วันพฤหัสบดีที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ประเพณีการเชิดสิงโต



คนจีนโบราณมีความเชื่อว่าสิงโตเป็นบุตรของมังกร ซึ่งมีอำนาจและทรงพลังมากที่สุดในบรรดาบุตรทั้งหมด ได้รับมอบหมายจากสวรรค์ในฐานะผู้พิทักษ์ สิงโตจึงถือเป็น สัญลักษณ์ของพลังอำนาจ ความกล้าหาญ และความจงรักภักดี

      นอกจากนี้ยังเชื่อว่ากันว่าสิงโตเป็นสัตว์เทพเจ้าที่ศักดิ์สิทธิ์ แม้เพียงเสียงคำรามก็สามารถปัดเป่าวิญญาณและสิ่งชั่วร้ายได้ ด้วยเหตุนี้เองชาวจีนจึงนิยมสร้างรูปสลักสิงโตไว้ ตรงหน้าพระราชวัง



       ตามหน้าบ้านหรือสถานที่ต่างๆ เพื่อเป็นองครักษ์ผู้พิทักษ์คอยคุ้มครองป้องกันภยันตราย ภูตผีปีศาจและสิ่งชั่วร้ายต่างๆ โดยจะสร้างสิงโตไว้ตรงหน้าประตู ทางเข้าเป็นคู่ สิงโตตัวผู้จะอยู่ทางด้านขวามือ(ของผู้ที่เดินเข้า)และสิงโตตัวเมียจะอยู่ทางด้านซ้าย

      นอกจากนี้ประเพณีความเชื่อที่สำคัญของจีนซึ่งมีมาแต่ช้านานจนถึงปัจจุบันก็คือประเพณีการเชิดสิงโต ตำนานที่มาของการเชิดสิงโตมีหลากหลายแตกต่างกันมาก ในที่นี้จะ ขอยกเอามาบางส่วนที่เป็นที่ยอมรับกัน

       มีตำนานหนึ่งกล่าวว่าในประเทศจีนสมัยห้าราชวงศ์ในวันตรุษจีน (หรือบางที่ก็ว่าวันไหว้พระจันทร์)จะปรากฏสัตว์ร้ายชื่อว่าเหนียน(Nien) ซึ่งจะคอยทำร้ายผู้คน สัตว์เลี้ยงและทำลายพืชผลไร่นาเสียหาย ผู้คนจึงต้องบวงสรวงต่อเทพเจ้าบนสวรรค์ เง็กเซียนฮ่องเต้จึงส่งเทพสิงโตมาขับไล่เจ้าตัวเหนียนนี่ไป ในวัน ตรุษจีนปีต่อมา เจ้าตัวเหนียนก็กลับมาสร้างความเดือดร้อนอีก

       แต่คราวนี้เทพสิงโตไม่ลงมาช่วยอีกแล้ว และเป็นเช่นนี้ทุกๆปีในวันตรุษจีน ผู้คนจึงต้องร่วมกันแต่งตัวทำเลียนแบบสิงโต จึงสามารถขับไล่ตัวเหนียนไปได้และเกิดเป็น ประเพณีเชิดสิงโตขึ้นมาแต่บางที่กล่าวไว้ว่าตัวเหนียนนั้นมีตัวยาวแปดฟุต ศีรษะใหญ่ มีฟันแหลมคม มีตาเหมือนระฆังทองแดง มีใบหน้าสีเขียว และมีเขาบนศีรษะ เที่ยว ออกทำร้ายผู้คนทุกๆวันตรุษจีน

       ต่อมาพระยูไลได้เสร็จมาปราบพยศตัวเหนียนจนเชื่องและพากลับไปชาวบ้านจึงเฉลิมฉลองและจัดทำการแต่งตัวเลียนแบบท่าทางตัวเหนียนเพื่อบูชาพระยูไล จึงเกิดเป็นการ เชิดสิงโต (พูดง่ายๆว่าสิงโตก็คือตัวเหนียนนั่นแหละ)

       บางตำนานก็ว่าการเชิดสิงโตเริ่มขึ้นในสมัยราชวงศ์ซ้อง แม่ทัพจงอวี่ (Zhong Yue) ยกทัพไปออกรบที่ดินแดนหลินหยี (Lin Yi) ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของจีนแถวๆประเทศลาว และพม่า ข้าศึกชาวพื้นเมืองได้ใช้กองทัพช้างทำให้แม่ทัพจงอวี่ต้องรับศึกหนัก จึงใช้อุบายให้ทหารกองหน้าแต่งตัวเป็นสิงโต กองทัพช้างจึงแตกตื่นและแตกพ่ายไป ประเท ษจีนจึงมีประเพณีเชิดสิงโตเพื่อฉลองชัยชนะ


      แต่มีบางตำนานก็กล่าวไว้เช่นนี้เหมือนกันแต่เป็นสมัยที่ขงเบ้งยกทัพไปปราบเบ้งเฮก และได้ใช้สิงโตปลอมทำลายกองทัพช้างของบกลกไตอ๋อง อีกตำนานที่เป็นที่ยอมรับคือ ในสมัยพระเจ้าถังเม่งหวาง พระองค์ได้สุบินว่าพระองค์แตกทัพ หลงทางตามลำพังอยู่ในป่า

     และได้สิงโตช่วยเหลือนำทางกลับสู่วังหลวง เมื่อตื่นขึ้นมาจึงเรียกราชเลชามาจด ลักษณะสิงโตที่เห็นในความฝัน และได้ให้มีการเชิดสิงโตตั้งแต่นั้นมา แต่ก็มีบางตำนาน กล่าวว่าพระองค์ฝันเห็นสิงโตและเกิดความประทับใจในรูปร่างกิริยาที่สง่างามเท่านั้น

     ประเพณีการเชิดสิงโตยังแบ่งออกเป็นแบบเหนือ(ปักกิ่ง) ซึ่งเลียนแบบท่าทางของสุนัข(ก็เพราะว่าคนจีนไม่เคยเห็นว่าสิงโตจริงแล้วมีท่าทางอย่างไร) รูปข้างล่างเป็นสิงโต สไตล์เหนือ สิงโตแบบใต้จะเลียนแบบท่าทางของแมว ซึ่งยังแบ่งเป็นแบบกวางตุ้งและฮกเกี้ยนด้วย

      นอกจากนี้การเชิดสิงโตแบบใต้ ยังมีการแบ่งประเภทตามสีของหน้าสิงโต ได้แก่สีเหลืองจะหมายถึงเล่าปี่ สีแดงจะหมายถึงกวนอู และสีดำจะหมายถึงเตียวหุย และแบ่งตาม ลักษณะของขนและพู่ 




วันอาทิตย์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2555

พระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ เสน่ห์...พระตำหนักงามยามหน้าหนาว

พระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ อีกหนึ่งจุดหมายปลายทางด้านการท่องเที่ยวที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ดอยบวกห้า ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ใช้เส้นทางเดียวกันกับพระธาตุดอยสุเทพ พระตำหนักฯอยู่เลยจากวัดพระธาตุดอยสุเทพ เป็นระยะทางประมาณ 4 กิโลเมตร 

 
 
     พระตำหนักภูพิงค์ฯ เป็นพระตำหนักประทับในวโรกาสที่เสด็จแปรพระราชฐานมาประทับแรมที่จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อทรงเยี่ยมเยียนราษฎรในเขตภาคเหนือ และทรงพระกรุณาโปรด เกล้าฯ ใช้เป็นที่รับรองพระราชอาคันตุกะที่เสด็จฯเยือนประเทศไทยซึ่งแต่เดิมจะประทับรับรองแต่ในพระนครหลวงเท่านั้น 
 
     โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2504 ในครั้งแรกได้ก่อสร้างเฉพาะองค์พระตำหนักที่ประทับและเรือนรับรองเท่านั้น ส่วนอาคารอื่นๆได้มีการก่อสร้างเพิ่มเติม ต่อมาในภายหลัง ภายในพระตำหนักฯ มีสถานที่น่าชม ดังนี้ เรือนปีกไม้ พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ เรือนรับรอง พลับพลาผาหมอนและสวนเฟิร์น อ่างเก็บน้ำ พระตำหนักต่างๆ และหอพระ โดยระหว่างเส้นทางเยี่ยมชมจะผ่านสวนกุหลาบเป็นระยะ 





 

วันพฤหัสบดีที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2555

โอลิมปิกฤดูร้อน 2012


โอลิมปิกฤดูร้อน 2012


การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนครั้งที่ 30
London Olympics 2012 Logo.png
สัญลักษณ์การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2012
เมืองเจ้าภาพFlag of the United Kingdom ลอนดอนอังกฤษ,
สหราชอาณาจักร
คำขวัญInspire a Generation
(แรงบันดาลใจของคนรุ่นใหม่)
จำนวนประเทศ197 (มีคุณสมบัติ)
204 (โดยประมาณ)
1 (นักกีฬาอิสระ)
จำนวนนักกีฬา10,490 คน (โดยประมาณ)
พิธีเปิด27 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
พิธีปิด12 สิงหาคม พ.ศ. 2555
ประธานพิธีสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2
แห่งสหราชอาณาจักร
สนามกีฬาหลักสนามกีฬาโอลิมปิก (ลอนดอน)
ชนิดกีฬา302 รายการใน 26 ชนิดกีฬา
การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนประจำปี ค.ศ. 2012 หรือ พ.ศ. 2555 (อังกฤษ2012 Summer Olympics) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกครั้งที่ 30(อังกฤษGames of the XXX Olympiad) จะจัดขึ้นที่กรุงลอนดอนของสหราชอาณาจักร ระหว่างวันศุกร์ที่ 27 กรกฎาคมถึงวันอาทิตย์ที่ 12 สิงหาคม[1] เนื่องจากชนะการประมูลเสนอตัวเป็นเจ้าภาพ ซึ่งนำโดย ลอร์ด เซบาสเตียน โคอ์ (Lord Sebastian Coe) นักกีฬาเหรียญทองโอลิมปิก และ เคนเนธ ลิฟวิงสโตน (Kenneth Livingstone) นายกเทศมนตรีกรุงลอนดอนในขณะนั้น[2]
โดยกรุงลอนดอนกลายเป็นเมืองแรกในโลก ที่เป็นเจ้าภาพจัดแข่งขันโอลิมปิกสมัยใหม่ถึงสามครั้ง[3][4] ซึ่งก่อนหน้านี้ในครั้งที่ 4 (พ.ศ. 2451) และครั้งที่ 14 (พ.ศ. 2491)[5][6]หลังจากนั้น มีการพัฒนาหลายพื้นที่ของกรุงลอนดอน เพื่อรองรับกิจกรรมที่จะจัดขึ้นโดยเฉพาะ เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน และจุดสนใจหลักของการแข่งขัน อยู่ที่อุทยานโอลิมปิกแห่งใหม่ ขนาด 200 เฮกตาร์ ซึ่งสร้างขึ้นภายในนิคมอุตสาหกรรมเก่า ของเมืองสแตรตเฟิร์ด (Stratford) ทางตะวันออกของกรุงลอนดอน โดยการแข่งขันคราวนี้ ยังช่วยส่งเสริมให้มีการใช้สนามแข่งขัน ที่มีอยู่แล้วจำนวนมาก

[แก้]
การเสนอตัวเป็นเจ้าภาพ

แผนที่แสดงประเทศที่เข้าร่วมเสนอตัวเป็นเจ้าภาพการแข่งขันโอลิมปิก 2012

[แก้]เมืองที่เสนอตัวเป็นเจ้าภาพ

ท้ายชื่อของแต่ละเมือง กำกับด้วยคะแนนซึ่งได้รับจากการคัดเลือกเป็น 5 เมืองสุดท้าย ซึ่งแสดงด้วยตัวหนา

[แก้]ผลการลงคะแนนรอบสุดท้าย

การตัดสินลงคะแนนในรอบสุดท้าย มีขึ้นระหว่างการประชุมคณะกรรมการโอลิมปิกสากล ครั้งที่ 117 ที่ประเทศสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 ปรากฏผลตามตารางต่อไปนี้
ผลการตัดสินประเทศเจ้าภาพโอลิมปิกฤดูร้อน 2012
เมืองชื่อคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติรอบที่ 1รอบที่ 2รอบที่ 3รอบที่ 4
ลอนดอนFlag of the United Kingdom สหราชอาณาจักร22273954
ปารีสธงของประเทศฝรั่งเศส ฝรั่งเศส21253350
มาดริดธงของประเทศสเปน สเปน203231-
นครนิวยอร์กธงของสหรัฐอเมริกา สหรัฐอเมริกา1916--
มอสโกธงของสหพันธรัฐรัสเซีย รัสเซีย15---

[แก้]การเตรียมความพร้อมและพัฒนาการ

[แก้]สถานที่และโครงสร้างพื้นฐาน

สนามกีฬาโอลิมปิกลอนดอนขณะกำลังก่อสร้าง
สนามกีฬาโอลิมปิก ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2011
กีฬาโอลิมปิกและพาราลิมปิกในครั้งนี้ จะผสมผสานกันระหว่าง สถานที่จัดงานซึ่งสร้างขึ้นใหม่ โบราณสถานที่มีอยู่แล้ว และสถานที่ชั่วคราว สำหรับบางส่วนของสถานที่เหล่านี้ ที่รู้จักโดยทั่วไปได้แก่ สวนสาธารณะไฮด์ปาร์ก และการสวนสนามของทหารม้ารักษาพระองค์ สถานที่บางส่วนจะมีการนำกลับมาใช้ใหม่ ขณะที่อย่างอื่นจะปรับขนาดหรือโยกย้าย[7]
สถานที่จัดงานส่วนมาก แบ่งออกเป็นสามเขต ภายในเกรเทอร์ลอนดอน ประกอบด้วย เขตโอลิมปิก เขตแม่น้ำ และเขตกลาง นอกจากนั้นยังมีสถานที่จัดแข่งขัน ที่จำเป็นต้องอยู่รอบนอกเขตเกรเทอร์ลอนดอน อาทิสถาบันเรือใบแห่งชาติเวย์มัธและพอร์ตแลนด์ (Weymouth and Portland National Sailing Academy) บนเกาะแห่งพอร์ตแลนด์ (Isle of Portland) ในเมืองดอร์เซต (Dorset) ซึ่งเป็นสถานที่จัดการแข่งขันเรือใบ อยู่ห่างจากลอนดอนไปทางตะวันตกเฉียงใต้ ประมาณ 125 ไมล์ (200 กิโลเมตร) สำหรับการแข่งขันฟุตบอลจะใช้สนามหลายแห่งทั่วสหราชอาณาจักร[8]
โครงการอุทยานโอลิมปิกลอนดอน (London Olympic Park) ขนาด 500 เอเคอร์ เปิดเผยขึ้นในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2547 (ค.ศ. 2004)[9] มีการอนุมัติให้ออกแบบทำเล เมื่อเดือนกันยายนปีเดียวกัน โดย ทาวเวอร์ ฮัมเล็ทส์, นิวแฮม แฮ็กนีย์ และ วอล์ทแฮม ฟอเรสท์[10] และการก่อสร้างเริ่มขึ้น ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2549 (ค.ศ. 2006)[11] สำหรับหมู่บ้านนักกีฬาในนครพอร์ตแลนด์ เสร็จสมบูรณ์ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2554 (ค.ศ. 2011)[12]
โดยการพัฒนาของอุทยานโอลิมปิกนั้นอาจจะต้องใช้การเวนคืนพื้นที่ด้วย โดยสำนักงานการพัฒนาแห่งกรุงลอนดอนและการรถไฟลอนดอน มีข้อพิพาทกันเกี่ยวกับเรื่องนี้ใน เดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2005 ซึ่งพื้นที่ส่วนหนึ่งที่มีถึง 180 เอเคอร์ เป็นที่ดินของการทางรถไฟสแตรทฟอร์ด รวมไปถึงการสร้างบ้านใหม่ถึง 4,500 หลัง, สำนักงาน, โรงแรม และ ร้านค้า[13] โดยล่าสุดในปีค.ศ. 2011 ศูนย์การค้าที่ใหญ่ที่สุดในทวีปยุโรป ได้ถูกสร้างเสร็จโดย เวสต์ฟิลด์[14] โดยที่ดิน 86% มาจากการเวนคืนพื้นที่ โดยการกระทำนี้นำไปสู่การคำถามต่างๆนานา และในครั้งนั้น มี 206 บริษัทที่ต้องย้ายออกไปใน เดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2007[15] นอกจากนี้ผู้ที่อาศัยอยู่ในฝ่ายต่อต้านการเวนคืนที่ดินกับการขับไล่และความพยายามที่จะหาวิธีที่จะหยุดการกระทำนี้ แต่พวกเขาที่ต้องย้ายออกด้วยการเวนคืนทั้งหมด 94% และที่ดินอื่นๆอีก 6% ซึ่งการเวนคืนใช้เงินทั้งหมด 9 พันล้านปอนด์

[แก้]การขนส่งสาธารณะ

บริการรถไฟความเร็วสูง "โอลิมปิก จาเวลีน"
ระบบการเดินทางสาธารณะในลอนดอน ได้คะแนนที่ไม่ค่อยดี ในการประเมินของ IOC อย่างไรก็ตาม ทางสำนักงานการบริหารเมืองของกรุงลอนดอน ก็ได้ปรับปรุงเพื่อต้อนรับการแข่งขันโอลิมปิกครั้งนี้[16]องค์การคมนาคมสำหรับลอนดอน หรือ TfL ได้ดำเนินการปรับปรุงระบบการเดินทางสาธารณะใหม่ทั้งหมดภายในปีพ.ศ. 2555 (ค.ศ. 2012) รวมไปถึงการขยายเส้นทาง รถไฟเหนือดินลอนดอน ในเส้นทางลอนดอนตะวันออก และเพิ่มเส้นทางรถไฟเบาสายดอคแลนดส์ และ การเดินรถไฟทางลอนดอนเหนือ[17]และการนำเข้ารถไฟหัวกระสุนความเร็วสูงที่มีชื่อว่า "จาเวลีน"[18]จากบริษัทฮิตาชิ[19]โดยชานชาลาที่ สถานีรถไฟนานาชาติสแตรทฟอร์ด (ออกแบบมาเพื่อรถไฟยูโรสตาร์) จะถูกนำมาใช้ในเส้นทางของการเดินรถไฟจาเวลีน[20]โดยในเครือข่ายรถไฟทั้งหมด จะเพิ่มการเดินรถ 4,000 ขบวนในช่วงที่มีการแข่งขัน พร้อมทั้งเพิ่มตู้โดยสารในทุกๆวัน[21]
องค์การคมนาคมสำหรับลอนดอน ได้ทำการสร้าง เคเบิลคาร์ ด้วยเงิน 25 ล้านปอนด์ โดยเส้นทางของเคเบิลคาร์จะข้าม แม่น้ำเทมส์ ซึ่งเคเบิลคาร์นี้จะเชื่อมทุกๆสถานที่ในการแข่งขัน[22]โดยจะเปิดใช้ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2555 (ค.ศ. 2012) โดยจะข้าม แม่น้ำเทมส์ ที่ กรีนวิช เพนินซูลา กับ รอยัล ด็อคส์ ซึ่งแต่ละชั่วโมงจะนำผู้โดยสาร 2,500 คน ด้วยความสูงประมาณ 50 เมตรกลางอากาศ มันถูกออกแบบมาเพื่อลดการเดินทางระหว่าง โอทู อารีนา กับ ศูนย์จัดแสดงสินค้าเอ็กซ์เซล ซึ่งเคเบิลคาร์จะให้ข้ามทุกๆ 30 วินาที[23]
รถไฟใต้ดินลอนดอน ถูกตกแต่งเพื่อโปรโมตการแข่งขันครั้งนี้
โดยการจัดการแผนนี้จะทำให้เหล่านักกีฬา 80% สามารถเดินทางไปแข่งขันได้ในเวลาที่น้อยกว่า 20 นาที[24]และนักกีฬา 93% ที่ใช้เวลาน้อยกว่า 30 นาที[25]โดยบริเวณ อุทยานโอลิมปิกลอนดอน จะเป็นศูนย์รวมของชุมทางรถไฟขนาดใหญ่ถึง 10 สายเข้าด้วยกัน ซึ่งจะมีผู้โดยสารประมาณ 240,000 คนต่อชั่วโมง[26]นอกจากนี้ อีกแผนหนึ่งที่ดำเนินการไปแล้วถึง 90% ซึ่งจะมีทั้งสถานีขนส่งสาธารณะและอื่นๆ[25]ส่วนสองสวนสาธารณะที่จะถูกปิดเพื่อเป็นที่จุรถ 12,000 คันต่อ 25 นาทีจาก อุทยานโอลิมปิกลอนดอน และสามารถที่จะจุผู้คนถึง 9,000 คนเพื่อที่จะขึ้นรถบัสในทุกๆ 10 นาที[25] และการวางแผนสวนสาธารณะนี้จะอยู่ใกล้กับ แม่น้ำเทมส์ และสามารถเชื่อมต่อไปยังสนามแข่งเรือพายได้[27] และในถนนบางแห่งจะปิดบางช่องทางการจราจรเพื่อที่จะเป็นช่องทางการเดินรถสำหรับแขกวีไอพีและนักกีฬา[28][29]

[แก้]การกระจายเสียงและแพร่ภาพ

ศูนย์กระจายเสียงแพร่ภาพนานาชาติ เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2554
โอลิมปิกที่จัดขึ้นในปีนี้ ใช้เทคโนโลยีดิจิตอล “ดีวีซีโปร-เอชดี” ของพานาโซนิก เป็นระบบการบันทึกวิดีทัศน์การแข่งขันอย่างเป็นทางการ ซึ่งเข้ารับภารกิจดังกล่าวเป็นครั้งที่ 10 ติดต่อกัน (นับรวมทั้งโอลิมปิกฤดูร้อนและโอลิมปิกฤดูหนาว) เริ่มตั้งแต่การแข่งขันที่บาร์เซโลนาของสเปนเมื่อปี พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992) โดยศูนย์กระจายเสียงแพร่ภาพนานาชาติ(International Broadcast Centre; IBC) ภายในสวนโอลิมปิกลอนดอน เป็นหน่วยงานหลักในการผลิตและเผยแพร่ วิดีทัศน์ระหว่างประเทศอย่างเป็นทางการ ด้วยระบบภาพละเอียดสูง 1080/50ไอ
สำหรับหน่วยบริการกระจายเสียงแพร่ภาพโอลิมปิกในลอนดอน(Olympic Broadcasting Services London; OBSL) ซึ่งเป็นเจ้าภาพในการกระจายเสียงและแพร่ภาพ จะใช้อุปกรณ์ชุด “เอชดี-พี2” เพื่อสนับสนุนการกระจายเสียงและแพร่ภาพการแข่งขัน และใช้กล้องวิดีทัศน์พกพารุ่น “เอจี-เอชพีเอ็กซ์ 250” ซึ่งบันทึกภาพด้วยระบบ “เอวีซี-อินทรา” และผลิตโดยบริษัทเดียวกับ “เอชดี-พี2” เป็นตัวแรก กับกล้องวิดีทัศน์พกพาระบบ “เอวีซีแคม เอชดี” สองรุ่นใหม่คือ “เอจี-เอซี160” และ “เอจี-เอซี130” ด้วยมุมมองภาพละเอียดสูง และเลนส์ซูมรุ่นใหม่ ความละเอียดสูง 21 เท่าซึ่งกว้างกว่าเดิม[30]
การแข่งขันคราวนี้กำหนดการกระจายเสียงแพร่ภาพ ไปยังบรรดาผู้รับสิทธิถ่ายทอดแต่ละภูมิภาคตามสิทธิซึ่งไอโอซีกำหนด ให้สามารถถ่ายทอดโทรทัศน์ภาคพื้นดินเป็นวงกว้างไปทั่วโลก โดยมีบรรษัทการกระจายเสียงและแพร่ภาพแห่งบริเตน (British Broadcasting Corporation; BBC) เป็นแม่ข่ายสำหรับโอลิมปิก ซึ่งวางเป้าหมายในการถ่ายทอด การแข่งขันครั้งนี้ผ่านช่องทางต่างๆ เป็นเวลารวม 5,000 ชั่วโมง[31] ส่วนโทรทัศน์ช่อง 4แห่งบริเตนใหญ่ เป็นแม่ข่ายสำหรับพาราลิมปิก และสำหรับในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ไอโอซีทำข้อตกลงกับยูทูบเพื่อเป็นผู้ถ่ายทอดสดการแข่งขันไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลก ผ่านช่องโทรทัศน์ของไอโอซี ซึ่งอยู่ในเว็บไซต์ของตน รวมถึงแอพพลิเคชันยูทูบในสมาร์ตโฟน และของเอ็กซ์บ็อกซ์ไลฟว์ด้วย[32]
ทั้งนี้ การถ่ายทอดโทรทัศน์ในกีฬาโอลิมปิกที่ดำเนินอยู่ในปัจจุบัน ริเริ่มขึ้นโดยหน่วยบริการกระจายเสียงแพร่ภาพโอลิมปิก (Olympic Broadcasting Services; OBS) ซึ่งปัจจุบัน บริษัทการกระจายเสียงและแพร่ภาพแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (National Broadcasting Corporation; NBC) ถือสิทธิเป็นเจ้าของโดยการถือหุ้นใหญ่ จึงมีส่วนแบ่งรายได้กับไอโอซีเกินกึ่งหนึ่ง[33] ทุกวันนี้ ผู้ได้รับสิทธิถ่ายทอดการแข่งขัน มักส่งเจ้าหน้าที่ของตนเข้าปฏิบัติงาน ในพื้นที่แบ่งส่วนของศูนย์กระจายเสียงแพร่ภาพนานาชาติ (ไอบีซี) ของการแข่งขันแต่ละครั้ง โดยเริ่มปรากฏในโอลิมปิกฤดูหนาวครั้งที่ 15 ที่เมืองคัลการีของแคนาดาในปี พ.ศ. 2531 (ค.ศ. 1988)

[แก้]อาสาสมัคร

ผู้สร้างสรรค์การแข่งขัน (Game Maker)[34] เป็นชื่อที่รู้จักทั่วไป ของอาสาสมัครที่ไม่มีการจ้าง ซึ่งจะปฏิบัติงานอย่างหลากหลาย ทั้งช่วงก่อนและระหว่างการแข่งขัน โดยในช่วงต้นปี พ.ศ. 2547 (ค.ศ. 2004) ตั้งเป้าว่าจะมีอาสาสมัคร 70,000 คน[35] แต่เมื่อเปิดรับสมัครในปี พ.ศ. 2553 (ค.ศ. 2010) กลับมีผู้ได้รับคัดเลือกถึง 240,000 คน[36] ซึ่งผู้สร้างสรรค์การแข่งขันเหล่านี้ จะปฏิบัติงานอาสาสมัคร เป็นเวลารวมประมาณ 8 ล้านชั่วโมงระหว่างการแข่งขัน ซึ่งไม่อาจเกิดขึ้นโดยสะดวก หากปราศจากบุคคลกลุ่มนี้[37]

[แก้]สัญลักษณ์การแข่งขัน

ตราสัญลักษณ์สำหรับเสนอชื่อประมูลเป็นเมืองเจ้าภาพ
เว็นล็อก และ แมนด์วิลล์

[แก้]ตราสัญลักษณ์

กีฬาโอลิมปิกคราวนี้ มีตราสัญลักษณ์สองแบบคือ ตราสัญลักษณ์สำหรับเสนอชื่อประมูล เป็นภาพริบบินคาดเส้นสีฟ้า สีเหลือง สีดำ สีเขียว และสีแดง ที่คดเคี้ยวคล้ายรูปร่างของแม่น้ำเทมส์ ทางตะวันออกของกรุงลอนดอน ลอดผ่านตัวอักษรข้อความ “LONDON 2012” ซึ่งออกแบบโดย คิโน ดีไซน์ (Kino Design) และตราสัญลักษณ์สำหรับการแข่งขันเอง เป็นภาพสื่อแสดงถึงตัวเลข 2012 ที่มีวงแหวนโอลิมปิกอยู่ภายในเลขศูนย์[38] ซึ่งออกแบบโดย โวลฟฟ์ โอลินส์ (Wolff Olins) ซึ่งมีการเปิดตัวและส่งมอบ เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2550 (ค.ศ. 2007)[39] ทั้งนี้ เป็นครั้งแรกที่ส่วนสำคัญของตราสัญลักษณ์โอลิมปิก และพาราลิมปิกเกมส์จะมีรูปแบบเดียวกัน[40] โดยสีมาตรฐานคือ ม่วงแดง, เขียวส้มและฟ้าอย่างไรก็ตาม ตราสัญลักษณ์นี้สามารถรวบรวมสีสันที่หลากหลาย รวมทั้งสีในธงสหภาพ (Union Flag) ด้วยเช่นกัน[41]

[แก้]ตุ๊กตาสัญลักษณ์

เว็นล็อก (Wenlock) กับ แมนด์วิลล์ (Mandeville) เป็นตุ๊กตาสัญลักษณ์(Mascot) อย่างเป็นทางการของโอลิมปิก และพาราลิมปิกเกมส์ครั้งนี้ โดยมีการเปิดตัวเมื่อ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 (ค.ศ. 2010)[42] ซึ่งนับเป็นครั้งที่สอง ต่อจากที่แวนคูเวอร์ของแคนาดา ซึ่งมีการเปิดตัวตุ๊กตาสัญลักษณ์ของโอลิมปิก และพาราลิมปิกเกมส์พร้อมกัน ทั้งสองตัวนี้เป็นแอนิเมชัน ที่สื่อแสดงถึงหยดเหล็กสองหยาด จากโรงถลุงเหล็กในเมืองโบลตัน[42]
สำหรับชื่อของทั้งสองตัว คือเว็นล็อก มาจากนามสกุลของ มัช เว็นล็อก (Much Wenlock) แห่งเมืองซรอปเชียร์ (Shropshire) ผู้บุกเบิกการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกในปัจจุบัน กับแมนด์วิลล์ มาจากนามสกุลของ สโตก แมนด์วิลล์ (Stoke Mandeville) แห่งเมืองบักกิงแฮมเชียร์ (Buckinghamshire) ผู้บุกเบิกการแข่งขันพาราลิมปิกเกมส์เป็นครั้งแรก[42]
โดยนักเขียน ไมเคิล มอร์ปูร์โก (Michael Morpurgo) เป็นผู้เขียนแนวคิดของตุ๊กตาสัญลักษณ์คู่นี้ จากนั้นแอนิเมชันก็ประดิษฐ์ขึ้น[43] โดยตั้งใจจะให้เป็นส่วนหนึ่งของชุดเรื่องราวต่อเนื่อง เกี่ยวกับตุ๊กตาสัญลักษณ์ที่ใช้ในการแข่งขันคราวนี้[42] ซึ่งมีสองเรื่องคือ “Out Of A Rainbow” ที่จะบอกเล่าความเป็นมา ของเว็นล็อกกับแมนด์วิลล์ และเรื่อง “Adventures On A Rainbow” ซึ่งมีสาระสำคัญอยู่ที่เด็กๆ จากเรื่องแรก มาพบกับตุ๊กตาสัญลักษณ์ทั้งสอง แล้วพากันทดลองเล่นกีฬาต่างๆ ในโอลิมปิกและพาราลิมปิกที่มีมากมาย[44]

[แก้]เหรียญรางวัล

จำนวนเหรียญรางวัล สำหรับโอลิมปิกและพาราลิมปิกเกมส์ มีประมาณ 4,700 เหรียญ[45] ผลิตขึ้นโดยโรงกษาปณ์หลวง (The Royal Mint)[46] และออกแบบโดย เดวิด วัตกินส์ (David Watkins)[47] มีน้ำหนัก 375-400กรัม ความหนา 7 มิลลิเมตร ซึ่งสลักชื่อกีฬาและประเภทรุ่นที่ขอบเหรียญ[48] ตามธรรมเนียมที่สืบทอดมา หน้าเหรียญเป็นภาพไนกี เทพธิดาแห่งชัยชนะของกรีก ก้าวย่างจากมหาวิหารพาร์เธนอน (Parthenon) ส่วนลักษณะของหลังเหรียญ มีตราสัญลักษณ์การแข่งขัน ลายเส้นโค้งสื่อถึงแม่น้ำเทมส์ และชุดของเส้นตรง อันมีนัยสื่อถึงพลังของนักกีฬา[49]

[แก้]เพลงอย่างเป็นทางการ

ฝ่ายประชาสัมพันธ์การแข่งขัน คัดเลือกให้ซิงเกิล “Survival” ที่ออกโดย Muse วงดนตรีสัญชาติอังกฤษ เป็นเพลงอย่างเป็นทางการ ของโอลิมปิกคราวนี้[50] ซึ่งจะเล่นออกทางเครื่องขยายเสียง เมื่อนักกีฬาเข้าสู่สนาม และช่วงเวลาก่อนพิธีมอบเหรียญรางวัล รวมทั้งนานาประเทศผู้รับสิทธิถ่ายทอดจะเล่น ระหว่างที่รายงานการแข่งขันด้วย[51]

[แก้]พิธีการ

คบเพลิงโอลิมปิก 2012
พิธีเปิดการแข่งขัน จัดขึ้นในวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 โดยใช้แนวคิด "เกาะมหัศจรรย์" (The Isles of Wonder)[52] ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากวรรณกรรม "เดอะ เทมเปสต์" ของวิลเลียม เชกสเปียร์โดยในการแสดงในพิธีเปิดจะปรับสภาพสนามให้เป็นชนบทอังกฤษ มีชาวบ้านปิกนิกและนั่งชมกีฬา และมีการจำลองเนินเขาแกลสตันบูรี ซึ่งเป็นสถานที่จัดเทศกาลดนตรีและศิลปะที่มีชื่อเสียง ใช้นักแสดงประมาณ 10,000 คน ซึ่งรวมถึงนักกีฬาผู้มีชื่อเสียง เช่น มูฮัมหมัด อาลีเดวิด เบคแคม นาเดีย โคมานิชี ไมเคิล จอร์แดน ไมเคิล เฟ็ลปส์เป็นต้น โดยแดนนี บอยล์ ผู้กำกับภาพยนตร์รางวัลออสการ์จากภาพยนตร์เรื่อง สลัมด็อก มิลเลียนแนร์ คำตอบสุดท้าย...อยู่ที่หัวใจ เป็นผู้กำกับฝ่ายศิลป์[53] ส่วนริค สมิธ (Rick Smith) กับ ฆาร์ล ไฮด์ (Karl Hyde) ดูโอของวงดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ “อันเดอร์เวิลด์” (Underworld) เป็นผู้กำกับดนตรี[54]
สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร และเจ้าชายฟิลิป ดยุคแห่งเอดินเบิร์ก เสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นองค์ประธาน[55] ในการนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรพิธีเปิด ตามคำกราบบังคมทูลเชิญของคณะกรรมการจัดการแข่งขัน[ต้องการอ้างอิง] โดยระหว่างการถ่ายทอดพิธีการทางโทรทัศน์ มีการฉายภาพยนตร์สั้นเกี่ยวกับ “สายลับเจมส์ บอนด์” (James Bond) นำแสดงโดย แดเนียล เคร็ก(Daniel Craig) เนื้อเรื่องเป็นการเดินทางของเจมส์บอนด์เพื่อกราบบังคมทูลเชิญสมเด็จพระราชินีนาถแห่งสหราชอาณาจักรเข้าสู่สนามกีฬา[56]
การแสดงในพิธีเปิดนั้นเป็นการเล่าเรื่องราวของสหราชอาณาจักรตั้งแต่ยุคเกษตรกรรม ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม มาจนถึงยุคดนตรีและศิลปะอังกฤษเฟื่องฟู โดยผู้มีชื่อเสียงที่ร่วมแสดง ได้แก่ เคเน็ต แบรนาต์ เจ. เค. โรว์ลิงเจ้าของวรรณกรรม แฮร์รี่ พอตเตอร์ โรวัน แอตคินสัน นักแสดงตลกผู้มีชื่อเสียงจากการรับบท มิสเตอร์บีนและเซอร์ทิม เบอร์เนิร์ส-ลี ผู้คิดค้นเวิลด์ไวด์เว็บ ซึ่งเป็นชาวลอนดอนโดยกำเนิด ส่วนในช่วงการเดินพาเหรดนักกีฬานั้น นอกจากจะมีผู้เชิญป้ายและนักกีฬาถือธงชาติแล้ว ยังมีเด็กถือถ้วยทองแดงสลักชื่อประเทศเพื่อนำไปประกอบเป็นคบเพลิงอีกด้วย สำหรับนักกีฬาถือธงชาติที่มีชื่อเสียง อาทิ ยูเซน โบลต์ นักกรีฑาเจ้าของเหรียญทองโอลิมปิกจากจาไมกา นอวัก จอคอวิช นักเทนนิสชายมือวางอันดับสองของโลกจาก เซอร์เบีย มาเรีย ชาราโปวา นักเทนนิสหญิงมือวางอันดับหนึ่งของโลกจากรัสเซีย เป็นต้น ในส่วนของขบวนนักกีฬาไทย ณัฐพงษ์ เกตุอินทร์ เป็นผู้ถือธงชาติ ส่วนเซอร์ คริส ฮอย นักจักรยานเจ้าของ 3 เหรียญทองโอลิมปิกในการแข่งขันที่ประเทศจีน เป็นผู้เชิญธงสหราชอาณาจักร
หลังจากการเดินพาเหรดเสร็จสิ้น วงอาร์คติก มังกี้ส์ ได้ขึ้นแสดงในเพลง I Bet You Look Good on the Dancefloor และ คัมทูเกตเตอร์ จากนั้นจึงเป็นช่วงพิธีการ โดยลอร์ดเซบาสเตียน โคล ประธานคณะกรรมการจัดการแข่งขัน กล่าวต้อนรับเข้าสู่การแข่งขัน จากนั้น นายฌาคส์ ร็อกก์ ประธานคณะกรรมการโอลิมปิกสากล กล่าวแสดงความยินดีและขอบคุณอาสาสมัครที่ร่วมกันทำงานอย่างแข็งขัน และขอให้นักกีฬาทุกคนแข่งขันด้วยความมีน้ำใจนักกีฬาและไม่ใช้สารกระตุ้น เพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีแก่นักกีฬารุ่นหลังต่อไป จากนั้น สมเด็จพระราชินีนาถแห่งสหราชอาณาจักร มีพระราชดำรัสเปิดการแข่งขันอย่างเป็นทางการ โดย เซอร์พอล แม็กคาร์ตนีย์ ได้ร่วมแสดง ในช่วงท้ายของพิธีการด้วย[57]
สำหรับพิธีปิดการแข่งขัน จะจัดขึ้นในวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2555 ซึ่งประกอบด้วยพิธีส่งมอบธงโอลิมปิกจากนายกเทศมนตรีของกรุงลอนดอน ไปยังนายกเทศมนตรีกรุงรีโอเดจาเนโรของบราซิล ซึ่งจะเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกครั้งต่อไปในปี พ.ศ. 2559 (ค.ศ. 2016)[58]

[แก้]พิธีเชิญคบเพลิง

การวิ่งคบเพลิงโอลิมปิก มีขึ้นระหว่างวันที่ 19 พฤษภาคม ถึง 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 (ค.ศ. 2012) การคัดเลือกผู้เชิญคบเพลิงมีขึ้นใช่วงปี พ.ศ. 2553 - 2554 ด้วย ซึ่งประกาศผลเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 (ค.ศ. 2011)[59] โดยไฟฤกษ์โอลิมปิกเดินทางมาจากกรีซ เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2555[60] การวิ่งคบเพลิงใช้เวลา 70 วัน โดยมีงานฉลอง 66 ครั้ง และการเยือนเกาะ 6 แห่ง ซึ่งมีผู้เชิญคบเพลิง 8,000 คน เป็นระยะทางประมาณ 8,000 ไมล์ (12,800 กิโลเมตร) เริ่มต้นที่แลนดส์เอ็นด์ในคอร์นวอลล์[61] ทั้งนี้จะมีหนึ่งวันที่คบเพลิงจะออกนอกสหราชอาณาจักร เมื่อไปเยือนกรุงดับลิน ของสาธารณรัฐไอร์แลนด์ ในวันที่ 6 มิถุนายน[62]

[แก้]การแข่งขัน

[แก้]ประเทศที่เข้าร่วมการแข่งขัน

แผนที่แสดงจำนวนนักกีฬาที่ร่วมแข่งขัน
คาดหมายว่าจะมีนักกีฬา ในนามคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติจาก 204 ประเทศ เข้าร่วมในกีฬาโอลิมปิกครั้งนี้ โดยคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งเนเธอร์แลนด์แอนทิลลิส ซึ่งมีโครงการจะดำเนินงานต่อไป หลังการล่มสลายของเนเธอร์แลนด์แอนทิลลิส เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2553(ค.ศ. 2010) และที่ประชุมคณะกรรมการบริหารไอโอซีครั้งที่ 123 เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2554 (ค.ศ. 2011) ก็มีมติให้เพิกถอนสมาชิกภาพแล้ว อย่างไรก็ตาม นักกีฬาของเนเธอร์แลนด์แอนทิลลิส ซึ่งมีคุณสมบัติเข้าร่วมแข่งขันโอลิมปิกครั้งนี้ ไอโอซีจะอนุญาตให้เข้าร่วมได้อย่างอิสระภายใต้ธงโอลิมปิก
ณ วันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2555 มีคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติ ซึ่งนักกีฬามีคุณสมบัติเข้าร่วมแข่งขันอย่างน้อยหนึ่งคน รวมทั้งหมด 197 ประเทศ ดังรายชื่อต่อไปนี้

[แก้]รอตรวจสอบคุณสมบัติ

ณ วันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2555 คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติ ที่ยังรอตรวจสอบคุณสมบัติ เพื่อเข้าร่วมการแข่งขัน มีทั้งหมด 7 ประเทศ ดังรายชื่อต่อไปนี้

[แก้]นักกีฬาทีมชาติไทย

คณะนักกีฬาทีมชาติไทย ที่เข้าแข่งขันในคราวนี้ มีทั้งหมด 37 คน จาก 16 ชนิดกีฬาคือ กรีฑา 2 คน, ขี่ม้า 1 คน, จักรยาน 1 คน, เทควันโด 3 คน, แบดมินตัน 6 คน, เทเบิลเทนนิส 1 คน, มวยสากลสมัครเล่น 3 คน, ยกน้ำหนัก 7 คน, ยูโด 1 คน, ยิงธนู 1 คน, ยิงปืน 3 คน, ยิงเป้าบิน 1 คน, เรือใบ 1 คน, เรือพาย 2 คน, ว่ายน้ำ 2 คน และ วินด์เซิร์ฟ 2 คน[93]

[แก้]ชนิดกีฬาที่แข่งขัน

กรุงลอนดอนเสนอจัดการแข่งขันกีฬา 28 ประเภท เช่นเดียวกับในโอลิมปิกฤดูร้อนที่ผ่านๆมา แต่ไอโอซีลงมติให้ระงับการแข่งขันเบสบอลและซอฟต์บอล หลังการคัดเลือกให้กรุงลอนดอนเป็นเมืองเจ้าภาพได้สองวัน ไอโอซียืนยันแข็งขันต่อการตัดสินใจระงับนี้ ระหว่างการแข่งขันโอลิมปิกฤดูหนาว เมื่อปี พ.ศ. 2549 (ค.ศ. 2006) หลังจากการลงคะแนนเพื่อพิจารณาใหม่ล้มเหลว และกำหนดการแข่งขันเป็นที่สุด สำหรับโอลิมปิกในปี พ.ศ. 2551 (ค.ศ. 2008) สืบเนื่องจากข้อตกลงในการระงับกีฬาสองประเภทดังกล่าว ไอโอซีเปิดการลงคะแนนว่าจะเลือกกีฬาอื่นมาแทนที่หรือไม่ โดยกีฬาที่นำมาพิจารณาได้แก่ คาราเต้ สควอช กอล์ฟ กีฬาล้อเลื่อน และ รักบี้เจ็ดคน สองประเภทสุดท้ายที่เสนอขึ้นมาคือคาราเต้และสควอช แต่คะแนนเสียงไม่ถึงสองในสามตามข้อบังคับ
นับเป็นครั้งแรก ที่มีการบรรจุกีฬามวยสากลสมัครเล่นหญิงเข้าสู่โปรแกรม ซึ่งมีนักกีฬาร่วมแข่งขัน 36 คนใน 3 รุ่นพิกัดน้ำหนัก และยังมีกฎยกเว้นกรณีพิเศษ เพื่อยินยอมให้แข่งขันยิงปืนทุกประเภทได้ หากไม่เช่นนั้นจะเป็นความผิด ตามกฎหมายอาวุธปืนของสหราชอาณาจักร และแม้จะมีการยกเลิกธรรมเนียมการจัดกีฬาสาธิต ตั้งแต่โอลิมปิกในปี พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992) การแข่งขันรายการพิเศษสำหรับกีฬาที่ไม่อยู่ในโอลิมปิก สามารถดำเนินไประหว่างการแข่งขันได้ ดังเช่นการแข่งขันรายการวูซู ที่โอลิมปิกเมื่อปี พ.ศ. 2551 โดยมีความพยายามจะดำเนินการแข่งขัน รายการทเวนตีคริกเก็ตและเน็ตบอล ควบคู่ไปกับการแข่งขันในคราวนี้ แต่โครงการดังกล่าวไม่ประสบความสำเร็จ
ทั้งนี้ ในกีฬาโอลิมปิกคราวนี้ กำหนดการแข่งขันใน 26 ชนิดกีฬา รวมทั้งหมด 39 ประเภทรุ่น และในวงเล็บคือจำนวนเหรียญทองของแต่ละรายการ

[แก้]ปฏิทินกำหนดการแข่งขัน

ตารางกำหนดการแข่งขันอย่างเป็นทางการฉบับสมบูรณ์ เผยแพร่เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554[94]
(คลิกที่ชื่อกีฬาเพื่อดูรายละเอียดการแข่งขัน)
OCพิธีเปิดการแข่งขันการแข่งขัน1รอบชิงชนะเลิศCCพิธีปิดการแข่งขัน
กรกฎาคม / สิงหาคม25
พ.
26
พฤ.
27
ศ.
28
ส.
29
อา.
30
จ.
31
อ.
1
พ.
2
พฤ.
3
ศ.
4
ส.
5
อา.
6
จ.
7
อ.
8
พ.
9
พฤ.
10
ศ.
11
ส.
12
อา.
การแข่งขัน
 พิธีการOCCC
 ยิงธนู11114
 กรีฑา257544568147
แบดมินตัน1225
บาสเกตบอล112
 มวยสากลสมัครเล่น35513
 แคนู11244416
จักรยาน11222111321118
 กระโดดน้ำ111111118
 ขี่ม้า21126
 ฟันดาบ11112111110
 ฮอกกี้112
 ฟุตบอล112
ยิมนาสติก1111113341118
แฮนด์บอล112
 ยูโด222222214
 ปัญจกีฬาสมัยใหม่112
 เรือพาย334414
 เรือใบ222111110
 ยิงปืน221111221215
 ว่ายน้ำ444444441134
 ระบำใต้น้ำ112
 เทเบิลเทนนิส11114
 เทควันโด22228
 เทนนิส235
 ไตรกีฬา112
วอลเลย์บอล11114
 โปโลน้ำ112
 ยกน้ำหนัก122222111115
 มวยปล้ำ2322223218
การแข่งขันทั้งหมด12141215201822252318211722163215302
รวมการสะสมจากวันก่อน122638537391113138161179200217239255287302
กรกฎาคม / สิงหาคม25
พ.
26
พฤ.
27
ศ.
28
ส.
29
อา.
30
จ.
31
อ.
1
พ.
2
พฤ.
3
ศ.
4
ส.
5
อา.
6
จ.
7
อ.
8
พ.
9
พฤ.
10
ศ.
11
ส.
12
อา.
การแข่งขัน