (ค.ศ. 2008) สืบเนื่องจากข้อตกลงในการระงับกีฬาสองประเภทดังกล่าว ไอโอซีเปิดการลงคะแนนว่าจะเลือกกีฬาอื่นมาแทนที่หรือไม่ โดยกีฬาที่นำมาพิจารณาได้แก่ คาราเต้ สควอช กอล์ฟ กีฬาล้อเลื่อน และ รักบี้เจ็ดคน สองประเภทสุดท้ายที่เสนอขึ้นมาคือคาราเต้และสควอช แต่คะแนนเสียงไม่ถึงสองในสามตามข้อบังคับ
นับเป็นครั้งแรก ที่มีการบรรจุกีฬามวยสากลสมัครเล่นหญิงเข้าสู่โปรแกรม ซึ่งมีนักกีฬาร่วมแข่งขัน 36 คนใน 3 รุ่นพิกัดน้ำหนัก และยังมีกฎยกเว้นกรณีพิเศษ เพื่อยินยอมให้แข่งขันยิงปืนทุกประเภทได้ หากไม่เช่นนั้นจะเป็นความผิด ตามกฎหมายอาวุธปืนของสหราชอาณาจักร และแม้จะมีการยกเลิกธรรมเนียมการจัดกีฬาสาธิต ตั้งแต่โอลิมปิกในปี พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992) การแข่งขันรายการพิเศษสำหรับกีฬาที่ไม่อยู่ในโอลิมปิก สามารถดำเนินไประหว่างการแข่งขันได้ ดังเช่นการแข่งขันรายการวูซู ที่โอลิมปิกเมื่อปี พ.ศ. 2551 โดยมีความพยายามจะดำเนินการแข่งขัน รายการทเวนตีคริกเก็ตและเน็ตบอล ควบคู่ไปกับการแข่งขันในคราวนี้ แต่โครงการดังกล่าวไม่ประสบความสำเร็จ
ทั้งนี้ ในกีฬาโอลิมปิกคราวนี้ กำหนดการแข่งขันใน 26 ชนิดกีฬา รวมทั้งหมด 39 ประเภทรุ่น และในวงเล็บคือจำนวนเหรียญทองของแต่ละรายการ
|
|
|
[แก้]ปฏิทินกำหนดการแข่งขัน
ตารางกำหนดการแข่งขันอย่างเป็นทางการฉบับสมบูรณ์ เผยแพร่เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554[94]
(คลิกที่ชื่อกีฬาเพื่อดูรายละเอียดการแข่งขัน)
OC | พิธีเปิดการแข่งขัน | ● | การแข่งขัน | 1 | รอบชิงชนะเลิศ | CC | พิธีปิดการแข่งขัน |
กรกฎาคม / สิงหาคม | 25 พ. | 26 พฤ. | 27 ศ. | 28 ส. | 29 อา. | 30 จ. | 31 อ. | 1 พ. | 2 พฤ. | 3 ศ. | 4 ส. | 5 อา. | 6 จ. | 7 อ. | 8 พ. | 9 พฤ. | 10 ศ. | 11 ส. | 12 อา. | การแข่งขัน |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
พิธีการ | OC | CC | ||||||||||||||||||
ยิงธนู | ● | 1 | 1 | ● | ● | ● | 1 | 1 | 4 | |||||||||||
กรีฑา | 2 | 5 | 7 | 5 | 4 | 4 | 5 | 6 | 8 | 1 | 47 | |||||||||
แบดมินตัน | ● | ● | ● | ● | ● | ● | 1 | 2 | 2 | 5 | ||||||||||
บาสเกตบอล | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | 1 | 1 | 2 | |||
มวยสากลสมัครเล่น | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | 3 | ● | 5 | 5 | 13 | |||
แคนู | ● | ● | 1 | 1 | 2 | ● | ● | 4 | 4 | ● | 4 | 16 | ||||||||
จักรยาน | 1 | 1 | 2 | 2 | 2 | 1 | 1 | 1 | 3 | ● | ● | 2 | 1 | 1 | 18 | |||||
กระโดดน้ำ | 1 | 1 | 1 | 1 | ● | ● | 1 | ● | 1 | ● | 1 | ● | 1 | 8 | ||||||
ขี่ม้า | ● | ● | ● | 2 | ● | ● | ● | ● | 1 | 1 | 2 | 6 | ||||||||
ฟันดาบ | 1 | 1 | 1 | 1 | 2 | 1 | 1 | 1 | 1 | 10 | ||||||||||
ฮอกกี้ | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | 1 | 1 | 2 | |||||
ฟุตบอล | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | 1 | ● | 1 | 2 | ||||||
ยิมนาสติก | ● | ● | 1 | 1 | 1 | 1 | 1 | 1 | 3 | 3 | 4 | ● | ● | 1 | 1 | 18 | ||||
แฮนด์บอล | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | 1 | 1 | 2 | |||
ยูโด | 2 | 2 | 2 | 2 | 2 | 2 | 2 | 14 | ||||||||||||
ปัญจกีฬาสมัยใหม่ | 1 | 1 | 2 | |||||||||||||||||
เรือพาย | ● | ● | ● | ● | 3 | 3 | 4 | 4 | 14 | |||||||||||
เรือใบ | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | 2 | 2 | 2 | 1 | 1 | 1 | 1 | 10 | |||||
ยิงปืน | 2 | 2 | 1 | 1 | 1 | 1 | 2 | 2 | 1 | 2 | 15 | |||||||||
ว่ายน้ำ | 4 | 4 | 4 | 4 | 4 | 4 | 4 | 4 | 1 | 1 | 34 | |||||||||
ระบำใต้น้ำ | ● | ● | 1 | ● | 1 | 2 | ||||||||||||||
เทเบิลเทนนิส | ● | ● | ● | ● | 1 | 1 | ● | ● | ● | ● | 1 | 1 | 4 | |||||||
เทควันโด | 2 | 2 | 2 | 2 | 8 | |||||||||||||||
เทนนิส | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | 2 | 3 | 5 | ||||||||||
ไตรกีฬา | 1 | 1 | 2 | |||||||||||||||||
วอลเลย์บอล | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | 1 | 1 | ● | 1 | 1 | 4 | |||
โปโลน้ำ | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | 1 | ● | 1 | 2 | |||||
ยกน้ำหนัก | 1 | 2 | 2 | 2 | 2 | 2 | 1 | 1 | 1 | 1 | 15 | |||||||||
มวยปล้ำ | 2 | 3 | 2 | 2 | 2 | 2 | 3 | 2 | 18 | |||||||||||
การแข่งขันทั้งหมด | 12 | 14 | 12 | 15 | 20 | 18 | 22 | 25 | 23 | 18 | 21 | 17 | 22 | 16 | 32 | 15 | 302 | |||
รวมการสะสมจากวันก่อน | 12 | 26 | 38 | 53 | 73 | 91 | 113 | 138 | 161 | 179 | 200 | 217 | 239 | 255 | 287 | 302 | ||||
กรกฎาคม / สิงหาคม | 25 พ. | 26 พฤ. | 27 ศ. | 28 ส. | 29 อา. | 30 จ. | 31 อ. | 1 พ. | 2 พฤ. | 3 ศ. | 4 ส. | 5 อา. | 6 จ. | 7 อ. | 8 พ. | 9 พฤ. | 10 ศ. | 11 ส. | 12 อา. | การแข่งขัน |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น