วันอังคารที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ASEAN

คำขวัญ
 "One Vision, One Identity, One Community"
(หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งเอกลักษณ์ หนึ่งประชาคม)

ประเทศสมาชิกในสมาคมประชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้


สัญลักษณ์อาเซียน
“ต้นข้าวสีเหลือง 10 ต้นมัดรวมกันไว้”
หมายถึง ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้ง 10 ประเทศรวมกันเพื่อมิตรภาพและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน โดยสีที่ปรากฏในสัญลักษณ์ของอาเซียน เป็นสีที่สำคัญของธงชาติของแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียน

สีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง
สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญและความก้าวหน้า

สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์
สีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง
สำนักเลขาธิการอาเซียน (ASEAN Secretariat)  ตั้งอยู่ที่่ กรุ่งจากาตาร์
เลขาธิการ : ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ (เริ่มดำรงตำเเหน่งเมื่อปี พ.ศ. 2551)
ปฏิญญากรุงเทพ     8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 
กฎบัตรอาเซียน     16 ธันวาคม พ.ศ. 2551
ภาษาราชการ      ภาษาอังกฤษ
อาเซียนเปิดตัวตราสัญลักษณ์การเฉลิมฉลองวาระครบรอบ 40 ปีแห่งการก่อตั้งอาเซียนในระดับภูมิภาค 19 กุมภาพันธ์ 2550



วันจันทร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ฝรั่งเศษ ดินแดนเเห่งเทศกาล

ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2002 ประชากร 300 ล้านคนของ 12 ประเทศสมาชิกของสหภาพยุโรป (โซนยูโร) ได้เริ่มใช้เงินยูโรแทนเงินตราของประเทศตนเอง และกว่าจะมาถึงขั้นตอนนี้ประเทศทั้ง 12 ได้ผ่านกระบวนการไตร่ตรองอันยาวนานในการจัดเตรียมระบบเศรษฐกิจของประเทศและในการเปลี่ยนมาใช้เงินสกุลยูโร


1969 - ระหว่างการประชุมสุดยอดที่กรุงเฮก สมาชิก 6 ประเทศของกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (Communauté économique européenne) ได้กำหนดให้มีการจัดตั้งสหภาพเศรษฐกิจและการเงินยุโรป (แผน Barre)


1971 - แผน Werner เสนอให้จัดระบบเศรษฐกิจของแต่ละประเทศสมาชิกของประชาคมเศรษฐกิจยุโรปให้เป็นไปในทางเดียวกันเพื่อเตรียมการรองรับระบบเงินสกุลเดียว ความไม่มีเสถียรภาพของเงินตราของประเทศต่างๆในยุโรปมีผลอย่างมากต่อโครงการนี้


1972 - ได้มีการออกมาตรการ Serpent monétaire européen (การกำหนดให้ค่าเงินขึ้นลงได้ในขอบเขตที่กำหนดไว้) ซึ่งถือเป็นหนทางหนึ่งในการควบคุมความผันผวนของเงินตราของประเทศต่างๆในยุโรป ในปี 1979 มีการจัดตั้งระบบเงินร่วมยุโรป (Système monétaire européen)


1986 - Acte unique ของสนธิสัญญากรุงโรมได้กำหนดขั้นตอนในการจัดตั้งสหภาพเศรษฐกิจและการเงินยุโรป (Union économique et monétaire)


1990 - การอนุญาตให้มีการเคลื่อนย้ายเงินทุนโดยเสรีซึ่งนับเป็นกระบวนการแรกของสหภาพเศรษฐกิจและการเงินยุโรป


1992 - สนธิสัญญามาสทริชต์ได้กำหนดเกณฑ์ในการเตรียมความพร้อมของแต่ละประเทศที่จะเข้าร่วมสหภาพเศรษฐกิจและการเงินยุโรปเพื่อไปใช้เงินสกุลเดียว


2 พฤษภาคม 1998 - คณะกรรมาธิการยุโรปได้ประกาศรายชื่อประเทศที่จะร่วมใช้เงินสกุลเดียวอันได้แก่เยอรมัน ออสเตรีย เบลเยี่ยม สเปน ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส ไอร์แลนด์ อิตาลี ลักเซมเบอร์ก เนเธอร์แลนด์และโปรตุเกส (กรีซจะเข้าร่วมในปี 2001)


1 มิถุนายน 1998 - ได้มีการจัดตั้งธนาคารกลางยุโรป (Banque centrale européenne) ซึ่งจะเป็นผู้ดูแลนโยบายการเงินของยุโรป


1 มกราคม 1999 - เงินยูโรกลายเป็นเงินสกุลเดียว อัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินยูโรและเงินสกุลของบรรดาประเทศที่ร่วมใช้เงินสกุลเดียวจะตายตัว (ในส่วนของฝรั่งเศส 1 ยูโร = 6.55957 ฟรังก์)


ได้มีการนำเงินยูโรมาใช้ในการดำเนินการธุรกรรมต่างๆในตลาดเงินทุน


1 มกราคม 2002 - เงินยูโรมีผลบังคับใช้ใน 12 ประเทศที่เข้าร่วม


17 กุมภาพันธ์ 2002 - เงินยูโรใช้แทนเงินฟรังก์อย่างเต็มตัว


การเปลี่ยนสกุลเงินตราในครั้งนี้ต้องอาศัยความพยายามในการปรับตัวของทุกๆฝ่ายไม่ว่าจะเป็น ผู้บริโภค บริษัทร้านค้า ภาครัฐและองค์กรที่ให้บริการสาธารณะ


หลายสิ่งหลายอย่างในชีวิตประจำวันจำต้องปรับเปลี่ยน ทั้งในเรื่องการติดป้ายราคาสินค้า การเปลี่ยนสกุลเงินในบัญชีธนาคาร การจัดทำเหรียญกษาปณ์และธนบัตรจำนวนพันๆล้าน การนำเงินฟรังก์ออกจากตลาด ฯลฯ)


ทราบข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.finances.gouv.fr


เหตุใดจึงต้องมีเงินสกุลเดียว เศรษฐกิจของยุโรปเป็นตลาดขนาดใหญ่เพียงตลาดเดียว สมาชิกแต่ละประเทศของสหภาพยุโรปค้าขายระหว่างกันเป็นส่วนใหญ่ ระบบเงินสกุลเดียวจะทำให้ปัญหาจากอัตราแลกเปลี่ยนหมดไป ทั้งยังมีส่วนในการพัฒนายุโรปให้เป็นหนึ่งเดียวโดยใช้เงินตราระหว่างประเทศของยุโรปเอง ในขณะเดียวกันการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ นอกจากจะช่วยให้การแลกเปลี่ยนและการลงทุนคล่องตัวขึ้นแล้ว ประเทศโซนยูโรยังพยายามกระตุ้นให้เกิดการจ้างงานเพิ่มมากขึ้น


 เงินยูโร ( € )


นับแต่วันที่ 1 มกราคม 2002 จะมีการนำธนบัตรประมาณ 1.5 หมื่นล้านยูโรและเหรียญกษาปณ์ประมาณ 6 หมื่นล้านยูโรออกมาใช้ในประเทศโซนยูโร


 ลักษณะเหรียญกษาปณ์ยูโร


เพื่อแสดงถึงความเป็นหนึ่งเดียวและความหลากหลายของยุโรป เงินเหรียญยูโรจึงได้รับการออกแบบให้มีด้านหนึ่งที่เหมือนกันในทั้ง 12 ประเทศ (เป็นสัญลักษณ์รูปดาว 12 ดวง) ส่วนอีกด้านหนึ่งจะแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ


เหรียญยูโรของประเทศฝรั่งเศสมี 3 แบบ โดยใช้สัญลักษณ์ Marianne (รูปปั้นผู้หญิงเฉพาะท่อนบนซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์ของสาธารณรัฐฝรั่งเศสและเสรีภาพ) ต้นไม้ (สัญลักษณ์ของการมีชีวิต) และ Semeuse (รูปผู้หญิงกำลังหว่านเมล็ดพืชซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์)








เหรียญเหล่านี้ไม่ว่าแบบใดสามารถใช้ได้ในทุกประเทศในโซนยูโร


 ลักษณะธนบัตรยูโร


ด้านหน้าของธนบัตรยูโรของประเทศฝรั่งเศสเป็นรูปประตูและหน้าต่าง ส่วนด้านหลังเป็นรูปสะพาน ภาพสิ่งก่อสร้างเหล่านี้ได้แรงบันดาลใจมาจากสถาปัตยกรรม 7 สมัยซึ่งแสดงถึงวัฒนธรรมยุโรปอันได้แก่ คลาสสิค โรมัน กอธิค เรอเนสซองซ์ บาร็อคและร็อกโคโค สถาปัตยกรรมที่มีการใช้เหล็กและแก้ว รวมไปถึงสถาปัตยกรรมสมัยใหม่

วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ประวัติครัวซองต์

ครัวซองต์ นั้น เป็นคำเรียกที่เพี้ยนมาจากคำว่า เครสเซนต์ (Crescent) และขนมนี่ก็ทำขึ้นมาเพื่อเป็นการเฉลิมฉลองที่กองทัพเอาชนะกองทัพตุรกีได้ ต้นกำเนิดของครัวซองยังไม่แน่ชัดว่ามีแหล่งกำเนิดมาจากประเทศใดกันแน่ซึ่งมีหลากหลายตำราที่กล่าวอ้างซึ่งแตกต่างกันตรงปี ค.ศ.และประเทศแหล่งกำเนิด แต่เนื้อหาของกำเนิดขนมครัวซองโดยรวมจะเป็นเนื้อหาเดียวกันซึ่งถือว่าเป็นขนม "ฉลองชัย" ซึ่งรูปแบบของขนมมาจากสัญลักษณ์จันทร์ครึ่งเสี้ยวเหมือนสัญลักษณ์ธงของตุรกีนั่นเอง

ตามตำนานที่ค้นพบซึ่งมีข้อแตกต่างกันระหว่างปี ค.ศ.กับประเทศต้นกำเนิดมีดังนี้

ปี ค.ศ.1683 กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรเลีย

ปี ค.ศ.1686 กรุงบูดาเปส ประเทศฮังการี

ปี ค.ศ.1742 กรุงบูคาเรสต์ ประเทศโรมาเนีย

เนื้อหาและใจความของประวัติขนมครัวซองจะมีความคล้ายคลึงกันซึ่งเล่าว่า สมัยนั้นเป็นยุคเรืองอำนาจของกองทัพจักรวรรดิมุสลิมออตโตมัน หรือที่เรียกกันว่า พวกเติร์ก
กลางดึกคืนหนึ่งเป็นคืนที่ทหารเติร์กระดมกำลังเข้าจู่โจมเพื่อจะตียึดเมือง ณ ร้านขนมปังเล็ก ๆ แห่งหนึ่งยังมีช่างอบขนมปังคนหนึ่งซึ่งกำลังทำงานอยู่ในห้องใต้ดิน เขาได้ยินเสียงดังแปลก ๆ มาจากหลังกำแพงเหมือนเสียงคนกำลังขุดอุโมงค์ซึ่งคาดว่าเป็นพวกทหารเติร์กที่จะบุกเข้ามาโจมตียึดเมืองของตน
ช่างทำขนมปังจึงได้ไปรายงานเรื่องราวให้ทางการทราบในทันทีและได้ช่วยกันเผาอุโมงค์ที่ทหารเติร์กช่วยกันขุดในคืนนั้นช่วยทำให้เมืองของตนรอดพ้นจากการถูกยึดครองจากทหารเติร์กได้
หลังจากทำความดีในครั้งนี้ช่างทำขนมปังได้ขอทำขนมเป็นรูปพระจันทร์เสี้ยว (Crescent)ซึ่งเป็นเครื่องหมายที่อยู่บนธงของพวกเติร์กและมีการเฉลิมฉลองชัยชนะที่สามารถป้องกันการถูกยึดครองจากทหารเติร์กได้

ขนมปังนี้ใช้แสดงถึงกองกำลังทหารเติร์กและถูกกินอย่างอร่อยในงานฉลองชัยชนะต่อกองกำลังทหารเติร์กและเป็นที่มาของขนมครัวซองนั่งเอง
ต่อมาปี ค.ศ.1875 ที่ประเทศฝรั่งเศสได้รวบรวมครัวซองมาเป็นขนมที่กินกับกาแฟ (มีขนมอื่น ๆ เช่นมัฟฟินด้วย)และได้เขียนสูตรเป็นเรื่องเป็นราวในปีค.ศ 1905 ซึ่งไม่มีใครเคยพบสูตรครัวซองต์ในที่ใด ๆ ในโลกนี้มาก่อน

จึงสรุปได้ว่าประเทศฝรั่งเศสได้นำครัวซองต์มาทำให้เกิดใหม่อีกครั้งหนึ่งโดยได้นำเข้ามาอีกทีและทำให้โลกรู้จักขนมครัวซองต์กันอย่างกว้างขวางมาจนถึงปัจจุบัน
สูตรทำขนม ครัวซอง ( Croissants )


วันอังคารที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

นอร์เวย์ได้ชื่อ "ดินแดนอาทิตย์เที่ยงคืน"

นอร์เวย์ได้ชื่อ "ดินแดนอาทิตย์เที่ยงคืน" หรือ The Midnight Sun มาจากปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น เพราะโลกกลมและหมุนรอบแกนของตัวเอง พร้อมโคจรรอบดวงอาทิตย์ด้วย โดยจะเอียงแกนเอาขั้วโลกเหนือ-ใต้ สลับเข้าหาดวงอาทิตย์ชั่วระยะหนึ่งใช้เวลาเท่าๆ กันคือประมาณ 4-6 เดือน ระหว่างที่โลกหันเอาขั้วนั้นเข้าหาดวงอาทิตย์จะเป็นฤดูร้อน      เมื่อโลกเอียงเอาขั้วโลกเหนือเข้าหาดวงอาทิตย์ ขั้วโลกเหนือจะได้รับแสงสว่างและความร้อนเต็มที่ สว่างอยู่เป็นเวลา 24 ชั่วโมงติดต่อกันเป็นเวลานับเดือน จะเห็นอาทิตย์โคจรเป็นทางโค้งอยู่เหนือขอบฟ้า ขึ้นสูงพ้นยอดไม้ และค่อยลดต่ำลงจนเกือบจดขอบฟ้า แต่จะไม่ลับขอบฟ้าไปเสียเลยทีเดียว ก่อนกลับสูงขึ้นไปอีกในตอนเที่ยงคืน ทำให้มีแสงสว่างสาดเป็นทาง ต้นไม้มีเงายาวทอดออกไปตามพื้นดิน คล้ายอาทิตย์ในยามเช้าหรือยามเย็น
     ขณะเดียวกัน ฝั่งตรงข้ามคือขั้วโลกใต้จะมืดมิด อากาศหนาวจัดตลอด 24 ชั่วโมงติดต่อนับเป็นเดือนเช่นกัน แต่เมื่อโลกเอียงเอาขั้วโลกใต้เข้าหาดวงอาทิตย์ ขั้วโลกใต้ก็จะสว่างเป็นเวลานาน และมีปรากฏการณ์เห็นดวงอาทิตย์ตอนเที่ยงคืนเช่นกัน (เพียงแต่ว่าซีกโลกนั้นไม่มีมนุษย์อยู่อาศัยยืนยัน มีเพียงเพนกวินจักรพรรดิเท่านั้นที่เตาะแตะชมวิว) ยามขั้วโลกเหนือตกอยู่ในความมืด อากาศหนาวจัดตลอด 24 ชั่วโมงติดต่อนับเป็นเดือน
     ปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์เที่ยงคืน ณ โลกเหนือ จะเกิดขึ้นในบริเวณที่อยู่เหนือเส้นอาร์ติกเซอร์เคิล หรือประมาณเส้นละติจูดที่ 66 องศาเหนือ ทำให้ผู้คนในประเทศที่อยู่เหนือเส้นละติจูดนี้มองเห็นดวงอาทิตย์ทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน
     สำหรับนอร์เวย์ สถานที่ที่ชมตะวันยามเที่ยงคืนได้เหมาะเจาะคือเมืองทรอมโซ่ ระหว่าง 16 พฤษภาคม-27 กรกฎาคม และเมืองสวาลบอร์ด ซึ่งเป็นหมู่เกาะกลางมหาสมุทรอาร์กติก ทางตอนเหนือของแผ่นดินใหญ่นอร์เวย์ขึ้นไปอีก 640 กิโลเมตร ระหว่าง 19 เมษายน-23 สิงหาคม
     นอกจากนอร์เวย์ ดินแดนที่อยู่เหนือเส้นอาร์กติกเซอร์เคิล ประกอบด้วย อะลาสกา แคนาดา กรีนแลนด์ ไอซ์แลนด์ สวีเดน ฟินแลนด์ และดินแดนของรัสเซียอย่างบริเวณโนวาวา เซมล์ยา หรือมูร์มันสก์ ก็สามารถมองเห็นอาทิตย์เที่ยงคืนได้เหมือนกัน ทั้งนี้ดินแดนที่เคยมีบันทึกว่าเกิดปรากฏการณ์อาทิตย์เที่ยงคืนนานที่สุด คือทางปลายเหนือสุดของฟินแลนด์ ดวงอาทิตย์ไม่ตกดินนานถึง 73 วัน
สำหรับการจัดเวลากลางวันกลางคืน ดวงอาทิตย์ไม่สร้างความสับสน เพราะว่าไปตามนาฬิกาเป็นปกติ

วันพุธที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

วันลอยกระทง

ลอยกระทง เป็นพิธีอย่างหนึ่งที่มักจะทำกันในคืนวันเพ็ญ เดือน 12 หรือวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 12 อันเป็นวันพระจันทร์เต็มดวง และเป็นช่วงที่น้ำหลากเต็มตลิ่ง โดยจะมีการนำดอกไม้ ธูป เทียนหรือสิ่งของใส่ลงในสิ่งประดิษฐ์รูปต่างๆ ที่ไม่จมน้ำ เช่น กระทง เรือ แพ ดอกบัว ฯลฯ แล้วนำไปลอยตามลำน้ำ โดยมีวัตถุประสงค์ และความเชื่อต่างๆ กัน ในปีนี้วันลอยกระทงตรงกับวันพฤหัสบดีที่ 10 พฤศจิกายน 2554
ประเพณีลอยกระทง มิได้มีแต่ในประเทศไทยเท่านั้น ในประเทศจีน อินเดีย เขมร ลาว และพม่า ก็มีการลอยกระทงคล้ายๆ กับบ้านเรา จะต่างกันบ้าง ก็คงเป็นเรื่องรายละเอียด พิธีกรรม และความเชื่อในแต่ละท้องถิ่น แม้แต่ในบ้านเราเอง การลอยกระทง ก็มาจากความเชื่อที่หลากหลายเช่นกัน ซึ่งกลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม ได้รวบรวมมาบอกเล่าให้ทราบกันดังต่อไปนี้
ทำไมถึงลอยกระทง การลอยกระทง เป็นประเพณีที่มีมาแต่โบราณ แต่ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่า ปฏิบัติกันมาแต่เมื่อไร เพียงแต่ท้องถิ่นแต่ละแห่ง ก็จะมีจุดประสงค์และความเชื่อในการลอยกระทงแตกต่างกันไป เช่น ในเรื่องเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ก็จะเป็นการบูชาพระเกศแก้วจุฬามณีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์, เป็นบูชารอยพระพุทธบาท ณ หาดทรายริมฝั่งแม่น้ำนัมมทา ซึ่งปัจจุบันคือแม่น้ำเนรพุททาในอินเดีย หรือต้อนรับพระพุทธเจ้า ในวันเสด็จกลับจากเทวโลก เมื่อครั้งไปโปรดพระพุทธมารดา

นอกจากนี้ ก็ยังมีวัตถุประสงค์ เพื่อบูชาพระอุปคุตเถระที่บำเพ็ญบริกรรมคาถาในท้องทะเลลึก หรือสะดือทะเล บางแห่งก็ลอยกระทง เพื่อบูชาเทพเจ้าตามความเชื่อของตน บางแห่งก็เพื่อแสดงความขอบคุณพระแม่คงคา ซึ่งเป็นแหล่งน้ำให้มนุษย์ได้ใช้ประโยชน์ต่างๆ รวมทั้งขอขมาที่ได้ทิ้งสิ่งปฏิกูลลงไป ส่วนบางท้องที่ ก็จะทำเพื่อระลึกถึงบรรพบุรุษที่ล่วงลับ หรือเพื่อสะเดาะเคราะห์ ลอยทุกข์โศกโรคภัยต่างๆ และส่วนใหญ่ก็จะอธิษฐานขอสิ่งที่ตนปรารถนาไปด้วย
พระยาอนุมานราชธน ได้สันนิษฐานว่า ต้นเหตุแห่งการลอยกระทง อาจมีมูลฐานเป็นไปได้ว่า การลอยกระทงเป็นคติของชนชาติที่ประกอบกสิกรรม ซึ่งต้องอาศัยน้ำเป็นสำคัญ เมื่อพืชพันธุ์ธัญชาติงอกงามดี และเป็นเวลาที่น้ำเจิ่งนองพอดี ก็ทำกระทงลอยไปตามกระแสน้ำไหล เพื่อขอบคุณแม่คงคา หรือเทพเจ้าที่ประทานน้ำมาให้ความอุดมสมบูรณ์ เหตุนี้ จึงได้ลอยกระทงในฤดูกาลน้ำมาก และเมื่อเสร็จแล้ว จึงเล่นรื่นเริงด้วยความยินดี เท่ากับเป็นการสมโภชการงานที่ได้กระทำว่า ได้ลุล่วงและรอดมาจนเห็นผลแล้ว ท่านว่าการที่ชาวบ้านบอกว่า การลอยกระทงเป็นการขอขมาลาโทษ และขอบคุณต่อแม่คงคา ก็คงมีเค้าในทำนองเดียวกับการที่ชาติต่างๆ แต่ดึกดำบรรพ์ได้แสดงความยินดี ที่พืชผลเก็บเกี่ยวได้ จึงได้นำผลผลิตแรกที่ได้ ไปบูชาเทพเจ้าที่ตนนับถือ เพื่อขอบคุณที่บันดาลให้การเพาะปลูกของตนได้ผลดี รวมทั้งเลี้ยงดูผีที่อดอยาก และการเซ่นสรวงบรรพบุรุษที่ล่วงลับ เสร็จแล้วก็มีการสมโภชเลี้ยงดูกันเอง
ต่อมาเมื่อมนุษย์มีความเจริญแล้ว การวิตกทุกข์ร้อน เรื่องเพาะปลูกว่าจะไม่ได้ผลก็น้อยลงไป แต่ก็ยังทำการบวงสรวง ตามที่เคยทำมาจนเป็นประเพณี เพียงแต่ต่างก็แก้ให้เข้ากับคติลัทธิทางศาสนาที่ตนนับถือ เช่น มีการทำบุญสุนทานเพิ่มขึ้นในทางพุทธศาสนา เป็นต้น แต่ที่สุด ก็คงเหลือแต่การเล่นสนุกสนานรื่นเริงกันเป็นส่วนใหญ่ อย่างไรก็ดี ด้วยเหตุดังกล่าวข้างต้น การลอยกระทงจึงมีอยู่ในชาติต่างๆทั่วไป และการที่ไปลอยน้ำ ก็คงเป็นความรู้สึกทางจิตวิทยา ที่มนุษย์โดยธรรมดา มักจะเอาอะไรทิ้งไปในน้ำให้มันลอยไป
ทำไมกระทงส่วนใหญ่เป็นรูปดอกบัว ในหนังสือตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ หรือตำนานนางนพมาศ ซึ่งเป็นพระสนมเอก ของพระมหาธรรมราชาลิไทยหรือพระร่วง แห่งกรุงสุโขทัย ได้กล่าวถึงวันเพ็ญเดือนสิบสองว่า เป็นเวลาเสด็จประพาสลำน้ำ ตามพระราชพิธีในเวลากลางคืน และได้มีรับสั่งให้บรรดาพระสนมนางในทั้งหลาย ตกแต่งกระทงประดับดอกไม้ธูปเทียน นำไปลอยน้ำหน้าพระที่นั่ง ในคราวนั้น ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ หรือนางนพมาศพระสนมเอก ก็ได้คิดประดิษฐ์กระทงเป็นรูปดอกบัวกมุทขึ้น ด้วยเห็นว่าเป็นดอกบัวพิเศษ ที่บานในเวลากลางคืนเพียงปีละครั้งในวันดังกล่าว สมควรทำเป็นกระทงแต่งประทีป ลอยไปถวายสักการะรอยพระพุทธบาท ซึ่งเมื่อพระร่วงเจ้าได้ทอดพระเนตรเห็น ก็รับสั่งถามถึงความหมาย นางก็ได้ทูลอธิบายจนเป็นที่พอพระราชหฤทัย พระองค์จึงมีพระราชดำรัสว่า “แต่นี้สืบไปเบื้องหน้าโดยลำดับ กษัตริย์ในสยามประเทศ ถึงกาลกำหนดนักขัตฤกษ์ วันเพ็ญเดือน 12 ให้นำโคมลอยเป็นรูปดอกบัว อุทิศสักการบูชาพระพุทธบาทนัมมทานที ตราบเท่ากัลปาวสาน” ด้วยเหตุนี้ เราจึงเห็นโคมลอยรูปดอกบัวปรากฏมาจนปัจจุบัน


ตำนานและความเชื่อ จากที่กล่าวมาข้างต้นว่า การลอยกระทง ในแต่ละท้องที่ก็มาจากความเชื่อ ความศรัทธาที่แตกต่างกัน บางแห่งก็มีตำนานเล่าขานกันต่อๆมา ซึ่งจะยกตัวอย่างบางเรื่องมาให้ทราบ ดังนี้
เรื่องแรก ว่ากันว่าการลอยกระทง มีต้นกำเนิดมาจากศาสนาพุทธนั่นเอง กล่าวคือก่อนที่พระพุทธองค์จะตรัสรู้ เป็นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ประทับอยู่ใต้ต้นโพธิ์ ใกล้แม่น้ำเนรัญชรา กาลวันหนึ่ง นางสุชาดาอุบาสิกาได้ให้สาวใช้นำข้าวมธุปายาส (ข้าวกวนหุงด้วยน้ำผึ้งหรือน้ำอ้อย) ใส่ถาดทองไปถวาย เมื่อพระองค์เสวยหมดแล้ว ก็ทรงตั้งสัตยาธิษฐานว่า ถ้าหากวันใดจะสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า ก็ขอให้ถาดลอยทวนน้ำ ด้วยแรงสัตยาธิษฐาน และบุญญาภินิหาร ถาดก็ลอยทวนน้ำไปจนถึงสะดือทะเล แล้วก็จมไปถูกขนดหางพระยานาคผู้รักษาบาดาล
พระยานาคตื่นขึ้น พอเห็นว่าเป็นอะไร ก็ประกาศก้องว่า บัดนี้ได้มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อุบัติขึ้นในโลกอีกองค์แล้ว ครั้นแล้วเทพยดาทั้งหลายและพระยานาค ก็พากันไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า และพระยานาคก็ได้ขอให้พระพุทธองค์ ประทับรอยพระบาทไว้บนฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา เพื่อพวกเขาจะได้ขึ้นมาถวายสักการะได้ พระองค์ก็ทรงทำตาม ส่วนสาวใช้ก็นำความไปบอกนางสุชาดา ครั้นถึงวันนั้นของทุกปี นางสุชาดาก็จะนำเครื่องหอม และดอกไม้ใส่ถาดไปลอยน้ำ เพื่อไปนมัสการรอยพระพุทธบาทเป็นประจำเสมอมา และต่อๆ มาก็ได้กลายเป็นประเพณีลอยกระทง ตามที่เห็นกันอยู่ในปัจจุบัน
ในเรื่องการประทับรอยพระบาทนี้ บางแห่งก็ว่า พญานาคได้ทูลอาราธนาพระพุทธเจ้า ไปแสดงธรรมเทศนาในนาคพิภพ เมื่อจะเสด็จกลับ พญานาคได้ทูลขออนุสาวรีย์จากพระองค์ไว้บูชา พระพุทธองค์จึงได้ทรงอธิษฐาน ประทับรอยพระบาทไว้ที่หาดทรายแม่น้ำนัมมทา และพวกนาคทั้งหลาย จึงพากันบูชารอยพระพุทธบาทแทนพระองค์ ต่อมาชาวพุทธได้ทราบเรื่องนี้ จึงได้ทำการบูชารอยพระบาทสืบต่อกันมา โดยนำเอาเครื่องสักการะใส่กระทงลอยน้ำไป ส่วนที่ว่าลอยกระทงในวันเพ็ญ เดือน 11 หรือวันออกพรรษา เพื่อเฉลิมฉลองวันคล้ายวันที่พระพุทธเจ้า เสด็จกลับมาสู่โลกมนุษย์ หลังการจำพรรษา 3 เดือน ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อแสดงอภิธรรมโปรดพุทธมารดานั้น ก็ด้วยวันดังกล่าว เหล่าทวยเทพและพุทธบริษัท พากันมารับเสด็จนับไม่ถ้วน พร้อมด้วยเครื่องสักการบูชา และเป็นวันที่พระพุทธองค์ได้เปิดให้ประชาชนได้เห็นสวรรค์ และนรกด้วยฤทธิ์ของพระองค์ คนจึงพากันลอยกระทง เพื่อเฉลิมฉลองรับเสด็จพระพุทธเจ้า
สำหรับคติที่ว่า การลอยกระทงตามประทีป เพื่อไปบูชาพระเกศแก้วจุฬามณี บนสรวงสรรค์ชั้นดาวดึงส์นั้น ก็ว่าเป็นเพราะตรงกับวันที่พระพุทธเจ้า เสด็จออกบรรพชาที่ริมฝั่งแม่น้ำอโนมา ทรงใช้พระขรรค์ตัดพระเกศโมลีขาด ลอยไปในอากาศตามที่ทรงอธิษฐาน พระอินทร์จึงนำผอบแก้วมาบรรจุ แล้วนำไปประดิษฐานไว้ในจุฬามณีเจดีย์ บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ (ตามประทีป คือ การจุดประทีป หรือจุดไฟในตะเกียง /โคม หรือผาง-ถ้วยดินเผาเล็กๆ) ซึ่งทางเหนือของเรา มักจะมีการปล่อยโคมลอย หรือโคมไฟที่เรียกว่า ว่าวไฟ ขึ้นไปในอากาศเพื่อบูชาพระเกศแก้วจุฬามณีด้วย
เรื่องที่สอง ตามตำราพรหมณ์คณาจารย์กล่าวว่า พิธีลอยประทีปหรือตามประทีปนี้ แต่เดิมเป็นพิธีทางศาสนาพราหมณ์ ทำขึ้นเพื่อบูชาเทพเจ้าทั้งสามคือ พระอิศวร พระนารายณ์และพระพรหม เป็นประเภทคู่กับลอยกระทง ก่อนจะลอยก็ต้องมีการตามประทีปก่อน ซึ่งตามคัมภีร์โบราณอินเดียเรียกว่า “ทีปาวลี” โดยกำหนดทางโหราศาสตร์ว่า เมื่อพระอาทิตย์ถึงราศีพิจิก พระจันทร์อยู่ราศีพฤกษ์เมื่อใด เมื่อนั้นเป็นเวลาตามประทีป และเมื่อบูชาไว้ครบกำหนดวันแล้ว ก็เอาโคมไฟนั้นไปลอยน้ำเสีย ต่อมาชาวพุทธเห็นเป็นเรื่องดี จึงแปลงเป็นการบูชารอยพระพุทธบาท และการรับเสด็จพระพุทธเจ้า ดังที่กล่าวมาข้างต้น โดยมักถือเอาเดือน 12 หรือเดือนยี่เป็งเป็นเกณฑ์ (ยี่เป็งคือเดือนสอง ตามการนับทางล้านนา ที่นับเดือนทางจันทรคติ เร็วกว่าภาคกลาง 2 เดือน)
เรื่องที่สาม เป็นเรื่องของพม่า เล่าว่า ครั้งหนึ่งในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ทรงมีพระประสงค์จะสร้างเจดีย์ให้ครบ 84,000 องค์ แต่ถูกพระยามารคอยขัดขวางเสมอ พระองค์จึงไปขอให้พระอรหันต์องค์หนึ่ง คือ พระอุปคุตช่วยเหลือ พระอุปคุตจึงไปขอร้องพระยานาคเมืองบาดาลให้ช่วย พระยานาครับปาก และปราบพระยามารจนสำเร็จ พระเจ้าอโศกมหาราช จึงสร้างเจดีย์ได้สำเร็จสมพระประสงค์ ตั้งแต่นั้นมา เมื่อถึงวันเพ็ญเดือน 12 คนทั้งหลายก็จะทำพิธีลอยกระทง เพื่อบูชาคุณพระยานาค เรื่องนี้ บางแห่งก็ว่า พระยานาค ก็คือพระอุปคุตที่อยู่ที่สะดือทะเล และมีอิทธิฤทธิ์มาก จึงปราบมารได้ และพระอุปคุตนี้ เป็นที่นับถือของชาวพม่า และชาวพายัพของไทยมาก
เรื่องที่สี่ เกิดจากความเชื่อแต่ครั้งโบราณในล้านนาว่า เกิดอหิวาต์ระบาด ที่อาณาจักรหริภุญชัย ทำให้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก พวกที่ไม่ตายจึงอพยพไปอยู่เมืองสะเทิม และหงสาวดีเป็นเวลา 6 ปี บางคนก็มีครอบครัวอยู่ที่นั่น ครั้นเมื่ออหิวาต์ได้สงบลงแล้ว บางส่วนจึงอพยพกลับ และเมื่อถึงวันครบรอบที่ได้อพยพไป ก็ได้จัดธูปเทียนสักการะ พร้อมเครื่องอุปโภคบริโภคดังกล่าวใส่ สะเพา ( อ่านว่า “ สะ - เปา หมายถึง สำเภาหรือกระทง ) ล่องตามลำน้ำ เพื่อระลึกถึงญาติที่มีอยู่ในเมืองหงสาวดี ซึ่งการลอยกระทงดังกล่าว จะทำในวันยี่เพง คือ เพ็ญเดือนสิบสอง เรียกกันว่า การลอยโขมด แต่มิได้ทำทั่วไปในล้านนา ส่วนใหญ่เทศกาลยี่เพงนี้ ชาวล้านนาจะมีพิธีตั้งธัมม์หลวง หรือการเทศน์คัมภีร์ขนาดยาวอย่างเทศน์มหาชาติ และมีการจุดประทีปโคมไฟอย่างกว้างขวางมากกว่า (การลอยกระทง ที่ทางโบราณล้านนาเรียกว่า ลอยโขมดนี้ คำว่า “ โขมด อ่านว่า ขะ-โหมด เป็นชื่อผีป่า ชอบออกหากินกลางคืน และมีไฟพะเหนียงเห็นเป็นระยะๆ คล้ายผีกระสือ ดังนั้น จึงเรียกเอาตามลักษณะกระทง ที่จุดเทียนลอยในน้ำ เห็นเงาสะท้อนวับๆ แวมๆ คล้ายผีโขมดว่า ลอยโขมด ดังกล่าว)
รื่องที่ห้า กล่าวกันว่าในประเทศจีนสมัยก่อน ทางตอนเหนือ เมื่อถึงหน้าน้ำ น้ำจะท่วมเสมอ บางปีน้ำท่วมจนชาวบ้านตายนับเป็นแสนๆ และหาศพไม่ได้ก็มี ราษฎรจึงจัดกระทงใส่อาหารลอยน้ำไป เพื่อเซ่นไหว้ผีเหล่านั้นเป็นงานประจำปี ส่วนที่ลอยในตอนกลางคืน ท่านสันนิษฐานว่า อาจจะต้องการความขรึม และขมุกขมัวให้เห็นขลัง เพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับผีๆสางๆ และผีก็ไม่ชอบปรากฏตัวในตอนกลางวัน การจุดเทียนก็เพราะหนทางไปเมืองผีมันมืด จึงต้องจุดให้แสงสว่าง เพื่อให้ผีกลับไปสะดวก ในภาษาจีนเรียกการลอยกระทงว่า ปล่อยโคมน้ำ (ปั่งจุ๊ยเต็ง) ซึ่งตรงกับของไทยว่า ลอยโคม จากเรื่องข้างต้น เราจะเห็นได้ว่า การลอยกระทง ส่วนใหญ่จะเป็นการแสดงความกตัญญู ระลึกถึงผู้มีพระคุณต่อมนุษย์ เช่น พระพุทธเจ้า เทพเจ้า พระแม่คงคา และบรรพชน เป็นต้น และแสดงความกตเวที (ตอบแทนคุณ) ด้วยการเคารพบูชาด้วยเครื่องสักการะต่างๆ โดยเฉพาะการบูชาพระพุทธเจ้า หรือรอยพระพุทธบาท ถือได้ว่าเป็นคติธรรมอย่างหนึ่ง ที่บอกเป็นนัยให้พุทธศาสนิกชน ได้เจริญรอยตามพระบาทของพระพุทธองค์ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งความดีงามทั้งปวงนั่นเอง
ประเพณีลอยกระทง นอกจากจะเป็นประเพณีที่มีคุณค่า ในเรื่องการแสดงออกถึงความกตัญญูกตเวที ต่อผู้มีพระคุณดังที่กล่าวมาแล้ว ประเพณีนี้ยังมีคุณค่าต่อครอบครัว ชุมชน สังคม และศาสานาด้วย เช่น ทำให้สมาชิกในครอบครัวได้ใช้เวลาร่วมกัน ทำให้ชุมชนได้ร่วมมือร่วมใจกันจัดงาน หรือในบางท้องที่ที่มีการทำบุญ ก็ถือว่ามีส่วนช่วยสืบทอดพระศาสนา และในหลายๆ แห่งก็ถือเป็นโอกาสดีในการรณรงค์อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในแม่น้ำลำคลองไปด้วย