วันอาทิตย์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

คอคอดกระ




คอคอดกระ is located in Thailand
คอคอดกระ
ตำแหน่งของคอคอดกระ
สภาพพื้นที่คอคอดกระ (เบื้องหลังเป็นเทือกเขาตะนาวศรี)
แผนที่แสดงจุดที่ตั้งของคอคอดกระ ซึ่งเป็นจุดที่นักท่องเที่ยว นิยมถ่ายรูปเป็นที่ระลึกมากแห่งหนึ่งของ จังหวัดระนอง และใกล้ ๆ แผ่นป้ายคอนกรีตดังกล่าว ยังสามารถชมทิวทัศน์ของแม่น้ำกระบุรี ซึ่งแบ่งพรมแดน ไทย-พม่าได้อย่างชัดเจน
คอคอดกระ หรือ กิ่วกระ เป็นส่วนที่แคบที่สุดของแหลมมลายูอยู่ในเขตบ้านทับหลี ตำบลมะมุอำเภอกระบุรี จังหวัดระนอง กับ อำเภอสวี จังหวัดชุมพร ประมาณกิโลเมตรที่ 545 ของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 ห่างจากเขตเทศบาลเมือง 66 กิโลเมตร ในบริเวณนี้มีแผ่นป้ายคอนกรีตขนาดใหญ่จำลอง
คอคอดกระ มีระยะทางจากฝั่งทะเลตะวันตกจรดฝั่งตะวันออกกว้างเพียง 50 กิโลเมตร พื้นที่ส่วนนี้นับเป็นยุทธศาสตร์สำคัญ ที่ได้รับความสนใจตั้งแต่ในสมัยพระนารายณ์มหาราช ในการที่จะขุดคลองตัดผ่านจนกระทั่งถึงรัชกาลที่ 4 ฝรั่งเศสคิดจะขุดคอคอดกระเพื่อร่นระยะทางในการเดินเรือจากฝั่งทะเลอันดามันข้ามมายังฝั่งอ่าวไทย โดยไม่ต้องอ้อมไปทางแหลมมลายู แต่เนื่องด้วยความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับอังกฤษที่เป็นเจ้าของกิจการท่าเรือในปีนังและสิงคโปร์โครงการนี้จึงระงับไป[ต้องการอ้างอิง]
ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สองในสนธิสัญญาสมบูรณ์แบบไทยยินยอมที่จะไม่ขุดคลองคอคอดกระหากไม่ได้รับความยินยอมจากอังกฤษก่อน[ต้องการอ้างอิง]ปรีดี พนมยงค์ได้เสนอให้ขุดคลอง เมื่อ กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2501[1] แต่ยังคงไม่มีการขุดคลองแต่อย่างใดจวบจนปัจจุบัน ซึ่งมีหลายเหตุผลคัดค้านรวมถึงไม่ต้องการให้ประเทศแยกออกเป็นสองส่วน[ต้องการอ้างอิง]ผนวกกับ ประเทศสิงคโปร์กลัวจะเสียผลประโยชน์ด้วย[ต้องการอ้างอิง]
ใน พ.ศ. 2544 วุฒิสภาได้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการขุดคอคอดกระ ผลการศึกษาที่รายงานต่อที่ประชุมมีสาระสำคัญให้เรียกชื่อคลองว่า "คลองไทย" และบริเวณที่ขุดมิใช่คอคอดกระ เนื่องด้วยเหตุผลทางวิศวกรรมศาสตร์ อันได้แก่สภาพพื้นที่ที่ต้องขุดที่คอคอดกระนั้นเป็นหินและภูเขา และความมั่นคงเนื่องจากบริเวณคอคอดกระอยู่ที่ชายแดนพม่าปากแม่น้ำกระบุรี บริเวณที่วุฒิสภาเห็นว่ามีความเป็นไปได้และเกิดประโยชน์สูงสุดในการขุดคลองไทย คือ เส้นทาง 9A ผ่านจังหวัดกระบี่ ตรัง พัทลุง นครศรีธรรมราช และสงขลา ระยะทาง 120 กิโลเมตร[ต้องการอ้างอิง]

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น